Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1370
Title: การวจิยัและพฒันาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
Authors: วีระศักดิ์, สมยานะ
Keywords: การวจิยัและพฒันาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์
เพื่อการแข่งขันใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งหมด 32 ตำบล และคัดกรองให้เหลือเพียง 17 ตำบล 20 ชุมชน ที่มีศักยภาพที่สามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้ อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการพัฒนาของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยังมีการใช้กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน เพื่อให้ได้องค์ความรู้ของกลุ่มเกษตรกรชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดผลของการนำไปใช้ต่อไป ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่มีจุดแข็ง คือ กลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่มมีองค์ความรู้ด้านการทำเกษตรจากปราชญ์เกษตรกรชุมชน นักวิจัยจึงได้ถอดบทเรียนโดยการจัดการความรู้ ได้ 6 ด้าน ได้แก่ (1) องค์ความรู้ในการจัดการปัจจัยการผลิต (2) องค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (3) องค์ความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าปลอดภัย (4) องค์ความรู้ในการจัดการตลาด (5) องค์ความรู้ในการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อต่อยอดมูลค่า และ (6) องค์ความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน (GAP) นอกจากนี้การวิเคราะห์ศักยภาพยังพบจุดอ่อนของเกษตรกรนักวิจัยจึงได้เพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรผ่านกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม คือ 1) “การพัฒนาแนวปฏิบัติมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย” 2) “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการพัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตร” และ 3) “การพัฒนาแนวทาง การประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชน” สามารถเพิ่มศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.63 ได้ผลลัพธ์ของการพัฒนา 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชน และด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.91 ด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชน สู่ระบบอาหารปลอดภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 ด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตร ด้วยปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 ด้านการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ ด้านการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.45 สุดท้ายคือ ด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชน อย่างสร้างสรรค์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64 แสดงให้เห็นว่าการวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรให้สามารถเข้าแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
Description: This research aims to study and develop the potentiality of Chiang Mai agricultural communities to compete in ASEAN economic community’s competition base on sufficiency economy philosophy. Sample was the groups of agriculturists in Chiang Mai whose potentialities can compete in ASEAN economic community. 20 groups of agriculturists from 17 districts in Chiang Mai were interested and willing to attend in the project. Participatory action research (PAR), SWOT analysis and evaluation the achievement of the potentiality in production from 6 dimensions of Diamond Model belongs to Michael E. Porter were used in this study. Descriptive statistic such as percentage was used to discuss the result of this study. The study found that the strength of groups of agriculturists were that their products have good quality and have market support. The weakness was that they lack abilities to produce good quality products sufficiently in each production cycle. The opportunity was that a lot of organizations supported and assisted them both knowledge and budgets. They however confronted high competitions of agricultural products in the market both price and quantity. As a result, guidelines to develop these groups are as follow; increase the efficiency of the production by using of the resource efficiently according to sufficiency economy (88.87 % of increase) and after that agriculturists set the purpose to develop their potentiality by setting strategy related to structure and competition to ASEAN. Knowledge management from local wisdom was used to extend the value added and be used for commercial benefit (55.56%) In order to access the market., It should develop by making the integration with the government (44.44%) and develop their potentiality to access to industry and also promote as well as supports the agricultural community to compete in ASEAN (22.22%). This research project could enhance the potentiality of the groups of agriculturists as follow; developed the marketing of community’s agricultural products and the inspection as well as developed the standard of agricultural products (10.91% of increase); developed the agricultural products to be safety food (9.09% of increase); developed the groups of agricultural business base on sufficiency economy (7.27% of increase); promoted the production of organic agricultural products and extended the agriculture of communities to commercial and public benefits (5.45% of increase) including developed agricultural economy of communities (3.64% of increase). The next phase of study should develop the economy of agricultural community increasingly so that it can help to solve the agriculturists’ problems and be able to compete in ASEAN community . Keywords: Potentiality of agricultural community, ASEAN Economic Community, Sufficiency Economy Philosophy
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1370
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdf489.54 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf367.78 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdf613.8 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf660.87 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf680.26 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 7.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdf565.11 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.