กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2286
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของนวัตกรรมโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนภาเชียงใหม่ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effectiveness of hand washing innovation program for prevention to hand, foot and mouth diseases of kindergarten students in Napa Chaingmai School, San Phi Sua Sub-district, Muang District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศสินีย์, มีงาม
สายหยุด, มูลเพ็ชร์
จิติมา, กตัญญู
คำสำคัญ: โรงเรียนนภาเชียงใหม่--เมือง (เชียงใหม่)
นักเรียน--สุขภาพและอนามัย--เมือง (เชียงใหม่)
การล้างมือ--เมือง (เชียงใหม่)
มือ--การดูแลและสุขวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนกับหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนภาเชียงใหม่ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 และนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นนวัตกรรมโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปากของนักเรียนชั้นอนุบาล โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสัมภาษณ์ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และแบบบันทึกสังเกตพฤติกรรมการล้างมือ 7 ขั้นตอน ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน ด้วยการใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนกับหลังด้วยสถิติ Wilcoxon Sing Rank Test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุเฉลี่ย อยู่ที่ 5 ปี หลังใช้นวัตกรรมนักเรียนชั้นอนุบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน เพิ่มมากกว่าก่อนใช้นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีประสิทธิผลในการเพิ่มความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการล้างมือในเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2286
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ทัศสินีย์ มีงาม_2563.pdf3.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น