Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1965
Title: การประเมินสิ่งคุกคามทางสุขภาพกับปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายของผู้สูงอายุในชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: An Assessment Health Hazards and Occupational HealthWorkers at Saluang-Keelek Community, Maerim district, Chiangmai province.
Authors: จันจิราภรณ์, จันต๊ะ
Keywords: สิ่งคุกคามทางสุขภาพ
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
แรงงานผู้สูงอายุ
health hazards
Occupational Health and Safety
Elderly Workers
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสถานการณ์ปัญหาสุขภาพ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และประเมินหาสิ่งคุกคามทางสุขภาพกับปัญหาอาชีวอนามัยของผู้สูงอายุในชุมชนสะลวง - ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแรงงานผู้สูงอายุ จำนวน 323 คน และมีบทบาทในการส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชนและตัวแทนสมาชิกกลุ่มอาชีพต่างๆ จำนวน 15 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และใช้กระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการหากระบวนทัศน์ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เปรียบเทียบความต่างของข้อมูลและตีความในประเด็นที่ค้นพบเพื่อตรวจสอบยืนยันความตรงของผลการศึกษา ผลการศึกษา พบว่า แรงงานผู้สูงอายุอยู่ในสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.72 เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่าประเด็นที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ แรงงานผู้สูงอายุต้องทำงานกับอุปกรณ์ / เครื่องมือที่มีความแหลมคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.28 รองลงมาคือแรงงานผู้สูงอายุต้องทำงานกลางแจ้ง/มีเสียงดัง/แสงสว่างไม่เพียงพอ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 สำหรับพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยของแรงงานผู้สูงอายุโดยรวม พบว่า มีความเสี่ยงระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.70 และเมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่าประเด็นที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ แรงงานผู้สูงอายุไม่ชอบใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ หน้ากาก รองเท้าบู๊ต เพราะไม่สะดวกต่อการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.79 และในภาพรวมจากการประเมินสิ่งคุกคามทั้ง 5 ด้าน พบว่ามีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางและระดับต่ำ พบความเสี่ยงในระดับปานกลางอยู่ 2 ประเด็น คือ สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.04 และสิ่งคุกคามทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.81 และพบปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในประเด็นภาวะสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามทางกายภาพของแรงงานผู้สูงอายุ พบว่า อาการที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เหนื่อย อ่อนเพลีย เสียเหงื่อ ร้อยละ 79.88 แสบตา ระคายเคืองตา ร้อยละ 74.92 และมองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว ร้อยละ 62.23 ตามลำดับ และภาวะสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ของแรงงานผู้สูงอายุ พบว่า อาการที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปวดไหล่ ร้อยละ 75.85 ปวดน่อง/เข่า ร้อยละ 72.45 และปวดหลังส่วนล่าง/เอว ร้อยละ 70.59 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากกการสัมผัสสิ่งคุกคามทางกายภาพและการยศาสตร์ พบว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยสัมผัสสิ่งคุกคามทางกายภาพของแรงงานผู้สูงอายุที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ ลื่น/หกล้มจากการมองเห็นไม่ชัด/สลัวในสถานที่ทำงาน ร้อยละ 52.44 สิ่งของตก/หล่น จากแรงสั่นสะเทือนในสถานที่การทำงาน ร้อยละ 26.02 และไฟลวก/น้ำร้อนลวก ร้อยละ 10.16 ตามลำดับ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยสัมผัสสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ของแรงงานผู้สูงอายุที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ การทำงานท่าทางซ้ำ ๆ เดิม ๆ จนทำให้การเคลื่อนไหวข้อต่อเคล็ด/ขัดยอก ร้อยละ 69.51 การเคลื่อนไหวผิดท่าทาง ทำให้เกิดการเคล็ด/ขัดยอก ร้อยละ 49.59 และนั่งหรือยืนทำงานนานจนกระดูกและกล้ามเนื้อล้าจนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 13.41 ตามลำดับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มของผู้มีส่วนได้เสีย ได้ผลสรุปแนวทางการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงานผู้สูงอายุ ดังนี้ คือ 1) กำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ในการคุ้มครองดูแลสุขภาพของแรงงานผู้สูงอายุ 2) สร้างฐานข้อมูลเฉพาะด้านโรคจากการทำงานหรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน 3) จัดเวทีสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งคุกคามทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงานของแรงงานผู้สูงอายุ 4) จัดกระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นเกี่ยวกับการประเมินสิ่งคุกคามทางสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง 5) เพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการหรือผู้นำกลุ่มอาชีพต่างๆในการดูแลปัญหาความเสี่ยงของแรงงานผู้สูงอายุในด้านสิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์และและด้านกายภาพ 6) กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน 7) สร้างนโยบายส่งเสริมให้แรงงานผู้สูงอายุอายุยืนด้วยการจัดสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน (Healthy workplace)
