Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2490
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอันสุดารี, กันทะสอน-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.coverage.spatialเชียงใหม่th_TH
dc.coverage.spatialแม่แตง (เชียงใหม่)th_TH
dc.date.accessioned2024-10-03T03:05:23Z-
dc.date.available2024-10-03T03:05:23Z-
dc.date.created2567-10-03-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2490-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Approach) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและวางระบบการผลิตเมี่ยง ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีนในการกำหนดกิจกรรมที่สร้างคุณค่า รวมทั้งแยกความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเมี่ยง ของกลุ่มผู้ปลูกชาเมี่ยง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเมี่ยง ของกลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยงตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตชาเมี่ยงตลอดโซ่อุปทาน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาเมี่ยง บ้านปางมะกล้วย จำนวน 43 ราย ลักษณะการเก็บข้อมูลจะเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยในกลุ่มสมาชิก และการสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้นำกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลจากทั้ง 2 ทาง โดยเกษตรกรจะมีหน้าที่ในกระบวนการผลิตเมี่ยงตั้งแต่ การปลูก ดูแล และการเก็บเกี่ยวใบเมี่ยง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง (Structured Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูล โดยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต และวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้ แผนผังสายธารแห่งคุณค่า ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิตเมี่ยง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มเกษตรกรบ้านปางมะกล้วย ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้การผลิตใช้เวลา ในแต่ละกระบวนการไม่แน่นอนและควบคุมได้ยาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ใช้เทคนิคการประเมินผลและทบทวนโครงการ (Program Evaluation and Review Technique: PERT) เป็นวิธีการในการกำหนดเวลาในแต่ละกิจกรรมของกระบวนการผลิต จะใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การจับเวลา และนำไปหาเวลาเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรมเพื่อนำข้อมูลมาประกอบเส้นฐาน (Baseline) ในแผนผังสายธารแห่งคุณค่าสถานะปัจจุบัน การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของระบบการผลิตชาเมี่ยง แสดงให้เห็นความสูญเปล่าที่อยู่ในระบบโดยจะกำหนดตามประเภทของความสูญเปล่าได้แก่ การมีของเสีย กระบวนการที่ไม่จำเป็น และการรอคอย จากนั้นความสูญเปล่าเหล่านั้นจะถูกกำจัดโดยแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มที่เป็นผลจากการใช้เครื่องมือ ลีน พบว่าสามารถลดเวลารวมของทั้งกระบวนการจาก 121,819 นาที (2,030.32 ชั่วโมง) เหลือ 121,762 นาที (2,029.36 ชั่วโมง) และลดกำลังคนจาก 26 คน เหลือ 22 คน แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ที่มีประสิทธิภาพของเทคนิคแผนสายธารแห่งคุณค่าไปสู่กระบวนการผลิตทางการเกษตร จากผลการวิจัยจะเห็นว่าการประยุกต์ใช้การจัดการผังสายธารแห่งคุณค่าในอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการเพิ่มขึ้นและใช้ได้เป็นอย่างดีth_TH
dc.format.mediumPDFth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุดth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectกลุ่มเกษตรกร -- แม่แตง (เชียงใหม่). ตำบลป่าแป๋th_TH
dc.subjectชาเมี่ยง -- แม่แตง (เชียงใหม่). ตำบลป่าแป๋th_TH
dc.subject.ddc663.94th_TH
dc.titleการศึกษากระบวนการและวางระบบการผลิตชาเมี่ยงโดยประยุกต์ใช้แนวการผลิตแบบลีนของกลุ่มเกษตรกร ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวดัเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeA Study on the Efficiency of Fermented Tea Leaf Production Processes of Tea Producers in Tambon Phapae, Mae Taeng District, Chiang Mai Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.advisorศุภฤกษ์, ธาราพิทักษ์วงศ์-
dc.thesis.degreenameMaster of Business Administrationth_TH
dc.thesis.levelMasterth_TH
dc.thesis.disciplineBusiness Administrationth_TH
dc.identifier.callnumberวพ 663.94-
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อันสุดารี กันทะสอน_2563.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.