Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1324
Title: การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่กิจกรรมเสริมทักษะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Other Titles: Integrating Local Wisdom to Promote Extracurricular Activities with Community Participation
Authors: อินตา, อรทัย
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรมเสริมทักษะ
การมีส่วนร่วมของชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiangmai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รวบรวมนี้มาพัฒนาการพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หน่วยงานหลักที่มีส่วนร่วมได้แก่ ตัวแทนชาวบ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และสถานศึกษา ขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ดำเนินการ และติดตามและประเมิผล ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมด 9 ประเภท รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ตำบล 54 หมู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและพรรณนาความ ส่วนการพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาหลักสูตร มีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาหลักสูตรจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสัมภาษณ์ 2) ออกแบบและสร้างหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะศึกษานําร่องและระยะทดลองใช้หลักสูตร 4) ประเมินผลและการปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 โรงเรียนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ตำบลเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้ระยะเวลาทดลอง 10 วัน ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง ใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน และหลังการใช้หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า การรวบรวมภูมิปัญญาทั้ง 9 ประเภท ได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนแต่ละประเภทรวม 23 ชนิด แต่ละชนิดมีผู้ทรงความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผู้ให้ข้อมูลรายละเอียดภูมิปัญญา ได้ข้อมูลภูมิปัญญาครบถ้วนจึงทำการการบันทึกรายละเอียดของภูมิปัญญาและจัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอดอยหล่อในรูปแบบวีดีทัศน์เผยแพร่ผ่าน www.doilowis.cmru.ac.th ซึ่งการดำเนินการวิจัยนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับจัดกิจกรรมเสริมทักษะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X= 4.40, S.D. = 0.41) และผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่านักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาอาหารและขนมพื้นบ้าน ลงมือทำตามขั้นตอน สนุกสนานกับกิจกรรม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก
Description: The purpose of this research were to manage knowledge and local wisdom in Doi Lo district. Chiangmai Province and to develop a local wisdom curriculum for skill-based activities in primary schools in Doi Loi district, Chiang Mai province. Research on local knowledge management was a qualitative research. By using Participatory Action Research : PAR. There were 3 phases of implementation, monitoring and evaluation. Data analysis by content analysis and descriptive analysis The development of local wisdom curriculum was research and development for curriculum development. There were 3 steps 1) Study the basic information for curriculum development from teachers, students, parents and local wisdom by interviewing. The instrument was a semi structured interview. 3) Experimental program is divided into 2 phases: pilot study, trial run, and 4) evaluation and improvement of curriculum. In the pilot study, the curriculum was used with 47 grade 1-6 students at Ban Nong Ngao School, Yangkram sub-district, Doilo district to study the suitability of using the curriculum in a real situation. After that the curriculum was experimented with samples who were in grade 1-6 students at 4 schools, 4 sub-district, Doilo district,, Chiang Mai. The experiment took two hours daily for 10 days. Statistics used in data analyses were percentage, mean, S.D. and t-test for dependent samples. The results were as follows: Local wisdom represented 23 different species of 9 types of wisdom. Each type has the knowledge of local knowledge. Provides detailed information on wisdom. By recording the details of wisdom and the local wisdom database is located in Doi Lo. In the video format published through www.doilowis.cmru.ac.th. This research has been well cooperated with all related sectors. The quality of developed curriculum was highly suitable and having correspondence among curriculum component. And From the experimental used of the curriculum, it was found that students were highly interested in the subject and paid attention in learning. They could cook local food and sweet accordingly. They enjoyed learning the subject. The results of evaluation and curriculum improvement have shown that students’ learning achievement was higher after they were taught with the developed curriculum at a significance level of .05 Overall, satisfaction of students towards the curriculum was in the high level
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1324
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover129.58 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract381.77 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent383.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter1414.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter2848.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapt 3.pdfChapter3429.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter4770.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5539.21 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography401.43 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix379.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.