Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1296
Title: การรู้เท่าทันสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Authors: รพีพร, เทียมจันทร์
Keywords: การจำหน่ายสินค้าสุขภาพ
รู้เท่าทันสื่อ
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ และปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์สรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในการศึกษาครั้งนี้เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 20-29 ปี นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท และไม่มีโรคประจำตัว การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อทุกวัน ใช้สมาร์ตโฟนและใช้เวลาในการเปิดรับข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เลือกวันตามสะดวกในการเปิดรับข้อมูลและช่วงเวลาที่ใช้เปิดรับข้อมูลอยู่ในช่วง 18.01 น.-00.00 น. นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่รู้จักและซื้อสินค้าสุขภาพให้แก่ตนเอง เหตุผลที่เลือกเปิดรับข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า คือ ความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูล การสั่งซื้อ และการรับ-ส่งสินค้า วัตถุประสงค์ในการสั่งซื้อสินค้าสุขภาพ คือ ต้องการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่สั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีการสั่งซื้อครั้งละ 1-2 ชิ้นและมีมูลค่าเฉลี่ย 1,300 บาท มีการชำระเงินปลายทาง และมีความพึงพอใจในสินค้าที่ซื้อ การเปิดรับข้อมูลสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อประชาชนคือทำให้ซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น บ่อยขึ้น และทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ปัญหาในการเปิดรับข้อมูลสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตพบว่าสินค้าบางชนิดมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการรู้เท่าทันสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ในภาพรวม การรู้เท่าทันสื่อของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 3.26+0.74) การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อ ผลการวิเคราะห์พบว่า เพศและการมีโรคและไม่มีโรคประจำตัวของประชาชนไม่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อ (p=0.77 และ 0.92 ตามลำดับ) ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนของประชาชน มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: This descriptive research aims to study media exposure behaviors, media literacy and factors affecting media literacy on health product distribution on the internet of people. The sample used in this study was people aged 20 and over in Muang Chiang Mai district, Chiang Mai province. Data was collected by using questionnaires and analyzed by descriptive statistics, inferential statistics, content analysis and thematic analysis. The results showed that people in this study are more female than male in the age of 20-29 years, buddhist and employee. Most of them have marital status, bachelor's degree, monthly income less than or equal to 10,000 baht and no medical condition. The study of media exposure behaviors on health product distribution on the internet resulted that most of people are exposed to the media every day, use smartphone and spend 30 minutes to 1 hour each time for media exposure or ordering products, choose a date based on the ease of exposure and the exposer period is from 18.01-00.00. It is also found that most of people recognize and purchase health products for themselves. The reason for media exposure or ordering product is that it is convenient to access information, ordering and shipping. The purpose of ordering health products is product trials, most of people order food supplements, ordering 1-2 pieces at a time and the average value is 1,300 Baht, destination payment, and satisfied with the product. The exposure to health product information on internet affects people, making purchases easier, more often, and more expenses. Problem of the exposure of health product information on the Internet is exaggeration of some products. The analysis of media literacy on health product distribution on the internet found that in the overall, media literacy of people is at a moderate level (x ̅= 3.26+0.74). A study of personal factors affecting media literacy, the results showed that sex and medical condition of people have no effect on media literacy (p=0.77 and 0.92, respectively) while age, education and monthly income of people have a statistically significant effect on media literacy (p=0.02, 0.00 and 0.02, respectively).
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1296
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover434.46 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract413.66 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent378.47 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1444.59 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2859.5 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3909.91 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4822.7 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5582.19 kBAdobe PDFView/Open
9.Bibliography.pdfBibliography584.79 kBAdobe PDFView/Open
10.Appendix.pdfAppendix389.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.