Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/900
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ในประเทศไทย
Other Titles: LEGAL PROBLEMS CONCERNING NATIONAL PARK'S ADMINISTRATIVE MANAGEMENT SYSTEM IN THAILAND
Authors: จิตบาน, พงษ์ศิริ
เลื่อนฉวี, พรชัย
Keywords: ระบบการบริหารจัดการ
อุทยานแห่งชาติ
Administrative Management System
National Park
Issue Date: 25-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ในประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และตา่งประเทศ คอื กฎหมายอุทยานทางธรรมชาติของญี่ปุ่น รัฐบัญญัติอุทยานทางธรรมชาติของสาธารณรัฐเกาหลี กฎหมายอุทยานแห่งชาติของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติของนิวซีแลนด์ และรัฐบัญญัติ อุทยานแห่งชาติของแคนาดา ตลอดจนเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการ อุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ.2535 เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติของต่างประเทศ และให้สอดคล้องกับแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางกฎหมายมหาชน อันได้แก่ ทฤษฎีภารกิจของรัฐ หลักการจัดทำบริการสาธารณะ หลักการมีส่วนร่วมของ ประชาชน เป็นต้น อีกทั้งเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับประเทศไทยในการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และสามารถนำมาเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานของรัฐและ พนักงานเจ้าหน้าที่บริหารจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างยั่งยืน โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยทางเอกสาร เพื่อให้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 อันจะทำให้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ทันสมัยต่อสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงและการใช้ประโยชน์ของอุทยานแห่งชาติ และมีระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติที่มีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล ตลอดจนแก้ปัญหาความขัดแย้งและทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ซึ่งเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของกฎหมายในการควบคุม คุ้มครองและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันจะส่งผลทำให้ทุกภาคส่วนมีจิตสำนึกและรู้หน้าที่ในการหวงแหน คุ้มครองรักษา ปกป้องดูแล ฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติอันเป็นสมบัติของชาติเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนทุกคน ตลอดจนถึงอนุชนคนรุ่นหลังต่อไป
Description: he objective of this article was to study the legislative measure related to administrative anagement system of the national park in Thailand according to National Park Act, B.E. 2504 and The Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 and other countriesin accordance with Natural Parks Law C.E. 1957 (Japan), Natural Parks Act C.E. 1980 (Republic of Korea), National Park Law C.E. 2011 (Republic of China), National Parks Act C.E. 1980 (New Zealand) and National Parks Act C.E. 1985 (Canada). Moreover, it included studying and analyzing Legal problems concerning national park’s administrative management system in Thailand according to National Park Act, B.E. 2504 and The Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535, comparing with the National Park in foreign countries mentioned above conforming with fundamental concepts, principles and legal theories of public law in terms of administrative management system in National Park, such as the theory of governmental functions, public services, the principle of public participation, etc. Additionally, this study was for advising on solutions applicable to the national park’s administrative management according to National Park Act, B.E. 2504. The aforementioned objectives can be taken as principles and guidelines to governmental sectors and officials in the national park for sustainable administrative management. In consequence, this study was regarded as a documentary research applied to revision of statues in the National Park Act, B.E. 2504, aiming at contemporary adjustment and applicatory for successfully efficient administrative management in the National Park, especially eliminating conflict between government agencies and citizen, which is the main purpose of the law to control and preserve the national resources, and conforming to Constitution of the Kingdom of Thailand. This resulted that all sectors of government officers should realize and be responsible for their duties and worked efficiently. Resources, as the nation treasure, should be restored, preserved for wisely getting the most of it remained to next generation.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/900
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พงษ์ศิริ จิตบาน.pdf45.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.