Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/743
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorหาญเมืองใจ, วัชรี-
dc.contributor.authorคณะ-
dc.date.accessioned2017-12-14T06:37:07Z-
dc.date.available2017-12-14T06:37:07Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/743-
dc.description.abstractจากการแยกเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาที่บริโภคได้ให้บริสุทธิ์ของเห็ดป่าทั้ง 13 ชนิด เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญ ได้แก่ สูตรอาหาร (PDA, MEA, MMN, Hagem และ Gamborg) อุณหภูมิ (25, 30 และ 35oC) และความเป็นกรด-ด่าง (pH 5, 6, 7 และ 8) พบว่าสามารถแยกเส้นใยบริสุทธิ์ของเห็ดตับเต่า Phlebopus portentosus LEL-CMRU 004 เห็ดเผาะ Astreaus hygrometricus LEL-CMRU 005 และเห็ดตะไคลขาว Russula delica MTC-CMRU 013 ได้ โดยสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่า ได้แก่ อาหารเพาะเลี้ยงสูตร PDA อุณหภูมิ 30 และ 35oC ระดับ pH 5 และ 6 ส่วนเส้นใยเชื้อราเอคโต- ไมคอร์ไรซาจากเห็ดเผาะ อาหารเพาะเลี้ยงสูตร MMN และ MEA ที่อุณหภูมิ 25 และ 30oC ระดับ pH 5 และ 6 เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใย และอาหารเพาะเลี้ยงสูตร MEA เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตะไคลขาว อุณหภูมิ 35oC ระดับ pH 8 การเจริญบนอาหารแข็งจากเมล็ดธัญพืช 5 ชนิด ได้แก่ เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว เมล็ดข้าวไร่ และเมล็ดข้าวบาเล่ย์ เพื่อผลิตหัวเชื้อ พบว่าเมล็ดธัญพืช ที่เหมาะสมต่อการผลิตหัวเชื้อมากที่สุด คือ เมล็ดข้าวฟ่าง โดยเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่า สามารถเจริญได้บนอาหารแข็งเมล็ดธัญพืชทุกชนิด การเจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างเส้นใยเจริญเต็มหลอดทดลองเร็วที่สุด ใช้ระยะเวลา 29 วัน เส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดเผาะ สามารถเจริญได้บนอาหารแข็งจากเมล็ดข้าวฟ่าง และเมล็ดข้าวไร่ ใช้ระยะเวลา 33 และ 42 วัน ตามลำดับ ส่วนเมล็ดข้าวฟ่างเหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ด ตะไคลขาว มากที่สุด ใช้ระยะเวลา 31 วัน และไม่สามารถชักนำให้สร้างดอกเห็ดได้ โดยพบลักษณะของเส้นใยที่อัดตัวกันแน่นเป็นตุ่มเล็กๆ ของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่าเท่านั้น จากการศึกษาการเข้ารากของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาในต้นกล้าก่อแป้น (Castanopsis diversifolia King.) ในสภาพโรงเรือน โดยวิธีการใส่หัวเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่าง พบว่าภายหลังจากการใส่หัวเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาให้กับต้นกล้าก่อแป้นเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ และเห็ดตะไคลขาว สามารถเจริญเข้ารากของต้นกล้าก่อแป้นได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) โดยมีเปอร์เซ็นต์การเข้ารากเฉลี่ย 95.49, 97.78 และ 85.68 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การศึกษาการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชในด้านอาหาร และสมุนไพร ในพื้นที่หมู่บ้านพระบาท สี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม และบ้านเอียก ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการจัดเวทีชาวบ้านเพื่อระดมความคิดในการเสวนา โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) พบว่ามีการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืช