Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธนมนต์, ธนรัตนพิมลกุล-
dc.contributor.authorสรุจพิสิษฐ์, พยัคฆภาพ-
dc.contributor.authorบัญชา, อินทะกูล-
dc.contributor.authorวชิรนนท์, แก้วตาปี-
dc.date.accessioned2019-01-18T07:04:30Z-
dc.date.available2019-01-18T07:04:30Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560, หน้า 287-298th_TH
dc.identifier.isbn9786167669519-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1507-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำมาสังเคราะห์รูปแบบของการท่องเที่ยว และหาแนวทางพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จำนวน 10 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมที่สุดของท้องถิ่น เป็นการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมทางด้านการเกษตรและซื้อผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเหล่านี้มีศักยภาพการบริหารจัดการเฉลี่ยรวมระดับปานกลาง มีระดับคะแนน 3.16 โดยมีศักยภาพด้านการกำหนดเป้าหมายและทิศทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว การวางแผนและความสามารถในการนำเอาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในชุมชนมาจัดทำเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยว ในระดับปานกลาง ด้วยคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.00 ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางการยกระดับการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2 ข้อ ได้แก่ 1) แนวทางการเตรียมความพร้อมของทุนมนุษย์ต่ออุปทานการท่องเที่ยว คือ การบริหารจัดการ เช่น การบริหารจัดการองค์กรฝึกให้ผู้นำได้กำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมายทิศทางการดำเนินงาน ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลการดำเนินงานการท่องเที่ยวของปีที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ นำมาพิจารณาเพื่อที่จะได้แนวทางในการวางแผนเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินและการบัญชีชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร จะต้องฝึกฝนบันทึกรายการบัญชีอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยเพื่อที่จะได้เป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการจัดทำบัญชี การบริหารจัดการด้านการผลิตและการให้บริการโดยพยายามจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวให้ครบทั้ง 12 เดือน พยายามจัดกิจกรรมในแต่ละเดือนไม่ให้ซ้ำกัน พร้อมทั้งหาจุดเด่นของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ชุมชนมีอยู่มาจัดกิจกรรม 2) แนวทางการรักษาศักยภาพและฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน โดยพยายามอนุรักษ์การทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ ควรกำหนดรูปแบบเกษตรชุมชนของตน เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรเคมีหรือเกษตรปลอดภัย นอกจากนั้นควรมี การถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรให้กับเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อการคงอยู่ของการเกษตรดังกล่าวth_TH
dc.format.medium.pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักหอสมุด. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.relation.ispartofมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2560). ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.th_TH
dc.rights©มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงเกษตรth_TH
dc.subjectการบริหารจัดการth_TH
dc.titleการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ปีที่ 3th_TH
dc.title.alternativeThe 3rd Year Development of Chiang Mai Community Agro-Tourism Management Potentialth_TH
dc.typeJournal Articleth_TH
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ยั่งยืน-ธนมนต์ ธนรัตนพิมลกุล.pdf264.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.