Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/534
Title: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านสันทรายหลวง อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Authors: วงษ์ประภารัตน์, เยาวลักษณ์
Keywords: การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
กระบวนการมีส่วนร่วม
Issue Date: 1-Apr-2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research PAR) มุ่งเน้นศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยคือ กลุ่มผู้สูงอายุชมรมสร้างเสริมสุขภาพ ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่จำนวนทั้งสิ้น 50 คน ร่วมกับผู้นำชมรมและคณะกรรมการชมรม ชมรมผู้สูงอายุชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่อ นักศึกษาสาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1.แบบสัมภาษณ์ 2.แบบบันทึกภาคสนามในระหว่างดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ และ 3.แบบบันทึกการสังเกตในระหว่างดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ โดยการจัดรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพัฒนาจากข้อค้นพบจากการดำเนินการวิจัยระยะที่หนึ่งในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย จิตใจและสังคม และการดูแลตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 5 กลวิธี คือ 1) การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อค้นหาความต้องการของผู้สูงอายุ 2) การรับประทานอาหารสุขภาพ 3) การออกกำลังกายรำไท้จี่ชี่กง การรำพัด การฟ้อนเจิง 4) การดูแลตนเองด้านจิตใจและสังคมผ่านกิจกรรมด้านสังคมเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุ สนทนาธรรม การปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 5) กิจกรรมบูรณาการในการดูแลสุขภาพตนเองของกรมอนามัยฝึกให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างมือและการใช้ช้อนกลาง เสริมด้วยกิจกรรม ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพนี้ทำให้ผู้สูงอายุตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและมีสุขภาพดีขึ้น และ 2. การสร้างกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขชุมชนบ้านสันทรายหลวง และหน่วยงานด้านสุขภาพอื่นๆ ภายในชุมชนที่เอื้อต่อการสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนและสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนจำเป็นต้องหาแนวร่วมมารวมพลังกับชมรมผู้สูงอายุ จากการขับเคลื่อนงานของชมรมสร้างเสริมสุขภาพ อันเกิดจากกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนนั้น เริ่มจากแนวทางการดำเนินกิจกรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็น รับฟังซึ่งกันและกัน ความเสียสละและให้อภัยกัน ช่วยสร้างเสริมบรรยากาศของการทำงานร่วมกัน จึงได้นำมาสู่การทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมของผู้สูงอายุบ้านสันทรายหลวงระหว่างโรงพยาบาลสันทราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสันทรายหลวง เทศบาลตำบลสันทรายหลวง ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และชมรมสร้างเสริมสุขภาพสันทรายหลวง เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างกันในอันที่จะพัฒนาสุขภาวะในทุกด้านของผู้สูงอายุในชุมชนสันทรายหลวง สรุป: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยกิจกรรมหลัก คือ การกินอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การออกกำลังกายเป็นประจำ การดูแลสุขอนามัยตนเอง และจิตสงบเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่ายสามารถนำไปใช้ขยายผลได้โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องรวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างครบวงจร ตลอดจนการเชื่อมโยงผู้สูงอายุเข้ากับภาคีอื่นๆ อาทิ เครือข่ายด้านสุขภาพ หน่วยงานภาครัฐ เช่น เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อให้ชมรมผู้สูงอายุได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และแหล่งสนับสนุนอื่นๆ ทั้งงบประมาณ วิทยาการ กระบวนการฝึกอบรมด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับวัยอย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/534
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover533.31 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract445.55 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix771.77 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography434.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1493.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2572.49 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3987.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4972.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5478.04 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent428.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.