จำนวน 235 ชนิด สามารถจำแนกได้ 92 วงศ์ โดยพบวงศ์ Euphorbiaceae มากที่สุด จำนวน 17 ชนิด รองลงมาเป็น Asteraceae 15 ชนิด และ Papilionaceae จำนวน 14 ชนิด ได้ทำการสรุปพันธุกรรมพืชที่ทั้งสองหมู่บ้านมีการใช้ประโยชน์โดยภายในปีที่สอง โดยนำพืชที่ใช้ประโยชน์ด้านพืชอาหาร และพืชสมุนไพร มาทำการรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีการใช้ประโยชน์ ในด้านอาหาร สมุนไพร ทำการปลูกเลี้ยง เพื่อปลูกเสริมในพื้นที่ โดยทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุกรรมพืช ในวงศ์ ขิงข่า (Zingiberaceae) ได้แก่ ไพลเหลือง ไพลดำ และว่านสาวหลง พืชในวงศ์ Asteraceae ได้แก่ หญ้าหวาน และ พืชในวงศ์ Lauraceae ได้แก่ พืชในตระกูลอบเชย (Cinnamomum) โดยทำการปลูกเลี้ยงในโรงเรือนเพาะชำ และการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (plant tissue culture) เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชในพื้นที่ พบว่า ผลของ BA ต่อการเจริญเติบโตของไพลเหลือง (Zingiber montanum) ไพลดำ (Zingiber ottensii) และขิง (Zingiber officinale) ในสภาพปลอดเชื้อ โดยนำส่วนหน่ออ่อนของไพลเหลือง ไพลดำ และขิงมาทำการเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog, 1962 ดัดแปลง โดยเติม BA อัตราส่วน 0, 2.5, 3.0, 3.5, และ 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าในไพลเหลือง อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.5 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อไพลเหลืองมีการพัฒนาไปเป็นยอด และมีการเจริญเติบโตสูงสุด คือ 1.50 ยอด ต่อชิ้นส่วนเนื้อเยื่อ และความสูง 4.61 และ 3.43 เซนติเมตรต่อยอด ตามลำดับ ไพลดำพบว่าในอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุดคือ 1.97 ยอดต่อชิ้นส่วนเนื้อเยื่อ และในอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 3.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดความสูงสูงสุด คือ 3.63 เซนติเมตรต่อยอด และในขิงพบว่าในอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 1.64 ยอดต่อชิ้นส่วนเนื้อเยื่อ และความสูงเฉลี่ยสูงสุด 3.43 เซนติเมตรต่อยอด การศึกษาเปรียบเทียบผลของ NAA และ BA ต่อการเจริญของแคลลัส โดยนำใบหญ้าหวานมาตัดเนื้อเยื่อเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญ NAA ร่วมกับ BA ที่อัตราส่วนความเข้มข้นต่างกัน คือ 0:0, 0:1, 1:0, 1:1, 1:2, 2:1 และ 2:2 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ รวมทั้งหมด 7 ชุดการทดลอง โดยย้ายเลี้ยงทุก 4 สัปดาห์ ตั้งแต่เริ่มเกิดแคลลัส เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อนำไปวิเคราะห์ผลทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าทุกชุดการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าอาหารวุ้นสูตร MS ที่เติม NAA 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำการเจริญของแคลลัสสูงสุด คือ มีความกว้าง ความยาว และน้ำหนักของแคลัสสูงสุดเท่ากับ 1.2, 1.5 เซนติเมตร และ 0.035 กรัม ตามลำดับ จากการศึกษา ความหลากหลายของแมลงน้ำในพื้นที่บ้านเอียก ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 จุด ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือน กันยายน พ.