Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1343
Title: การปรับวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กับธุรกิจการท่องเที่ยว ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Adaptation of the Ethnic Culture Group with Business Tourism at Mae Ram Sub district, Mae Rim District, Chiang Mai
Authors: นิรุตร์, แก้วหล้า
Nitoot, Kawla
Keywords: การปรับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมดนตรี
ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา
การท่องเที่ยววัฒนธรรม
การส่งเสริมวัฒนธรรม
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง การปรับวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กับธุรกิจการท่องเที่ยว ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยประยุกต์ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผลกระทบของธุรกิจที่มีต่อวัฒนธรรมต่างๆ ในพื้นที่ศึกษา พบว่า ชุมชนบ้านโต้งหลวง มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขของการแสดงวิถีชิวิต หัตถกรรม ความเป็นอยู่ การแต่งกาย การขายของที่ระลึก การนับถือศาสนา ทั้งนี้ชุมชนบ้านโต้งหลวงจึงเป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อสนองต่อการท่องเที่ยว การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์บ้านโต้งหลวงยังต้องอาศัยการเดินทางไปยังถิ่นกำเนิดเพื่อประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง หมู่บ้านหนองหอยเก่า ยังดำรงอยู่ซึ่งวัฒนธรรมม้งอันดีงามเสมอมา ทั้งเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมต่างๆ เช่นการแต่งกายชุดม้ง การบรรเลงดนตรี การเล่นลูกช่วง ประเพณีปีใหม่ม้ง การแต่งงานแบบม้ง การร้องเพลงแบบม้ง อีกทั้งวัฒนธรรมการกินอาหารที่ยังคงอยู่สืบมาถึงปัจจุบัน การสืบทอดวัฒนธรรมของชาวม้งบ้านหนองหอยเก่านั้นเข้มแข็ง มีการส่งเสริมให้แต่งกายชุดม้งในวันสำคัญๆ ชาวม้งหนองหอยเก่าปรับตัวเองจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมเศรษฐกิจ มีการค้าขายของที่ระลึก การจัดแสดง การจัดให้นักท่องเที่ยวสัมผัสวิถีความเป็นวัฒนธรรมม้งผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ของม้ง อันเป็นจุดเด่นของพื้นที่ที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมม้งอีกทางหนึ่ง บ้านหนองหอยใหม่ มีประเพณีวัฒนธรรม และความเชื่อยังคงดำรงอยู่ โดยเฉพาะความเชื่อที่ฝังรากลึกยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่นประเพณีการเกิด การตาย การแต่งงาน งานปีใหม่ หรือการสู่ขวัญต่างๆ อีกทั้งยังมีผู้คนวัยกลางคนให้ความสนใจสืบทอดประเพณีดั้งเดิม ทั้งพิธีกรรม การแต่งกาย และดนตรี ทำให้เป็นการสะท้อนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านหนองหอยใหม่อย่างชัดเจน บ้านปางไฮ ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเช่นเดียวกับบ้านหนองหอยเก่า และหนองหอยใหม่ แต่เพียงนักดนตรีของหมู่บ้านมีจำนวนน้อยลงทั้งนี้เนื่องด้วยไม่มีผู้สืบทอดอย่างจริงจัง การนำดนตรีและการแสดงไปจัดแสดงให้กับรีสอร์ทใกล้หมู่บ้านยังทำให้เกิดรายได้ และยังเป็นการส่งเสริมหรือประชาสัมพันธ์เรื่องวัฒนธรรมที่ดีงามของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เป็นการแสดงอัตลักษณ์ ม้งอย่างชัดเจน องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี บทเพลง และ การแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงดำรงวัฒนธรรมดนตรีอยู่คือ 1. กลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านหนองหอยเก่า 2. กลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านหนองหอยใหม่ และ 3. กลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านปางไฮ ทั้งนี้มีเครื่องดนตรี เค่ง , ตร้าบล่าย, เพลงร้อง กื่อเชี้ย, เพลงร้องในงานขอสาวในพิธีแต่งงาน, เพลงสวดในพิธีศพ บทเพลงจากเครื่องดนตรีเค่งมีรูปแบบโครงสร้างที่ซับซ้อน ไม่มีจังหวะที่ตายตัว ช่วงเสียงของบทเพลงจากเครื่องดนตรีเค่งจากเสียงต่ำสุดโดยส่วนมากสูงกว่า 1 ช่วงเสียง มีระบบเสียงแบบ Pentatonic ที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีเค่งไม่มีรูปแบบจังหวะที่ชัดเจน กระสวนจังหวะมีทั้งการใช้โน้ตตัวดำ, ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว บทเพลงร้องของชาติพันธุ์ม้ง ไม่มีจังหวะตายตัว ช่วงเสียงของบทเพลงร้องจากเสียงต่ำสุดโดยส่วนมากสูงกว่า 1 ช่วงเสียง ระดับเสียงเมื่อจัดเรียงจากต่ำไปสูง พบว่าใช้ระบบเสียงแบบ Pentatonic บทเพลงร้องนั้นไม่มีรูปแบบจังหวะที่ชัดเจนผู้วิจัยจึงบันทึกโน้ตแบบไม่มีจังหวะ กระสวนจังหวะมีทั้งการใช้โน้ตตัวดำ, ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว แนวทางการประยุกต์วัฒนธรรมดนตรีและการแสดงเพื่อเข้าสู่การท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ศึกษา ควรมีการรื้อฟื้นความรู้ดนตรีโดยวิธีการต่างๆ เช่น การส่งเสริมกิจกรรมดนตรีแก่ชุมชน ชุมชนต้องส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน สร้างจิตสำนึกความเป็นชาติพันธุ์ม้ง ให้ชาวม้งตระหนักถึงวัฒนธรรมทุกด้าน การส่งเสริมดนตรีเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน โดยการสอดแทรกในสาระของหลักสูตรท้องถิ่น ผู้เรียนจะเข้าใจเกี่ยวกับเสียงดนตรี เสียงร้อง เครื่องดนตรี และบทบาทหน้าที่ รู้ถึงการเคลื่อนที่ขึ้น ลง ของทำนองเพลง องค์ประกอบของดนตรี ศัพท์สังคีตในบทเพลง การใช้สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อการส่งเสริมดนตรีท้องถิ่นในหลักสูตรดนตรีอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมที่ให้ผู้เรียน และผู้สนใจได้เห็นภาพที่ชัดเจน มีตัวอย่างเชิงประจักสามารถนำสื่อมาพัฒนาต่อยอดด้วยตนเองได้
