Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/952
Title: คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา เศรษฐกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่่
Other Titles: Morality Base on Suffi ciency Economy Philosophy with the Community Economic Development in Chiang Mai Province
Authors: สมยานะ, ผศ.วีระศักดิ์
Keywords: คุณธรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
morality
community economic development
sufficiency economy philosophy
Issue Date: 28-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: การศึกษาเรื่อง “คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของคุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ ร่วมกันกับการบริหารจัดการของกลุ่มธุรกิจชุมชน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อาศัยวิธีการวิจัยโดยการสร้างความเข้าใจ ปรากฏการณ์ในเชิงเหตุผล ด้วยวิธีวิเคราะห์ที่เป็นระบบโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และเทคนิคของการได้ข้อมูล ด้วยวิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการเชิงกลุ่ม กับกลุ่มธุรกิจชุมชนจำนวน 32 แห่งใน 24 อำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ ผลการวิจัยแบบ Content Analysis และได้ข้อสรุปจากการวิจัยเป็นกลุ่มธุรกิจชุมชนต้นแบบ อันเป็นการส่งผลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มธุรกิจชุมชนควรมีหลักคุณธรรมในการดำเนินกิจการกลุ่มนอกเหนือจากการมุ่งแสวงหากำไร เป็นที่ตั้ง และหนึ่งในคุณธรรมที่ควรจะส่งเสริมให้กับกลุ่มธุรกิจชุมชนที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน คือ คุณธรรมตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการดำเนินงาน จนเกิดความยั่งยืนของธุรกิจได้ ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถ ระบุประเภทของคุณธรรมในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมสำหรับนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารจัดการ กลุ่มธุรกิจชุมชน จนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของธุรกิจเอง ได้ 5 ประเภท ได้แก่ 1) ความซื่อสัตย์สุจริต 2) ความไม่โลภ จนเกินไป 3) ความอดทน 4) ความขยันหมั่นเพียร และ 5) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งลักษณะของคุณธรรมเหล่านี้ จะแสดงออกมาโดยการกระทำทางกาย วาจาและจิตใจของสมาชิกกลุ่มธุรกิจชุมชนทั้งตัวของผู้นำกลุ่มและสมาชิกของกลุ่ม ทุกคน การนำเอาหลักคุณธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการองค์กรของกลุ่ม ธุรกิจชุมชนต้นแบบ 5 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจชุมชนประเภทสินค้าเกษตร, ธุรกิจชุมชนแปรรูปอาหาร, ธุรกิจชุมชนประเภท งานหัตถอุตสาหกรรม, ธุรกิจชุมชนประเภทผ้า และธุรกิจชุมชนด้านบริการท่องเที่ยว รวม 10 กลุ่มธุรกิจชุมชนต้นแบบ ในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถพัฒนาแนวทางการปรับและประยุกต์ใช้หลักคุณธรรมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจในเชิงคุณธรรม หรือจริยธรรมทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน จนเป็นต้นแบบธุรกิจชุมชนเชิงคุณธรรมของจังหวัดเชียงใหม่
Description: The objective of this research is to study the suitable types of morality base on sufficiency economy philosophy in order to apply in the management of community business, Chiang Mai province. The research method is to make the understanding of the phenomena by rational and analysis systematically. It is the qualitative research and collect the data by the participatory action meeting with 32 groups of community business in 24 district of Chiang Mai in order to get the conclusion by content analysis technical and bring the result to use with the prototype of community business groups. The result of study is that there are 5 suitable types and characteristic of morality base on sufficiency economy philosophy to apply in the management of community business; 1) honesty; 2) lack of greed; 3)patience; 4)diligence and 5)generosity. All of these morals will be expressed through physical, verbal and mental of both group leaders and members. These five morals will thereby be applied in the management of the five prototypes of the community business groups consisting of agricultural business, processed food, handicraft industry, garment and tourism community business groups totally 10 groups of community business in Chiang Mai. This will create the guideline to adjust and apply to use all of these 5 moralities with business and make the sustainable sufficiency for communities.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/952
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ผศ.วีระศักดิ์ สมยานะ.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.