ศ. 2552 พบแมลงน้ำทั้งหมด จำนวน 930 ตัว 37 วงค์ 8 อันดับ และแมลงน้ำที่พบมากที่สุด คือจุดจุด BE 2 พบ 25 วงศ์ 8 อันดับ พบวงศ์ Odontoceridae อันดับ Trichoptera (พวกแมลงหนอนปลอกน้ำ)มากที่สุด รองลงมาคือ จุด BE 1 พบ 20 วงศ์ 7 อันดับ พบวงศ์ Simulidae (หนอนริ้นดำ) อันดับ Diptera มากที่สุด,จุด BE 3 พบ 10 วงศ์ 5 อันดับ พบวงศ์ Caenidae อันดับ Ephemeroptera (กลุ่มแมลงชีปะขาว) จุด BE 4 พบ 15 วงศ์ 6 อันดับ พบวงศ์ Odontoceridae อันดับ Trichoptera (แมลงหนอนปลอกน้ำ) และ จุด BE 5 พบ 10 วงศ์ 5 อันดับ พบวงศ์ Baetidae อันดับ Ephemeroptera (กลุ่มแมลงชีปะขาว) มากที่สุด ตามลำดับ ความหลากหลายของแมลงน้ำเพื่อประเมินคุณภาพของน้ำทางชีวภาพ ในพื้นที่บ้านสะลวงทั้ง 5 จุด โดยใช้การคำนวณค่า ASPT สามารถสรุปได้ว่าคุณภาพน้ำมีคุณภาพน้ำปานกลาง และปานกลางถึงค่อนข้างดี และค่าดัชนีความหลากหลาย(diversity index) ของแมลงน้ำในพื้นที่บ้านเอียก ทั้ง 5 จุดศึกษา พบว่า จุดที่มีค่าดัชนีความหลากหลายสูงสุด คือ จุด BE 4 บริเวณน้ำตกสายหมอก มีค่าเท่ากับ 2.59 รองลงมาคือ จุด BE 1, BE 2, BE 3, และ BE 5 ซึ่งมีค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 2.15, .02, 1.90 และ 1.47 ตามลำดับ จากการศึกษาและการเก็บตัวอย่างผีเสื้อและแมลงปอในพื้นที่ป่าบ้านเอียก ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนเดือนตุลาคม 2553 เป็นการเก็บแบบสุ่มใน 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (wet season) กับฤดูแล้ง (dry season) และช่วงรอยต่อของฤดูฝนและฤดูหนาวเพื่อศึกษาปริมาณและชนิดของแมลง พบผีเสื้อและแมลงปอทั้งหมดทั้งหมด 15 วงศ์ (Family) 109 จีนัส (Genus) และ 141 สปีชีส์ (species) ซึ่งในอันดับ Lepidoptera พบว่ามี 3 สกุล 97 ชนิด เป็นผีเสื้อในวงศ์ ต่าง ๆ 5 วงศ์ คือ ผีเสื้อในวงศ์Nymphalidae , Lycaenidae , Hesperiidae , Pieridae และ Papilionidae พบได้ว่า ผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae มีการปรากฏมากที่สุด รองลงมา คือผีเสื้อในวงศ์ Lycaenidae และมีการปรากฏน้อยที่สุด คือผีเสื้อวงศ์ Hesperiidae ในอันดับ Odonata พบทั้งหมด 36 สกุล 44 ชนิด เป็นแมลงปอในวงศ์ต่าง ๆ 10 วงศ์ คือแมลงปอวงศ์ Calopterygidae , Chlorocyphidae , Euphaeidae , Coenagrionidae , Platystictidae , Libellulidae , Gomphidae , Aeshnidae , Corduliidae , Platycnemididae พบได้ว่าแมลงปอวงศ์ Libellulidae มีการปรากฏมากที่สุด รองลงมา คือแมลงปอวงศ์ Coenagrionidae และมีการปรากฏน้อยที่สุด คือแมลงปอวงศ์ Aeshnidae และแมลงปอวงศ์ Platycnemididae ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า จำนวนชนิดของผีเสื้อมากกว่าแมลงปอ ทั้งในฤดูฝนและแล้ง ผีเสื้อและแมลงปอถือเป็นส่วนสำคัญในระบบป่าไม้ ซึ่งมีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดและความถี่ที่พบแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ในอันดับ Lepidoptera ฤดูฝนชนิด (species) ที่พบมากที่สุด คือ G. harina burmana คือ ผีเสื้อเณรยอดไม้ ชนิดที่พบมาก ได้แก่ K. rubecula คือ ผีเสื้อคาดแสดแถบสั้น ในช่วงฤดูแล้งชนิดที่พบมากที่สุด คือ E. hecabe contubernalis คือ ผีเสื้อเณรธรรมดา ชนิดที่พบมาก ได้แก่ G. harina burmana คือผีเสื้อเณรยอดไม้ ในอันดับ Odonata ช่วงฤดูฝนชนิด (species) ที่พบมากที่สุด ได้แก่ B. contaminate A. fenestrella คือ แมลงปอบ้านผู้ปีกเปื้อนส้ม แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นผู้ดำ ชนิดที่พบมาก ได้แก่ H. biforata คือ แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นวงม่วง ในช่วงฤดูแล้งชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ B. contaminata คือ แมลงปอบ้านผู้ปีกเปื้อนส้ม ชนิดที่พบมาก ได้แก่ A. fenestrella และ A. aethra คือ แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นผู้ดำ และแมลงปอบ้านยอดฟ้า จากการสำรวจพบผีเสื้อคุ้มครอง 1 ชนิด เป็นการบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี คือพบผีเสื้อถุงทองธรรมดา การเก็บตัวอย่างนก โดยทำการสำรวจตลอดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างการเข้าสู่ฤดูหนาว และหมดฤดูฝน โดยในพื้นที่สำรวจจะเป็นป่าหลังหมู่บ้านพระบาท จากการสำรวจอาทิตย์ละละ 1 ครั้ง พบนกทั้งหมด 107 ชนิด โดยยังพบนกถึง 33 ชนิดที่พบในการสำรวจทุกครั้ง การใช้ประโยชน์จากนกและแมลงในการสร้างเป็นเสนทางศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการส่งเสริมและศึกษาเส้นทางดูนกและแมลง และการใช้แมลงเพื่อการติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยแมลงบางชนิด และนกจะนำมาสังเคราะห์ ให้เป็นเอกสาร และคู่มือ ซึ่งสามารถใช้ประกอบในการพัฒนาพื้นที่สะลวงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ 3 เส้นทางดังนี้ เส้นทางที่ 1 เส้นทางป่าชุมชน บ้านพระบาทสี่รอย ต.สันป่ายาง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (1.8 กิโลเมตร) โดยพบนกที่น่าสนใจดังนี้ เหยี่ยวนกเขาชิครา (Accipiter badius) กินปลีหางยาวคอดำ (Aethopyga saturate) ปลีกล้วยเล็ก (Arachnothera longirostra) ปลีกล้วยลาย (Arachnothera magna) แอ่นพง (Artamus fuscus) พบผีเสื้อและแมลงปอทั้งหมดทั้งหมด 15 วงศ์ (Family) 109 จีนัส (Genus) และ 141 สปีชีส์ (species) ซึ่งในอันดับ Lepidoptera พบว่ามี 3 สกุล 97 ชนิด เป็นผีเสื้อในวงศ์ ต่าง ๆ 5 วงศ์ คือ ผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae , Lycaenidae , Pieridae, Papilionidae และ Hesperiidae ตามลำดับ ในอันดับ Odonata พบทั้งหมด 36 สกุล 44 ชนิด เป็นแมลงปอในวงศ์ต่าง ๆ 10 วงศ์ คือแมลงปอวงศ์ Libellulidae, Coenagrionidae, Calopterygidae , Chlorocyphidae , Euphaeidae , Platystictidae , Gomphidae , Corduliidae, Aeshnidae , และ Platycnemididae ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบจุดเด่นในพื้นที่คือมีการสำรวจพบผีเสื้อคุ้มครอง 1 ชนิด เป็นการบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี คือพบผีเสื้อถุงทองธรรมดา เส้นทางที่ 2 เส้นทางผาแตก บ้านพระบาทสี่รอย ต.สันป่ายาง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (2.5 กิโลเมตร) โดยพบนกที่น่าสนใจดังนี้ นกจับแมลงหัวเทา (Culicicapa ceylonensis ) คัดคู้มรกต ( Chrysococcyx maculatus ) กินปลีหางยาวคอดำ (Aethopyga saturate) ปลีกล้วยเล็ก (Arachnothera longirostra) ปลีกล้วยลาย (Arachnothera magna) แอ่นพง (Artamus fuscus) นอกจากนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ทำให้มีอากาศที่หนาวเย็น ดังนั้นจึงมีนกอพยพเข้ามาพักอาศัยในฤดูหนาวในพื้นที่หลายชนิด เช่น นกเด้าดินสวน (Anthus hodgsoni) นกจับแมลงคอแดง (Ficedula parva ) นกอีเสือลายเสื่อ (Lanius tigrinus) และ นกอุ้มบาตร (Motacilla alba ) เป็นต้น พบผีเสื้อและแมลงปอทั้งหมดทั้งหมด 14 วงศ์ (Family) 88 จีนัส (Genus) และ 132 สปีชีส์ (species) ซึ่งในอันดับ Lepidoptera พบว่ามี 3 สกุล 89 ชนิด เป็นผีเสื้อในวงศ์ ต่าง ๆ 5 วงศ์ คือ ผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae , Lycaenidae , Papilionidae, Pieridae และ Hesperiidae ตามลำดับ ในอันดับ Odonata พบทั้งหมด 36 สกุล 44 ชนิด เป็นแมลงปอในวงศ์ต่าง ๆ 10 วงศ์ คือแมลงปอวงศ์ Libellulidae, Coenagrionidae, Calopterygidae , Chlorocyphidae , Euphaeidae , Platystictidae , Gomphidae , Platycnemididae, Corduliidae , และ Aeshnidae ตามลำดับ เส้นทางที่ 3 เส้นทางผาแตก บ้านพระบาทสี่รอย ต.