Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/965
Title: การวิเคราะห์รูปแบบวิถีพุทธและจริยธรรมของโรงเรียนชุมชน วัดท่าเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
Other Titles: An Analysis of Buddhist Way and Ethical Practice of Wat Thaduae Community School Affiliated with Office of the Chiang Mai Education Service Area 1
Authors: แสนงาม, พระสนิท
Keywords: วิถีพุทธ
Buddhist Way
Issue Date: 28-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับ แนวคิด รูปแบบ กระบวนการ ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้และเครื่องมอที่เกี่ยวของกบการจัดการเรียนรู้แนวพุทธเพื่อพัฒนานักเรียน ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จานาน 150 คน รวม 180 คน เครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูล (Opinion Form) แบบสมภาษณ์และสนทนากลุ่ม รูปแบบการสอนวิถีพุทธของโรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดการดำเนินตามโรงเรียนวิถีพุทธที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ ดังนี้ 1. สัปุริสสังเสวะ หมายถึง การอยู่ใกล้คนดีใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ที่ดี มีข้อมูล มีใจที่ดี 2. สัทธัมมัสสานะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี 3. โยนิดโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี 4 ธัมมานุธัมมปฏิบัติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และปัญหาต่างๆ ตามเหตุปัจจัย และมีผู้รู้แหล่งเรียนรู้เครื่องมือโดยมีปราชญ์ชาวบ้านด้านต่างๆ มาเป็นวิทยากรซึ่งสอดคล้องตามปัญญาวุฒิธรรม แนวทางที่จะพัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ มีการวางแผนการดำเนินงานและการจัดกิจกรรม หรือโครงการตามแนววิถีพุทธสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้ กับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเมตตากรุณา พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงพบว่า นักเรียนได้ปฏิบัติตนทั้งพฤตกรรมด้านการใช้คำพูดที่สุภาพมากขึ้น การทะเลาะวิวาท การหนีเรียน การสูบบุหรี่ มีน้อยลง
Description: The objective of this research were to study the current situation for ideas, forms, and the thinking process of the learned people, learning tools and the learning apparatus on Buddhist wisdom for the teachihg of Thai students and Their learning development. The research sampling subjects consisted of 30 grade 4-6 students, and 150 grade 7-10 students, totalling 180 students. The research tools for data collection comprised of an observation form, an opinion recording form and interviewing, as well as a focus group discussion. Results of the research are as given below. growth of Buddhist wisdom: (1) Sappurisasamseva, which means to associate with good people, wise men, good teachers, and strive of good knowledge and good communication, (2) Saddhamassavana, which means, to concentrate on education based on a good teaching and learning curriculum, (3) Yonisomanasikara, which means to have critical and logical analysis according to correct reason and logics, (4) Dhammanudhammapatipatti, which means to utilize the knowledge and use the wisdom obtained from practicing Buddhism by the appropriate means. Problem solving according to the cause and effect theory, through the use of local wisdom and domestic philosophy. The school was planned to run according to the Buddhist philosophy, ethically and morally. The assessment and the evaluation process was carried out in order to promote the feeling of loving-kindness and compassion. As the result, it was found that the sample of students was able to improve its verbal behavior by reducing quarrels and arguments and that school absenteeism was found to be decreasing and cigarette smoking had greatly decreased.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/965
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พระสนิท แสนงาม.pdf33.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.