Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/569
Title: ยุทธวิธีพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ยุคใหม่สู่ครูมืออาชีพภายใต้บริบทของสถานศึกษา
Authors: ขอดแก้ว, ประพิณ
ขอดแก้ว, มานิตย์
กาญจนะประโชติ, นราวัลย์
Issue Date: 2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ 2. เพื่อพัฒนายุทธวิธีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ 3. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ ที่มีต่อยุทธวิธีพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 9คน ในจำนวน 5 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 และเขต 2 นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 9 คน และอาจารย์นิเทศก์ จากสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถาม แบบสังเกตการสอน และประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าตัวกลางเลขคณิต ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในส่วนของแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ที่เกี่ยวกับสภาพบริบทของโรงเรียนมีผู้บริหารสถานศึกษาทุกโรงมีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีความพร้อมในการเป็นโรงเรียนเครือข่ายของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และมีห้องปฏิบัติการต่างๆครบทุกโรงเรียน ครูวิทยาศาสตร์ (ครูพี่เลี้ยง) มีความพร้อมในการเป็นครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการพัฒนาวิชาชีพครูควรพัฒนาในด้านการจัดการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล สื่อการเรียนการสอน และการวิจัย ส่วนความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับการเป็นครูพี่เลี้ยงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่ามีความคิดเห็นต่อสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ควรจะเป็นในการเป็นครูพี่เลี้ยง แตกต่างกันทุกรายการ ส่วนข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีจำนวน 9 คน ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติการสอน และทักษะเทคนิคการสอน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกรายการ และความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก การพัฒนายุทธวิธีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ได้นำยุทธวิธีการพัฒนามาใช้ในการพัฒนา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติของโครงการวิจัยระดับสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวปฏิบัติของโครงการวิจัย ส่วนครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวปฏิบัติของโครงการวิจัย และพัฒนาวิชาชีพของตนเองและผู้เรียน เพื่อก้าวไปสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ส่วนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมา และแนวปฏิบัติของโครงการวิจัย รวมทั้งนโยบายและเป้าหมายในการผลิตครูสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย และส่วนอาจารย์นิเทศก์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวปฏิบัติของโครงการวิจัย ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขั้นที่ 2 ประชุมปฏิบัติการพัฒนาการนิเทศของผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ โดยสรุปจากการประชุมปฏิบัติการฯ มีความ พึงพอใจในการจัดประชุมปฏิบัติการฯ ในครั้งที่ 1 พบว่าผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดประชุมปฏิบัติการในครั้งที่ 2 ได้นำเสนอความก้าวหน้าผลการดำเนินงานปฏิบัติการพัฒนาโดยผลจากการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าครูและนักศึกษาตระหนักถึงความเป็นครูที่ดี บุคลากรภายในโรงเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ในการจัดการศึกษา และผู้บริหารยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้วยกัน ส่วนครู พี่เลี้ยงนั้นได้รับความรู้ความเข้าใจถึงเทคนิควิธีการสอนต่าง ๆ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการสื่อสารระหว่างครูพี่เลี้ยงกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และส่วนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความมั่นใจในการเตรียมการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนักศึกษาต่างโรงเรียน ขั้นที่ 3 ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามแผนที่วางไว้ โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบกัลยาณมิตร และแบบคู่สัญญา มีการประเมินสมรรถภาพ ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะของความเป็นครู ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการปฏิบัติการสอน และการสรุปในภาพรวมของผลการนิเทศนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับ ร้อยละ 90.00 ขึ้นไป โดยมีค่าระดับคะแนน A ทุกคน ขั้นที่ 4 สะท้อนผล (Reflection) การสังเกตการสอนในชั้นเรียนด้านคุณลักษณะของความเป็นครู ด้านแผนการจัดการเรียนรู้และด้านปฏิบัติการสอนแก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การนิเทศ กระบวนการนิเทศ และผลการนิเทศในด้านต่าง ๆ ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งการสะท้อนผลการสังเกตการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยครูพี่เลี้ยง พบว่า นักศึกษา ฝึกประสบการณ์มีความมีความตั้งใจและความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และสรุปการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน ส่วนการสะท้อนผลการสังเกตการสอนในชั้นเรียน โดยอาจารย์นิเทศก์ พบว่า นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมของแผนการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนดีมาก มีกิจกรรมที่หลากหลาย นักเรียนมีส่วนร่วมและสนุกสนานในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนได้เหมาะสม ขั้นที่ 5 การประชุมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานและนำเสนอผลงานการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งผลที่ได้จากการประชุมและนำเสนอผลงานเป็นการรวบรวมผลงานแล้วนำเสนอข้อสรุปของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้โรงเรียนได้นำไปต่อยอดในการปฏิบัติต่อไป สรุปผลการดำเนินการพัฒนายุทธวิธีพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ พบว่าความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและอาจารย์นิเทศก์ที่มีต่อยุทธวิธีพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ยุคใหม่สู่ครูมืออาชีพภายใต้บริบทของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/569
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover707.64 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract171.64 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent655.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1579.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter21.32 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3749.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter41.18 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5784.26 kBAdobe PDFView/Open
Bibilograph.pdfBibliography701.39 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.