กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/979
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของ ต้นกล้ากล้วยไม้สกุลแวนด้าฟ้ามุ่ยในอาหารดัดแปลง โดยใช้วุ้นน้ำมะพร้าวแทนวุ้นสำเร็จ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on Seed Germination and Seedling Development of Vanda coerulea Lindl. in Modifi ed Medium by Nata De Coco Repress Agar.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญส่งแท้, อัครสิทธิ์
หาญเมืองใจ, ดร.วัชรี
คำสำคัญ: Seed Germination
Seedling Development
Vanda
nata de coco
วันที่เผยแพร่: 28-มกร-2561
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
บทคัดย่อ: การศึกษาการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้า กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Lindl.) ที่เป็น สายพันธุ์ป่า จากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำการทดลองเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นน้ำมะพร้าวในสภาพปลอดเชื้อ โดย นำเมล็ดกล้วยไม้ฟ้ามุ่ย มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร Vacin and Went (1949) เปรียบเทียบกับสูตร Vacin and Went ดัดแปลงโดยใช้วุ้นน้ำมะพร้าวแทนวุ้นสำเร็จ โดยทำการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 270 วัน เก็บข้อมูลทุกๆ 30 วัน พบว่า การงอกของเมล็ดกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยบนอาหารสูตร Vacin and Went ดัดแปลงโดยใช้วุ้นน้ำมะพร้าวแทนวุ้นสำเร็จ มีการ งอกของเมล็ดสูงกว่าอาหารสูตร Vacin and Went (1949) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.51±9.94% และ 62.82±8.35% ตามลำดับ สำหรับการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยไม้ฟ้ามุ่ย พบว่า ต้นกล้ากล้วยไม้ฟ้ามุ่ย ที่เลี้ยงบนอาหารสูตร Vacin and Went ดัดแปลงโดยใช้วุ้นน้ำมะพร้าวแทนวุ้นสำเร็จ ในช่วงระยะเวลา 60-240 วัน มีการเจริญเติบโตมากกว่า อาหารสูตร Vacin and Went (1949) โดยมีค่าเฉลี่ย 1.46 เซนติเมตร และ 1.20 เซนติเมตร ตามลำดับ และเมื่อ นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติระหว่างอาหารทั้ง 2 สูตร พบว่า การงอกของเมล็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการเจริญเติบโต เมื่อนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติระหว่างอาหารทั้ง 2 สูตร พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: Seed Germination and Seedling Development of Vanda coerulea Lindl. It was aimed to compare modifi ed Vacin and Went (VW) media additional with nata de coco with VW, 1949 on plantlet regeneration. The germination of immature seed was compared between Vacin and Went (1949) and modifi ed VW withnata de coco agar during the period of 270 days. The results showed that the average percentage of germination ratio modifi ed VW were 86.51±9.94 % while VW was 62.82±8.35%, respectively. For seedling development the result showed that, within 60 to 240 days the average height of stems and length of roots the modifi ed VW with coco agar were 1.46 cm, and VW were 1.20 cm, respectively. The data analysis showed that there are no statistically signifi cant diff erences in seedling development.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/979
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
อ.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ,ผศ.ดร.วัชรี หาญเมืองใจ.pdf1.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น