Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1407
Title: การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตร ของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Authors: ณกานต์, อนุกูลวรรธกะ
Keywords: การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตร
ของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 ตำบล 2 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชมคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติ เชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 2 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ สินค้าเกษตรมีการรับรองมาตรฐาน มีคุณภาพ และความปลอดภัยสูง กลุ่มเกษตรกรมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาด การแปรรูปสินค้าเกษตร ประชาสัมพันธ์ และการจัดการบัญชี อีกทั้งการตลาดสินค้าของกลุ่ม มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการของกลุ่ม แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ กลุ่มเกษตรกรยังไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตสินค้าในแต่ละรอบการผลิตได้ และสินค้าของกลุ่มมีข้อจำกัด ในความหลากหลายของตัวสินค้า ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ มีตลาดรองรับในการจัดส่งสินค้าเกษตรของกลุ่ม และกลุ่มมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนอุปสรรคที่สำคัญคือ การตลาดมีการแข่งขันกันในพื้นที่สูง จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้าง แนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งหมด 7 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ควรมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ และมีการวางแผนขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าเกษตรของตนให้มีมูลค่าเพิ่ม มีความแปลกใหม่ ทันต่อยุคสมัย ที่เปลี่ยนไป และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ทั้งนี้ผู้นำชุมชนหรือผู้นำเกษตรกร ควรมี ความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ควรมีการหาความรู้เพิ่มเติมแก่ตนเองอย่างสม่ำเสมอ และเปิดใจเข้าร่วมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจของชุมชนที่มาจากองค์ความรู้ที่มีการต่อยอดจากฐานการวิจัยต่าง ๆ การค้นหาข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ และเกษตรกรควรมีกระบวนการจัดการความรู้ ทั้งในด้านการจัดเก็บ ต่อยอด และถ่ายทอด องค์ความรู้และภูมิปัญญา นอกจากนี้ควรมีการสร้างผู้สืบทอดเป็นบุคลากรรุ่นใหม่ ที่มีความพร้อมริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มและตลาดที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น (ร้อยละ 16.67) รองลงมา คือ การเน้น กระบวนการและวิธีการมอง “ทุนจากภายใน” ชุมชนและท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วเพื่อนำมาต่อยอดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็น “อัตลักษณ์” ของชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับชุมชน (กลุ่มเกษตรกร) (ร้อยละ 8.33) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการ การทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study and develop the potentiality of the system of agricultural economic of communities in Chiang Mai to compete in ASEAN. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from the primary data of 2 groups of agriculturists whom were willing to attend the project. Participatory action research, SWOT analysis and Michael E Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics including 6 dimensions were also used to evaluate the achievement of development in this study. The study found that the strengths of these 2 groups were that their products had been accredited with good quality and high safety. They are specialized in production, marketing, agricultural product, processing, public relations and accounting. In addition, they used technology to manage their work. Their weaknesses were that they can not control the quantity of production in each production cycle. Products have no varieties. They ,however, had market support and other organizations gave support them in knowledge. Their threats were that marketing has a high competition. As a result, 7 items of guidelines were created to develop the system of agricultural economic of these 2 groups . The most importance was that Chiang Mai agricultural groups should develop the system of agricultural economic creatively and have plan to develop agricultural products to be new and innovative. Leaders of communities should intend and have vision to develop the economic. They should seek for additional knowledge continuously by taking course to develop themselves. They should develop their economic community by extending the knowledge from the research, search for basic information of consumers. They also should have knowledge management in keeping, extending and transferring knowledge. They should have young creative generations who are willing to develop the agricultural products (16.67%). Next, they should emphasize in extending their internal capital to be value added. This will be the identity of communities and can develop economic in communities (8.33%) The next phase should study the impact of ASEAN toward agriculturist ‘ groups concerning agricultural economic system of 207 communities in Chiang Mai . Then it should select potential agricultural communities to be the delegates and make a plan to develop the agricultural economic system of Chiang Mai communities to compete in ASEAN. They shoud integrate to work with other communities and make plan to develop the agricutlural economic system with other communities in 9 countris of ASEAN so that it can help to develop the agricultural products sustainably.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1407
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1 Cover.pdf168.57 kBAdobe PDFView/Open
2 Abstract.pdf408.62 kBAdobe PDFView/Open
3 Content.pdf598.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf568 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf973.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf583.44 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf634.99 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf746.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdf682.53 kBAdobe PDFView/Open
4 Bibliography.pdf640.3 kBAdobe PDFView/Open
5 Appendix.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.