Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1356
Title: วัฒนธรรมและกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Culture and Law of the Ethnic Groups, Samoeng Tai Subdistrict, Samoeng District Chiang Mai Province
Authors: จันทะวงศ์, พรสวรรค์
Jantawong, Pornsawan
Keywords: วัฒนธรรมและกฎหมาย
กลุ่มชาติพันธุ์
อำเภอสะเมิง
Issue Date: 2561
Publisher: Chiangmai Rajabhat University
Abstract: งานวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมและกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิจัยทางด้านมานุษยวิทยา (Anthropology) โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษามิติทางสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการคงอยู่ทางวัฒนธรรมความเชื่อพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง 3) เพื่อศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง ตำบลสะเมิงใต้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสนทนากลุ่ม ทั้งนี้จะเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ที่ 1. เพื่อศึกษามิติทางสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ตำบลสะเมิงใต้ พบว่ามิติวัฒนธรรมประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สถาบันสังคม 2) วัฒนธรรมและกฎหมาย 3) ศาสนา 4) ความเชื่อทางสังคมและพิธีกรรม 5) ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ วัตถุประสงค์ที่ 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการคงอยู่ทางวัฒนธรรมความเชื่อพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง พบว่า ชาวกะเหรี่ยงยังคงรักษาความเชื่อและพิธีกรรมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น สาเหตุที่ทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมสูญหายคือ การศึกษา การทำงานและการนับถือศาสนาคริสต์สอนให้กะเหรี่ยงเลิกนับถือผีส่งผลให้ยกเลิกพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติตามไปด้วย วัตถุประสงค์ที่ 3. เพื่อศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยงไม่ได้ผล เพราะว่า ชาวกะเหรี่ยงไม่รู้กฎหมายและไม่เชื่อใจข้าราชการ จึงไม่ยอมรับผลการบังคับใช้กฎหมาย ข้อเสนอแนะ คือ ชาวกะเหรี่ยงต้องเรียนรู้กฎหมายและต้องสร้างความเข้าใจกับกะเหรี่ยง
Description: The research title of Culture and Law of the Ethic Group, Samoeng Tai Sub-district, Samoeng District, Chaing Mai Province, is a qualitative research, using anthropological research methodology. This research aims 1) to study Culture Social of Tai Lue and Karen, and 2) to study changes and reservation of belief and ritual of Karen. 3) to study Law Enforcement with Karen Research data were obtained by documents and interviews, they were presented as descriptive data. Research findings of the 1st aim found that culture Social of the Ethic Group comprised of 5 Factors 1) Social Institutes, 2) Law and Culture 3) Religion 4) social belief and ritual 5) Traditional of the Ethic Group. These beliefs are still with Karen's living, which they strongly belief in spirit. Research findings of the 2nd objective found that Karen who have changed their spiritual belief to religion such as Buddhism and Christianity, have abolished some rituals due to the conflicts between rituals and religious teachings, other factors such as education and work also may cause these disappeared changes. Research findings of the 3rd objective found that the Law Enforcements of the Ethic Group, does not work, Because of Karen ignorance in Law and do not trust the official. The suggestion is to learn the law and to understand the problem of Karen.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1356
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover338.27 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract380.01 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent560.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1635.64 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2712.72 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3609.28 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4420.01 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5554.04 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography571.39 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix381.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.