กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2400
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพื้นที่แบ่งปันความรู้ “ปัญญาป่าตุ้ม” ออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิโลบล, วิมลสิทธิชัย
คำสำคัญ: แพลตฟอร์มดิจิทัล
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่แบ่งปันความรู้ “ปัญญาป่า ตุ้ม” แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้จาก ผลงานตามโครงการราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ดําเนินการในพื้นที่ป่าตุ้มในรูปแบบดิจิทัล เครื่องมือ และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษา จํานวน 30 คน เพื่อ สอบถามความต้องการด้านหัวข้อและขอบเขตเนื้อหาสําหรับการพัฒนาพื้นที่แบ่งปันความรู้“ปัญญาป่า ตุ้ม”(PanyaPatum) ออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) แบบประเมินคุณภาพของ แพลตฟอร์มดิจิทัล จากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน และ 3) แบบสอบถามเพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้ งานของผู้ใช้(User Experience) ที่มีต่อพื้นที่แบ่งปันความรู้“ปัญญาป่าตุ้ม”ออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อ การเรียนรู้ตลอดชีวิต จากบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 30 คน นักเรียน/นักศึกษา จํานวน 200 คน จากบุคคลทั่วไป จํานวน 200 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้กับแบบสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาและแบบ ประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (PurposiveSampling) ส่วน แบบสอบถามเพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่ง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ผู้วิจัยพัฒนา ระบบพื้นที่แบ่งปันความรู้ “ปัญญาป่าตุ้ม” ออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ตรงตามความ ต้องการ คือ รูปลักษณ์ภายนอก เนื้อหา และระบบ 2) คุณภาพและความเหมาะสมของพื้นที่แบ่งปันความรู้ “ปัญญาป่าตุ้ม” ออนไลน์แพลตฟอร์ม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านสารสนเทศศาสตร์และ บรรณารักษศาสตร์และด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา พบว่า คุณภาพและความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.50, S.D. 0.645) 3) ผู้ชมมีประสบการณ์การใช้งานแง่ความรู้สึกของการใช้พื้นที่แบ่งปันความรู้ 4 ด้าน คือ ด้าน การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก ความสะดวกและราบรื่นในการใช้งาน การเข้าถึงแพลตฟอร์มได้อย่างไม่ มีอุปสรรค และด้านการนําความรู้ไปใช้ ในภาพรวม ผู้ชมมีประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับทุกด้าน ในระดับมาก ที่สุด พื้นที่แบ่งปันความรู้ “ปัญญาป่าตุ้ม” เป็นการนําเทคโนโลยีเว็บและระบบฐานข้อมูลมาใช้ในระบบ ออนไลน์ ให้เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ องค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนป่าตุ้มให้อยู่ในรูปแบบ ดิจิทัลที่ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา คนในชุมชนตําบลป่าตุ้ม และผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถนําไปใช้ เป็นแหล่งศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่มีข้อจํากัดเรื่องเวลา และสถานที่ ทั้งนี้ทรัพยากรสารสนเทศเป็นได้ทั้ง แผนการสอน สื่อการสอน หนังสือ รูปภาพ สื่ออินโฟ กราฟิก คลิปวิดีโอ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการเรียนรู้ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งองค์ความรู้ที่ได้งานวิจัยชิ้นนี้สามารถ นําไปเป็นแนวทางในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และนําไปใช้ต่อยอดในด้าน การศึกษาประสบการณ์ในแง่ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ได้
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2400
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
นิโลบล วิมลสิทธิชัย_2565.pdf1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น