Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2481
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเยาวพา, บุญเจริญ-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.coverage.spatialเชียงใหม่th_TH
dc.date.accessioned2024-10-03T01:32:29Z-
dc.date.available2024-10-03T01:32:29Z-
dc.date.created2567-10-03-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2481-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือและปัจจัยที่มีผลต่อความเจ็บปวดข้อมือในพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 69 คน จำแนกเป็น กลุ่มที่ให้การบริบาลแก่ผู้ป่วย 41 คน กลุ่มงานเอกสาร 15 คน และกลุ่มงานที่ต้องออกแรง 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามประกอบด้วยคำถาม 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดข้อมือที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบสอบถามมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์อาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก (Standardized Nordic Questionnaire) 3) อาการเจ็บปวดซึ่งนำมาจากมาตรวัดความเจ็บปวดสากล และ 4) การตรวจร่างกายพิเศษทางระบบกระดูกและข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และร้อยละเพื่อหาความชุกของการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการบาดเจ็บข้อมือของพนักงานในโรงพยาบาล ผลการวิจัย จากข้อมูลทั่วไปพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 30 ปี ถนัดมือขวา ไม่เคยประสบอุบัติเหตุข้อมือหรือมือ และไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บขณะทำงาน ในส่วนของลักษณะงานพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี ลักษณะงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ให้การบริบาลแก่ผู้ป่วย ระยะเวลาการทำงานเฉลี่ย 6 วันต่อสัปดาห์ ลักษณะการใช้งานของมือหรือข้อมือนั้น พบว่า มีการออกแรงมือต่อเนื่องเกิน 10 ครั้ง/นาที ถึงร้อยละ 73.9 มีการกระดกข้อมือซ้ำ ๆ ร้อยละ 66.7 มีการยกของหนักร้อยละ 53.6 มีการบิดหมุนข้อมือซ้ำ ๆ ร้อยละ 55.1 และลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ต้องการความละเอียดและต้องใช้ความแม่นยำถึงร้อยละ 72.5 ความชุกในการเกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อมือของพนักงาน พบว่ามีความชุกของการเจ็บปวดร้อยละ 44.9 การวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเจ็บปวดของข้อมือหรือมือในพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ท่าทางการทำงานที่ใช้ข้อมือมากมีผลต่อความเจ็บปวดบริเวณข้อมือหรือมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.02) โดยที่ผู้ที่มีการใช้งานหรือท่าทางการทำงานของข้อมือหรือมือที่มากมีโอกาสปวดข้อมือได้มากกว่า 1.786 เท่า เมื่อเทียบกับ ผู้ที่ใช้งานหรือที่ท่าทางการทำงานข้อมือหรือมือน้อยth_TH
dc.format.mediumPDFth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุดth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลเอกชน -- เชียงใหม่th_TH
dc.subjectข้อมือth_TH
dc.subjectการกดทับเส้นประสาทth_TH
dc.subjectเส้นประสาทth_TH
dc.subject.ddc612.8th_TH
dc.titleความชุกของการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือและปัจจัยที่มีผลต่อความเจ็บปวดข้อมือในพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativePrevalence of Carpal Tunnel Syndrome and Factors Affecting Wrist Pain in Hospital Staffs in Chiang Mai Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.advisorสิวลี, รัตนปัญญา-
dc.contributor.advisorเดชา, ปิ่นแก้ว-
dc.thesis.degreenameMaster of Public Healthth_TH
dc.thesis.levelMasterth_TH
dc.thesis.disciplineFaculty of Public Healthth_TH
dc.identifier.callnumberวพ 612.8-
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เยาวพา บุญเจริญ_2562.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.