Description: The purpose of this research was to study health problems. Environment and Safety. And assess the health threats and occupational health problems of the elderly in Saluang-Khi Lek community, Mae Rim District, Chiang Mai Province. As well as develop policy recommendations for guidelines for solving occupational health and safety problems for the elderly in the community. The samples used in this study Were 323 elderly workers. And has roles in promoting occupations in the community and representing representatives of various career groups, amount 15. Data were collected by using questionnaires. And semi-structural in-depth interview and use the process of the workshop for stakeholder groups. Analyze quantitative data using descriptive statistics, mean, standard deviation. And analyze the qualitative data by finding the paradigm. Content analysis Compare data differences and interpret the issues found to confirm the validity of the study results. The results of the study show that the elderly workers are in an environment and work safety at moderate risk. The average value is 1.72 and considering each issue, the highest risk issue is Elderly workers must work with sharp tools / tools. With an average of 2.28 Next is the elderly workers must work outdoors / noisy / insufficient lighting the average value is 2.24, And for unsafe behavior of workers, the elderly found that the overall risk is moderate. Have an average of 1.70 and Considering each item, it is found that the most of risky issues are Elderly workers do not like to use protective. equipment such as gloves, masks, boots because they are not easy to work with. With an average of 1.79 And overall, from all 5 aspects of the threat assessment, the risk is at moderate and low levels There are 2 medium-level risks found, which are ergonomic threats. Have an average of 2.04 and a physical threat with an average of 1.81 and found occupational health and safety problems. Regarding health conditions from physical contact of the elderly workers, the three most common symptoms are tiredness, fatigue, sweat, 79.88%, eye irritation, 74.92% and blurred vision, blurred vision. 62.23 respectively. And health conditions from the exposure to the ergonomic threat of the elderly workers, it was found that the three most common symptoms were shoulder pain, 75.85%, calf / knee pain 72.45% and lower back / waist pain 70.59% respectively. And when considering the accident factors that are caused by exposure to physical threats and ergonomics, it is found that accidents caused by work by touching the threats Physical labor, the elderly, the most common first 3 slip / fall of blurry vision / dim objects in the workplace 52.44 percent fall / drop. From vibration in the workplace, 26.02% and scald / scald 10.16% respectively. Accidents that occur from work by touching the threat to ergonomics of the elderly workers, the top 3 most found are repetitive posture that causes movement, joints / sprains, 69.51 percent. Causing sprains / sprains 49.59% and sitting or standing working for a long time until the bones and muscles become tired, resulting in an accident of 13.41% respectively. Which is consistent with the results of the qualitative data study and workshops for stakeholder groups. The results of the guidelines for the development of policy recommendations for solving occupational health and safety problems for the elderly workers are as follows: 1) Establish policies and plans of government agencies in the area for health care protection of the elderly workers. 2) Create a database of work-related or occupational disease-specific databases. 3) Establish a forum for participation in solving health threats occurring in the workplace of the elderly workers. 4) Organize a process to learn new skills necessary for self-assessment of health threats from work. 5) Increasing incentives for entrepreneurs or leaders of various occupational groups to take care of the risks of the elderly labor in terms of threats to ergonomics and physical. 6) Stimulate cooperation among government agencies Educational institution and private companies. 7) Establish policies to promote elderly workers' longevity by organizing healthy workplaces.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1965
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)462.95 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)380.47 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)1.11 MBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)406.15 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)851.03 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)492.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)1.87 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)475.66 kBAdobe PDFView/Open
Biobliograpsy.pdfBibliography(บรรณานุกรม)379.82 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.