กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1372
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ การปรับปรุงสภาพการทำงานของแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มแรงงานนอกระบบ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Occupational health risk assessment and improving work condition of the elderly workers in informal sector, Muangkaen Pattana Municipality, Mae Taeng District Chiangmai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิวลี, รัตนปัญญา
คำสำคัญ: Health risk assessment
Elderly workers
Informal sector
Work Improvement for Safe Home
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานของแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มแรงงานนอกระบบ และทำการปรับปรุงสภาพในการทำงานในแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มแรงงานนอกระบบ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานของแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มแรงงานนอกระบบจำนวน 100 คน จากนั้นคัดเลือกกลุ่มแรงงานที่สมัครใจและมีความพร้อมเพื่อทำการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการประเมินความเสี่ยงของสิ่งแวดล้อมในการทำงานโดยอาศัยเทคนิคการสำรวจความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้ทำงานที่บ้าน 3 กลุ่ม อันได้แก่ 1) กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้า จำนวน 8 คน 2) กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มทำกล้วยทอดกรอบ จำนวน 9 คน และ 3) กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุกลุ่มทำโรงศพ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยการให้ความหมาย ตีความ และการบรรยายความ ผลการวิจัย พบว่าแรงงานผู้สูงอายุในการศึกษาครั้งนี้ยังคิดว่าตนเองมีความสามารถในการทำงานได้อยู่ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62) คิดว่าความสามารถในการทำงานของตนเองในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในการทำงานที่ดีที่สุดที่ผ่านมาอยู่ในระดับ 7 คะแนน (เต็ม 10 คะแนน) ถึงแม้ว่าความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้กำลังกายและความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้กำลังความคิดอาจจะลดลงอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามแรงงานผู้สูงอายุยังมีความสุขกับการทำงาน และตื่นเต้นกับงานและชีวิตในระดับค่อนข้างมาก จากการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยตนเอง ส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาสุขภาพในการทำงานเกิดจากสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม คือ ปัญหาการบาดเจ็บของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ การสัมผัสปัจจัยทางเคมี เช่น การระคายเคืองผิวหนังและจมูกจากการสัมผัสสารเคมี ปัญหาสัมผัสฝุ่นจากไม้ (ขี้เลื่อย) อยู่ตลอดเวลา และอุบัติเหตุจากการทำงานเล็กน้อย ดังนั้นการปรับปรุงสภาพการทำงานที่สำคัญ คือ การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีในครัวเรือนในการปรับระดับสภาพงานให้เหมาะสมกับสรีระของผู้สูงอายุ และการสวมใส่เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นการใช้ความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการปกป้องตนเอง ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจสามารถควบคุมความเป็นอยู่หรือวิถีชีวิตของตนเองได้ ผลสำเร็จที่ได้ควรนำไปขยายผลการดำเนินงานยังกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มอื่นต่อไป
รายละเอียด: This study is a mixed method research. The aim is to study the working abilities and improve working conditions of elderly workers in the informal sector in Muangkaen Pattana Municipality, Mae Taeng District Chiangmai Province. The Quantitative research of workforce index (WAI) data was collected from 100 informal elderly workers. The 3 groups of voluntary informal elderly workers then be selected and prepared for qualitative research to assess the risk of work environment by using Work Improvement for Workers Safe Home (WISH), which are 1) 8 elder workers of grass brooms, 2) 9 elder workers of banana fried, and 12 elder workers of coffin. The data presented by using content analysis and narrative. The results of the study show that older workers in this study still think that they are capable of working (62%) and current ability to work compare with the best possible in the past was 7-point scale (10 points). Although the ability of physical strength and ability to perform tasks that require energy may be reduced, the older workers are still enjoy working, exciting to work and enjoy of life. In Part of participatory action research was to improve the working environmental. Most of them mention that health problems in work are caused by improper working conditions, such as injuries to skeletal system muscles. exposure to chemical factors that cause of skin and nose irritation, exposure to wood dust and minor accidents. Therefore, the improvement of working conditions is the application of household equipment to adjust the working conditions to suit the physical of the elderly and adapt to personal protective equipment to use the resources available to protect themselves. Its result is to build up self confidence and empowerments protect themselves from work hazards. So, the results should be extended to perform in other non-informal workers.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1372
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover499.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract407.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent393.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdfChapter 1492.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdfChapter 2560.01 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdfChapter 3555.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdfChapter 41.76 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdfChapter 5553.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography544.08 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix513.79 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น