กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1261
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการใช้สีสกัดจากธรรมชาติบนกระดาษสา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นภารัตน์, จิวาลักษณ์
วาสนา, ประภาเลศิ
คำสำคัญ: การพฒันาการใช้สีสกัด
จากธรรมชาติบนกระดาษสา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสีจากใบสดของตัวอย่างพืช ได้แก่ มะม่วง สัก และหูกวาง แลว้ประยุกต์ใช้สีที่สกัดได้จากพืชในท้องถิ่นไปเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตกระดาษสา และ เพื่อศึกษาค่าความเป็นกรดด่างที่ส่งผลต่อค่าสีที่ได้จากการใช้ตัวอย่างพืชชนิดต่าง ๆ บนกระดาษสา พบว่าสารสกัดสีจากใบพืชในท้องถิ่น ได้แก่ มะม่วง สัก และหูกวาง ได้สารสกัดที่น าไปย้อมสีของ กระดาษสา ได้สารสีดังนี้ สีเหลืองของแมงจิเฟอริน (Mangiferin) จากใบมะม่วง สีเหลืองของ Tectoleafquinone และสีแดงของ Tectograndone และ 9,10 dimetoxy-3-hydroxy-2-isopentenylanthra1,4-dione จากใบสัก และสีเหลืองจนถึงสีน ้าตาลของฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) แอนทราควิโนน (Anthraquinone) และไฮโดรไลเซเปิลแทนนิน (Hydrolyzable tannins) และสีเขียวของคลอโรฟิลล์ (Chorlophyll) จากใบหูกวาง จากนั้นน าไปศึกษาความเป็นกรดด่างของน ้าย้อมสีบนกระดาษสาใน ใบมะม่วง ใบสัก และใบหูกวาง แล้ววัดสีด้วยระบบ CIELAB พบว่า ค่าความเป็นกรดด่างของน ้า ย้อมสีมีผลต่อเฉดสีของกระดาษสาให้สีแตกต่างกัน ดังนี้ สีเหลืองออกเขียวจากใบมะม่วงสภาวะ กรดและใบหูกวางสภาวะกรดและกลาง, สีเหลืองออกแดงจากใบมะม่วงสภาวะกลางและเบสและ ใบสักสภาวะกรดและเบส, สีเหลืองออกส้มจากใบสักสภาวะกลางและใบหูกวางสภาวะเบส การประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์กระดาษสาตัวอย่างที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติสกัดจาก ใบมะม่วง ใบสักและใบหูกวาง ทั้ง 3 สภาวะ ได้แก่ กรด กลาง และเบส พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุดต่อความสวยงามของสีจากใบมะม่วงในสภาวะกรด, ความสม่า เสมอของสีจากใบหูกวางในสภาวะกรด, ความแข็งแรงของกระดาษสาจากใบหูกวางใน สภาวะกรดและสภาวะกลาง, ความหนา/บางของกระดาษสาจากใบหูกวางในสภาวะกรด และความ เรียบของกระดาษสาจากใบสักในสภาวะกรด ในระดับคะแนน 3.47, 3.42, 3.17, 3.27 และ 3.52 ตามลา ดบั ผลการศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดจากพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วง สัก และหูกวาง ทั้งที่ไม่เติมสารส้มและเติมสารส้ม เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาวิจัยพบว่าส่วนใหญ่มี สารองค์ประกอบพฤกษเคมีส าคัญที่ให้ผลการทดลองเหมือนกัน คือ แทนนิน ฟลาโวนอยด์ เทอร์พี นอยด์และซาโปนิน แต่สารสกัดที่เติมสารส้มทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ มะม่วง และสักจะไม่พบแทนนิน ส่วนสารแอนทราควิโนนจะพบเฉพาะในสารสกัดใบสัก นอกจากนี้ไม่พบสารไกลโคไซด์ปรากฏ อยู่ในสารสกัดที่ตรวจสอบได้
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1261
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdf481.26 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdf215.3 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdf548.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdf486.35 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdf764.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdf650.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdf594.26 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdf661.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdf499.8 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น