Description: The study of adaptation of the ethnic culture group with business tourism at Mae Ram sub district, Mae Rim district, Chiang Mai province is an applied research, using qualitative research methodology. Data collection was carried out by interviewing, participatory observation, and impacts of business on cultures in study area. Research findings found that Baan Tong Luang community has cultural diversity. Local people live together under the conditions of living lifestyle, craft, living conditions, dress, souvenirs selling, and religious belief. Adaptation of culture of this community occurs according to response tourism. Ethnic groups of Baan Tong Luang still have to go back to their birth origins where they can practice their ethnical cultural activities. Baan Nong Hoi Kao, people of this community still have their Hmong lifestyles which are culturally inherited includes Hmong dressing, musical playing, Luk Chuang playing, Hmong new year tradition, Hmong marriage, Hmong singing, and eating tradition. This cultural inheritance of Baan Nong Hoi Kao is very intensive, with the promotion of wearing Hmong dress during important dates. Villagers of Baan Nong Hoi Kao have adapted from agricultural-based society to economic-based society. Selling gifts, performance, arranging tourisms to experience Hmong culture through using appliances, which are highlight of promoting Hmong culture. Baan Nong Hoi Mai still has its traditions, culture and belief, especially ancient cultures such as giving birth, death, marriage, New Year or welcoming back tradition. Further, there are middle-age people who are still interested and inheriting these traditions, rites, dressing and music, which could reflect a clear Hmong identity. Baan Pang Hai still keeps traditional culture similarly to Baan Nong Hoi Kao and Baan Nong Hoi Mai. However, numbers of musicians of this community has decreased as a result of lacking of inheritance. Providing music and performance for report nearby village creates incomes and promoting beautiful Hmong culture and identity. Study of knowledge about musical instruments, songs, and performance of ethnic groups found that there are ethnics group which has their music culture which are 1. Hmong ethnics Baan Nong Hoi Kao 2. Hmong ethnics Baan Nong Hoi Mai and 3. Hmong ethnics Baan Pan Hai. Moreover, there are music instruments such as Keng, Trablai, singing song, Keu Chia, singing song for asking marriage, funeral hymn, lyrics from Keng music instrument with complicated structure, non-rigid rhythms, and audio range of Keng’s song has minimum sound with one higher range. The sound system of Pentatonic, with unclear pattern of rhythms. Rhythm pattern has both a crotchet and two quavers. The application for music culture and performance for introducing ethnic’s tourism in studied area should restore music knowledge by different methods such as promoting music activities for community. The community should promote, support, and raise awareness of Hmong ethnics, in order to allow them to raise their awareness in all cultures. The promotion of music into online learning and teaching at the school level, with inserting local curriculum. Learners will understand about sound of music, singing sound, music instruments, and roles and functions. Further, learning to move up and down of the melody, composition of music, music vocabulary of lyrics, using media for learning and studying about ethnic music in order to promote local music in music curriculum. Thus, this is a way to promote learners and people who are interested to have clear examples with empirical evidence to further develop the media by themselves.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1343
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover673.29 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract817.37 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent1.06 MBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1661.23 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-21.27 MBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3647.74 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-411.84 MBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5651.51 kBAdobe PDFView/Open
9.Bibliography.pdfBibliography465.71 kBAdobe PDFView/Open
10.Appendix.pdfAppendix4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.