Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1976
Title: การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Knowledge Development in Accounting by Applying the Sufficiency Economy Concept of the Sufficiency Economy Group at Tambon Cho lae, Mae-Taeng District, Chiang Mai Province.
Authors: กิรณา, ยี่สุ่นแซม
Keywords: บัญชีธุรกิจชุมชน
บัญชีครัวเรือน
เศรษฐกิจพอเพียง
สภาพคล่องทางการเงิน
การออม
Community Business Accounting
Household Accounting
Sufficiency Economy
Liquidity
Saving
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทของการทำเป็นกิจกรรมของกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบบัญชีการเงินที่เหมาะสมของกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อส่งเสริมระบบบัญชีและการเงินในระดับครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับระบบบัญชี การจัดทำบัญชี การปฏิบัติทางบัญชี แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม รวมถึงแนวคิดกระบวนการกลุ่ม มาใช้ในแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบบัญชีการเงินกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง พร้อมทั้งใช้แนวคิดการจัดทำบัญชีครัวเรือนมาส่งเสริมทำให้ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ส่งผลให้ระดับครัวเรือน มีการวางแผน การจัดการด้านการเงินได้อย่างเป็นระบบ และมีฐานะการเงินที่ดีขึ้น ข้อมูลในการศึกษาได้จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การถามด้วยแบบสอบถาม และการบันทึกภาพ ตลอดจนการจัดกิจกรรมกลุ่ม โดยมีสมาชิกกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 60 คน เป็นผู้ร่วมกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและให้ข้อมูลตามสภาพการณ์ของชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีการกำหนดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักโดยให้สมาชิกกลุ่มฯ มีส่วนร่วมให้มากที่สุดในการพัฒนาระบบบัญชีที่สอดคล้องกับชุมชน ซึ่งจะทำให้สมาชิกกลุ่มฯ เกิดรู้สึกความเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีที่ตนเองได้พัฒนาร่วมกันขึ้นมา ผลการศึกษาดังนี้ จากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการณ์ กลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ทางกลุ่มฯ มีปัญหาหลายด้าน ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีความสำคัญต่อการพัฒนากลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง โดยเฉพาะปัญหาด้านบัญชีและการเงิน เนื่องจากยังไม่มีการจัดทำระบบบัญชีที่เหมาะสม ไม่สามารถคำนวณกำไรขาดทุน และสรุปผลการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และจากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่มฯ จึงได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาทางการบัญชี โดยเริ่มจากผู้วิจัยดำเนินการออกแบบระบบบัญชีที่เหมาะสมกับผู้ทำบัญชีกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย สมุดบัญชีขั้นต้น สมุดบัญชีแยกประเภท และแบบฟอร์มงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อใช้ในประเมินผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง และได้จัดอบรมให้ความรู้ด้านบัญชีให้แก่สมาชิมกลุ่ม จำนวน 60 คน เกี่ยวกับระบบบัญชี ได้แก่ ความหมายของการบัญชี การรับรู้รายการรายได้และรายจ่าย การบันทึกบัญชี การจัดทำงบการเงิน และประโยชน์ของการจัดทำบัญชี เพื่อให้สมาชิกกลุ่มได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำบัญชี โดยได้มีการประเมินผลก่อนและหลังการอบรมโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งจาก การประเมินความรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมให้ความรู้ ซึ่งการประเมินความรู้ก่อนการอบรม ค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจ เท่ากับ 29.27 และการประเมินความรู้หลังการอบรม ค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจ เท่ากับ 43.43 ดังนั้นสรุปได้ว่า ผู้เข้าอบรมมีค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจทางด้านบัญชีและการเงินเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับ 14.16 และจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการสอนและฝึกปฏิบัติจริงเป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับผู้ทำบัญชีกลุ่มและผู้ทำบัญชีครัวเรือน โดยได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีและการจัดทำงบการเงิน จำนวน 3 ครั้ง เพื่อประเมินระดับคะแนนความถูกต้องครบถ้วนของการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจากการประเมิน พบว่า ผู้ทำบัญชีสามารถบันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงินได้อย่างถูกต้อง โดยมีระดับคะแนนเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ เมื่อกลุ่มฯ สามารถสรุปผลการดำเนินงานที่ชัดเจน และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลทางบัญชี จึงได้มีการจัดหมวดหมู่ลำดับความสำคัญของรายรับรายจ่าย ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องของความพอประมาณและความมีเหตุผล ในการพิจารณาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถประมาณตนให้อยู่ในขอบเขตของความพอดี โดยไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น และความมีเหตุผล ในการตัดสินใจดำเนินธุรกรรมโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และผลที่คาดว่าจะได้รับอย่างรอบคอบ หากกลุ่มจัดให้มีการบันทึกบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง สถานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียงก็จะมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน สำหรับสมาชิกกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนมีอัตราการออมเงินเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 21.66 ซึ่งเป็นผลมาจากผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนมีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านการเงินในระดับครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น อันได้แก่ สามารถใช้วางแผนการเงินของครัวเรือน โดยเริ่มจากการจัดหมวดหมู่ลำดับความสำคัญของรายจ่าย การบริหารจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ครัวเรือนมีสภาพคล่องทางการเงิน และมีอัตราการออมที่เพิ่มขึ้น
