Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1392
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนักสิทธ์ิ, ปัญญาใหม่-
dc.date.accessioned2019-01-08T04:55:08Z-
dc.date.available2019-01-08T04:55:08Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1392-
dc.description.abstractการค้าอาหารระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายและมาตรฐานอาหาร โดยเฉพาะในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้การแข่งขันทางด้านธุรกิจอาหารมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นภายใต้การค้าเสรีที่องค์การการค้าโลกได้วางกรอบกติกาเอาไว้ ความจำเป็นและความสำคัญของกฎหมายและมาตรฐานอาหารก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังจะเห็นได้ว่าประเทศไทยจำต้องมีการปรับปรุงและจัดทำกฎหมายและมาตรฐานอาหารใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของการค้าอาหารระหว่างประเทศ ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อผลิตอาหารที่หลากหลายตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือยังมีผู้ผลิตอาหารที่มุ่งเน้นแต่ผลกำไรโดยการละเว้นความปลอดภัยของผู้บริโภคซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด บุคลากรที่ทำงานทางด้านอุตสาหกรรมอาหารต้องยึดหลักของ ความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) ตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานอาหาร ที่มุ่งเน้นการควบคุมตัวผลิตภัณฑ์อาหาร ฉลาก บรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายที่รับรองคุณภาพของสินค้าอาหาร การโฆษณา ในส่วนการผลิตเน้นที่ความสะอาดของเครื่องจักร เครื่องมือ กระบวนการผลิต ผู้ปฏิบัติงาน สุขาภิบาลสถานที่ผลิตอาหารจึงทำให้อาหารที่ผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น โดยภาพรวมแนวโน้มสถานการณ์อาหารในปัจจุบันของประเทศไทยมุ่งเน้นการผลิตอาหารสู่ตลาดต่างประเทศ อาหารที่ส่งออกต้องได้มาตรฐานและปลอดภัยในระดับสากลด้วย ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานอาหารสากลจึงเป็นสิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมเพื่อให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเป็นกำลังสำคัญสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็น ครัวของโลก (world’s kitchen) ได้ในที่สุด ตำรา กฎหมายและมาตรฐานอาหาร เล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา AGI 2601 กฎหมายและมาตรฐานอาหาร ภาคบรรยาย จำนวน 2 หน่วยกิต 2 (2-0) สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวมทั้งใช้อ้างอิงประกอบการเรียนการสอนได้อีกหลายวิชา เช่น AGI 4601 ความปลอดภัยด้านอาหาร รายวิชา AGI 4805 สุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร รายวิชา AGI 3603 การประกันคุณภาพอาหาร รายวิชา AGI 3104 วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร รายวิชา AGI 4704 ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน รายวิชา AGI 3401 การแปรรูปอาหาร 1 และรายวิชา AGI 3402 การแปรรูปอาหาร 2 เป็นต้น และใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหรือสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆทั่วประเทศได้อีกด้วย ในการจัดทำตำราเล่มนี้ผู้เขียนมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประกอบอาชีพได้ จึงกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานอาหารไทยไว้หลายประการ โดยรวบรวมเนื้อหากฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารจนถึงปัจจุบัน (พฤษภาคม พ.ศ. 2554) อีกทั้งยังมุ่งหวังให้เป็นตำราสำหรับบุคคลผู้สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในอุตสาหกรรมอาหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานอาหารที่มีการรวบรวมเอาไว้เป็นหมวดหมู่นั้นมีไม่มากนักจึงเป็นอุปสรรคต่อการเรียน การสอนและการศึกษาค้นคว้าพอสมควร ในรายละเอียดของตำราเล่มนี้ได้แบ่งออกเป็น 8 บท ได้แก่ บทที่ 1 กฎหมายและมาตรฐานอาหารกับการค้าระหว่างประเทศ บทที่ 2 การมาตรฐานอาหารไทยและระหว่างประเทศ บทที่ 3 กฎหมายและมาตรฐานไทยกับการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร บทที่ 4 การควบคุมอาหารตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 บทที่ 5 ระบบการขออนุญาตอาหารของประเทศไทย บทที่ 6 การอนุญาตผลิตอาหารตามแนวทางกฎหมายอาหารไทย บทที่ 7 อาหารควบคุมเฉพาะและบทที่ 8 อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาต่างๆ ผู้เขียนได้ค้นคว้าและรวบรวมตัวอย่างที่เด่นชัดมาประกอบจากเอกสารคำพิพากษาคดีความเกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่ได้ศึกษาตำราเล่มนี้จะได้รับประโยชน์ดังที่ผู้เขียนมุ่งหวังเอาไว้และอาจเป็นส่วนหนึ่งของกลไกสำคัญที่จะช่วยในการดำเนินงานทางด้านกฎหมายและมาตรฐานกับความปลอดภัยด้านอาหารทั้งในระดับประเทศและระดับสากล สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณครู อาจารย์ที่ได้เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้ตระหนักอยู่ในใจเสมอว่าถ้าทำสิ่งใดขอให้สิ่งนั้นเป็นประโยชน์แก่มวลชน ดังนั้นคุณความดีของตำราเล่มนี้ผู้เขียนของมอบแด่ผู้มีพระคุณ ขอขอบคุณท่านรองศาสตราจารย์รัตนา อัตตปัญโญ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ศุภชัย ศริธิวงค์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ บุญแรง รองคณบดีฝ่ายแผนงานและบริหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ได้กรุณาตรวจทานและแก้ไขเนื้อหา คุณไพโรจน์ แก้วมณี นิติกรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและมาตรฐานอาหาร กลุ่มกฎหมายอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำเนื้อหาและกรณีศึกษาที่น่าสนใจ หากท่านผู้อ่านพบข้อบกพร่องประการใด กรุณาได้โปรดชี้แนะด้วยจักเป็นพระคุณอย่างสูงเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในครั้งต่อๆไปให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.format.mediumApplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiangmai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights@CopyRight มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่th_TH
dc.subjectกฎหมายและอาหารth_TH
dc.subjectอาหารth_TH
dc.subjectกฎหมายth_TH
dc.titleกฎหมายและมาตรฐานอาหารth_TH
dc.typeTextbookth_TH
Appears in Collections:Textbook

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preface.pdfคำนำ448.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.