กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2198
ชื่อเรื่อง: การออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : หมู่บ้านอินทขิล ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Living museum design Guidance for Cultural Tourism: Intakhil Village, Mae Taeng, Chiang Mai.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รักพันธุ์, กอบชัย
Rakpan, Kobchai
คำสำคัญ: พิพิธภัณฑ์มีชีวิต Living museum
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Cultural Tourism
หมู่บ้านอินทขิล แม่แตง เชียงใหม่ Intakhil Village, Mae Taeng, Chiang Mai
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: Inthakhil village is more than 700 years of history with ceramic kilns wisdom. The community's lack of understanding of museum management as a result, the wisdom and cultural heritage have been forgotten and near lost. This research is interested in a way to restoring the community’s wisdoms to making living museum. To create a quality source of knowledge, promote tourism economy and serve as a model for other communities. The research study uses a multi-theoretical framework of the concept of environment and determine the local identity. Use the environment design conceptual framework to propose a design approach to promote the local identity. Use the community tourism and conservation conceptual framework to find ways to promote eco-tourism. And use the concept of living museum management method. By used qualitative surveys, participatory observation and in-depth interviews with local focused groups. The results of the study found that the community identity 5 elements There are 1) The terrain is floodplain, 2) The evolution of the community history 3) The ornaments of the rural Lanna village, 4) The way of life and culture. Discussion of the research found to making Living museum has 4 steps: 1) Collection of historical data to connect with community potential areas, 2) Disseminate potential area identities for community review, 3) Designing community exhibition by participation 4) The activities in the area 5) Evaluation and conclusion of the project. Which should emphasize participation, should not add, change, or create new because that will unsustainable and difficult to carry. Making pride in the community identity lead to the sustainability way of living museum.
รายละเอียด: ชุมชนหมู่บ้านอินทขิล เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี มีภูมิปัญญาเชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับเตาเผาเซรามิกโบราณเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ความไม่เข้าใจด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ของชุมชนส่งผลให้พิพิธภัณฑ์ถูกทิ้งร้าง ส่งผลให้ ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมถูกหลงลืมและใกล้สูญหาย งานวิจัยนี้มีความสนใจที่จะสร้าง แนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาของชุมชนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เพื่อสร้างแหล่งเผยแพร่ภูมิปัญญาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและเป็นแนวทางต้นแบบแก่ชุมชนอื่น ๆ การศึกษาวิจัยจะใช้กรอบของพหุทฤษฎีของแนวคิดเรื่องสภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อหาอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชุมชน ใช้กรอบแนวคิดของการออกแบบสภาพแวดล้อมในการเสนอแนวทางการออกแบบส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์พื้นถิ่น ใช้กรอบแนวคิดการท่องเที่ยวชุมชนและการอนุรักษ์ เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และใช้กรอบแนวคิดด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มีชีวิต วิธีวิจัยใช้การสำรวจเชิงคุณภาพสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับ กลุ่มผู้ใช้พื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนพบอัตลักษณ์ของชุมชนอินทขิลที่สร้างภาพจำและเป็นศักยภาพของชุมชน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กายภาพพื้นที่ราบลุ่มสามลำน้ำ 2) วิวัฒนาการประวัติศาสตร์ชุมชน 3) องค์ประกอบหมู่บ้านชนบทล้านนา 4) พื้นที่เรียนรู้ทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม 5) ประเพณีและวัฒนธรรมชนบท การอภิปรายผลวิจัยพบว่า การออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ชุมชนอินทขิลมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่ศักยภาพชุมชน 2) การเผยแพร่ข้อมูล อัตลักษณ์พื้นที่ศักยภาพเพื่อให้ชุมชนตรวจสอบ 3) การออกแบบปรับปรุงพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการชุมชนโดยการมีส่วนร่วม 4) การเข้าดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ 5) การประเมินและสรุปผลโครงการ โดยควรเน้นการมีส่วนร่วม ไม่ควรแต่งเติม เปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ใหม่ หรือหยิบเอาภูมิปัญญาจากที่อื่นมา เพราะนั่นจะทำให้ความมีชีวิตไม่มีความยั่งยืนและยากต่อการดำเนินการของชาวชุมชนเอง การสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเองของชุมชนจะเชื่อมโยงกันนำไปสู่ความยั่งยืนของการสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2198
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)303.58 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)361.35 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)601.36 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)5.11 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)288.91 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)214.83 kBAdobe PDFดู/เปิด
Cover.pdfCover(ปก)357.26 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)280.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)5.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น