Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมบัติ, สิงฆราช-
dc.contributor.authorSombat, Singkharat-
dc.date.accessioned2017-07-21T10:26:45Z-
dc.date.available2017-07-21T10:26:45Z-
dc.date.issued2012-05-16-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/461-
dc.descriptionการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศักยภาพและบริบทของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ศึกษาต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรและพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดจำนวน 16 ราย รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยแบบประยุกต์ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนของชุมชนประกอบกัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการเปิดเวทีชาวบ้านศึกษาปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จัดทำโครงการศึกษาดูงานกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอดและอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาอุปสรรคในการผลิตและการรวมกลุ่มของกลุ่มผู้ผลิตอื่นๆ และจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวงเพื่อสร้างแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ลักษณะกจการแบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ กิจการทอผ้า กิจการตัด-เย็บผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ กิจการทอผ้าและตัด-เย็บครบวงจรและกิจการทอตุง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต การตั้งราคาขายและผลผลตอบแทนพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละของผลตอบแทนจากการขายส่งค่อนข้างต่ำ ดังนั้นผู้ผลิตหายรายจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยการขายปลีก สำหรับผลตอบแทนจากการขายปลีกผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนระหว่างร้อยละ 11.1-38.7 สำหรับปัญหาของผู้ผลิตจากการสำรวจพบว่าปัญหาการขาดผู้สืบทอดการทอผ้าฝ้ายเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับแรก รองลงมาคือปัญหาราคาวัตถุดิบสูง ปัญหาการขาดช่างฝีมือดี ปัญหาการขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปัญหาการขาดเทคโนโลยีการผลิตและการอกแบบและปัญหาการขาดความรู้ทางการตลาดth_TH
dc.description.abstractThe purpose of this study was to investigate a general characteristic, a potential, a context, a production cost, revenue, a profit of a cotton handmade weaving production carried out by local people in Donluang village, Maerang sub-district, in Pasang district, Lumphun province in order to identify best practices in all aspects of its production processes. This applied research employed both a qualitative method and a participation action research for a sampling group of 16 local households. The analysis of data was completed by using frequencies, percentages, means, variants and standard deviations. Regarding the forementioned action research, a wide variety of activities were carried out; i.e. a workshop, discussion, and a study visit to other successful groups. The findings indicated that these 16 producers was divided into 4 types: 1) cloth weaving 2 producers 2) cut out 11 producers 3) weaving and cut out 2 producers and 4) flag weaving 1 producer. These products are curtains, pillows, upper-body clothes, trousers, bed-cover, table-cover, hat, bag and others souvenirs made from cotton handmade weaving. The analysis of cost and return shows that 58.3 % of all products sold generate profits less than 10 %, 33.3 % of the products provide 10-20 % profit, and the rest brought the producers above 20 % in profit. As sales through retail channel could bring more profit than wholesale, it is suggested that the producers should give priority to the former. The problems concerned includes a continuity as their young generation are losing interests in this traditional products; a high cost of raw materials; and lacking of skilled labor, new technologies, new patterns to attract buyers, and relevant knowledge. In order to address the above problems, it is suggested that every parties involved including local administrations, schools, etc should help encourage young generation to be more interested in local wisdom so that this production skill could pass on to their children. Product differentiation is also crucial for a better price which is important of its survival. Packaging and brand building are recommended for future development.th_TH
dc.format.mediumapplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนth_TH
dc.rightsเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนth_TH
dc.subjectกลุ่มผลิตผ้าฝ้ายทอมือth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนth_TH
dc.subjectสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)th_TH
dc.subjectCotton Handmade Weaving Groupsth_TH
dc.subjectCommunity Enterpriseth_TH
dc.subjectOTOP Product, Small & Medium Enterprises: SMEsth_TH
dc.titleการพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มทอฝ้ายบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativeThe processing development of Cotton Handmade Weaving Groups at Donluang Village Maerang Sub-district Pasang district Lamphun Provinceth_TH
dc.typeArticleth_TH
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Donluang Village.pdf117.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.