Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2477
Title: การพัฒนาการเรียนรู้และทกัษะการคิดเชิงบูรณาการคณิตศาสตร ์โดยใช้กิจกรรมวฏัจกัรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: The Development of Learning and Integrated Mathematical Thinking Skills by Using the Learning Cycle 7E Activities with Community Resources for Mathayomsuksa 2 Students
Authors: สุดเฉลียว, ไทยกรรณ์
พิชญ์สินี, ชมภูคำ
พวงพยอม, ชิดทอง
Keywords: กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนประมัธยมศึกษา
ความคิดและการคิด
การเรียนรู้
คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และ 3) ศึกษาทักษะการคิดเชิงบูรณาการคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน เลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2) แบบทดสอบวัดความรู้ 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ และ 5) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงบูรณาการคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน ฐานนิยม t – test แบบ Paired – test และ Z – test ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การวัด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการวัด การวัดความยาว การวัดพื้นที่ การวัดปริมาตร การวัดน้ำหนัก และการวัดเวลา ในการจัดกิจกรรมได้นำแหล่งเรียนรู้ที่นำมา บูรณาการ เช่น ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ห้องเรียน อาคารเรียน ห้องสมุด โรงอาหาร วัด กล่องปริซึมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กระป๋องทรงกระบอก นักเรียน สมาชิกในครอบครัว นาฬิกา ปฏิทิน ซึ่งมีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 79.22 / 84.19 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75 / 75 2) ผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมากกว่า ร้อยละ 70 มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป และด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนมากกว่า ร้อยละ 58 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และ 3) ผลการประเมินทักษะการคิดเชิงบูรณาการคณิตศาสตร์ นักเรียนผ่านเกณฑ์ระดับดีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2477
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สุดเฉลียว ไทยกรรณ์_2562.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.