กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/982
ชื่อเรื่อง: การสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยใช้อัตลักษณ์ล้านนา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Creation of Cartoon Character using Lanna Identity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โรจนวัฒนาวุฒิ, ระรินทร์
คำสำคัญ: ลักษณะตัวละครการ์ตูน
แอนิเมชัน
อัตลักษณ์ล้านนา
Cartoon character
Lanna identity
Animation
วันที่เผยแพร่: 28-มกร-2561
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เปน็ การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบดว้ ยการวิจัยเชิงพัฒนา การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยใช้ อัตลักษณ์ล้านนา และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง การสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละคร การ์ตูนโดยใช้อัตลักษณ์ล้านนาใช้กระบวนการออกแบบลักษณะตัวละครจากภาพบุคคลในจิตรกรรม ฝาผนัง วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ร่างภาพเชิงจิตรกรรมฝาผนังแล้วพัฒนาสัดส่วน องค์ประกอบทางกายภาพของตัวละครเป็นลักษณะตัวละครการ์ตูนที่มีอัตลักษณ์ล้านนาและ มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปพัฒนาเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันได้ ประเมินประสิทธิภาพของลักษณะ ตัวละครการ์ตูนโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาและด้านการพัฒนาสื่อ ประเมินความ พึงพอใจในรูปแบบลักษณะตัวละครการต์ ูนโดยกลุม่ ตัวอยา่ งนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที ี่ 6 โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการผลิตการ์ตูนสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยใช้ อัตลักษณ์ล้านนามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก สามารถนำไปใช้ในภาพยนตร์แอนิเมชันได้ และ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อลักษณะตัวละครการ์ตูนที่สร้างสรรค์โดยใช้อัตลักษณ์ล้านนา อยู่ในระดับดีมาก ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาลักษณะตัวละครการ์ตูนสู่ภาพยนตร์แอนิเมชันเพื่อนำเสนอ ความเป็นอัตลักษณ์ล้านนาต่อสังคมไทยผ่านสื่อที่มีความสากลต่อไป
รายละเอียด: The Mixed Method research consist of developmental research, qualitative research and experimental research aims to create cartoon character through Lanna identity and study the satisfaction of a representative group. The creation of cartoon character using lanna identity has an inspiration from the characters on mural painting in Wihan lai come, Phra Sigha temple bydrawing the original character and develops into capable Lanna characters which are able to expand to animation movie. These cartoon characters are evaluated by the experts in Lanna arts and evaluated the satisfaction by the representative students from Grade 6 students, Rajabhat Chiang Mai University Demonstration School. The statistics are analyzed by percentage and standard deviation. The research result finds that the creation of cartoon character using Lanna identity has high efficiency which is able to develop in to animation movie. The representative group is extremely satisfy to the characters which created through Lanna identity. Therefore, Lanna cartoon characters should be developed to animation movie to present Lanna identity to international media.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/982
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
นางสาวระรินทร์ โรจนวัฒนวุฒิ.pdf1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น