Description: This study has 3 objectives which are 1) to study the context of activities of sufficiency economy concept of the sufficiency economy group, Cho Lae Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province 2) To solve problems and develop an appropriate financial accounting system for sufficiency economy concept of the sufficiency economy group, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, and 3) To promote the accounting and financial systems at the household level of members of the sufficiency economy concept of the sufficiency economy group, Mae Taeng district of Chiang Mai. Researchers have used the concepts of accounting. Accounting Practice Account The concept of cost accounting Sufficiency Economy Theory And the concept of participation. The concept of group process Used to resolve problems and develop financial solidarity Agro-sufficient. The concept of accountancy encourage households to make household members of agricultural groups unite suffice. As a result, household finances are planned to manage the system. The financial position improved. The data in the study are obtained from primary sources, such as observation. In-depth interviews Questionnaire And recording As well as organizing group activities There are 60 members of the sufficiency economy concept of the sufficiency economy group, Cho Lae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, who involved in the participatory process and information providing based on the community context. The results of the study are as follows From the study and analysis of the sufficiency economy concept of the sufficiency economy group, Cho Lae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province Which found that the group There are many problems. This problem is important for the development of the Sufficiency Economy Agriculture Group. Especially the group's accounting and finance issues As there has not been a suitable accounting system yet Makes the calculation of profit and loss incorrect Unable to summarize operating results Or the financial status of the group. And from the analysis of problems between the researchers and group members Therefore has established guidelines for solving accounting problems Beginning with the researcher designing the accounting system that is appropriate for the group accountant. contain with Basic book Ledger book And the income statement form And statements of financial position To be used in evaluating the operations and financial status of the sufficiency economy group. Besides, the training workshop about the accounting system is provided for the 60 group members. The basic knowledge about the accounting system embraces the definition of accounting, the recognition of revenues and expenses, the financial statements, and benefits of accounting. The training aims to provide the groups with the importance of accounting by having pre-test and post-test questionnaires. The data of understanding accounting from pre-test was at 29.27 where the post-test was at 43.43 This means that the research participants had a better understanding and knowledge about accounting with the increased scores at 14.16 and provide a workshop Which is a 3 month teaching and practice for group accountants and household accountants. By examining the accuracy of accounting records and financial statements for 3 times in order to assess the level of accuracy and completeness of the actual practice. From the evaluation, it was found that bookkeepers were able to record and prepare accurate financial statements. With a score increase of 90 percent. In addition, when the group is able to clearly summarize operating results And aware of the importance of accounting data Therefore categorized the importance of income and expenditure In accordance with the sufficiency economy concepts in matters of moderation and reasoning In considering the relevant factors can be estimated to be within the scope of fit by not spending excessively extravagant and reasoning When making a transaction decision based on the relevant factors And the expected results carefully If the group continuously provides accounting records under the correct criteria The economic status of Sufficiency Economy will be stable and sustainable. For members of the sufficiency economy group household account holders have 21.66% increase in savings rates. This is a result of household accountants having more knowledge in financial management at the household level, household By beginning with the classification of expenses priorities Effective debt management Resulting in households having financial liquidity And have a higher saving rate.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1976
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)520.28 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)413.04 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)409.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)411.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)561.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)438.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)1.21 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)499.44 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)398.04 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.