สันป่ายาง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (1.5 กิโลเมตร) โดยพบทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยพบนกที่น่าสนใจดังนี้ นกกินปลีหางยาวคอดำ (Aethopyga saturate) ปลีกล้วยเล็ก (Arachnothera longirostra) ปลีกล้วยลาย (Arachnothera magna) แอ่นพง (Artamus fuscus) นอกจากนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จึงทำให้มีนกอพยพที่เป็นนกอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำเข้ามาพักอาศัยในฤดูหนาวในพื้นที่หลายชนิด เช่น ยอดหญ้าหัวดำ (Saxicola torquata) นกคัดคู้หงอน (Clamator coromandus ) นกจับแมลงคอแดง (Ficedula parva ) นกอีเสือลายเสื่อ (Lanius tigrinus) เป็นต้น พบผีเสื้อและแมลงปอทั้งหมดทั้งหมด 12 วงศ์ (Family) 79 จีนัส (Genus) และ 110 สปีชีส์ (species) ซึ่งในอันดับ Lepidoptera พบว่ามี 3 สกุล 79 ชนิด เป็นผีเสื้อในวงศ์ ต่าง ๆ 5 วงศ์ คือ ผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae , Lycaenidae , Papilionidae , Pieridae และ Hesperiidae ตามลำดับในอันดับ Odonata พบทั้งหมด 32 สกุล 40 ชนิด เป็นแมลงปอในวงศ์ต่าง ๆ 9 วงศ์ คือแมลงปอวงศ์ Libellulidae, Calopterygidae , Chlorocyphidae , Euphaeidae , Platystictidae , Gomphidae , Aeshnidae, Corduliidae และ Coenagrionidae ตามลำดับ สามารถจัดกิจกรรมให้กับชุมชนได้ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ให้แก่ชุมชนในการศึกษา ติดตามตรวจสอบและอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในน้ำของเขตพื้นทีสะลวง กิจกรรมที่ 2 การติดตามตรวจสอบทรัพยากรชีวภาพและประเมินคุณภาพน้ำ โดยจะมีการดำเนินการจากชุมชน ที่ผ่านการอบรมและมีการประเมินคุณภาพน้ำ กิจกรรมที่ 3 การประเมินผลการศึกษาทางด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่สะลวง และยอมรับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย จากการประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการโดยรวมจากแบบสอบถามให้ค่ามากกว่า ร้อยละ 80 พบว่าตัวแทนจากโรงเรียนและชุมชนมีความตื่นตัวและยินดีที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ในการสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อมและคุณค่าของระบบนิเวศ แต่ชุมชนยังขาดเครื่องมือที่จะนำมาใช้ดำเนินการth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)th_TH
dc.format.mediumapplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights©มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพth_TH
dc.subjectเพื่อพัฒนาแหล่งอาหารของชุมชนในพื้นที่สะลวงth_TH
dc.titleการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาแหล่งอาหารของชุมชนในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ปีที่ 2)th_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)479.21 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)510.55 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)388.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)500.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)2.21 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)1.04 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)3.71 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)500.05 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)485.29 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.