Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/597
Title: การจัดการความรู้ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน
Other Titles: The Knowledge Management of Accounting to develop community enterprises for golden dried longan at Muangkwak Village Muang Lumpoon Province
Authors: มงคลสมัย, วาริพิณ
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: This action research aimed to study accounting of community enterprises of golden dried longan at Muangkuak Village Muang Lumpoon Province to develop the family accounting method according to the Sufficiency Economy, and to find the cost accounting method to develop this community. This study was conducted between December 2007 to December 2008. The key participants were 49 community enterprises of golden dried longan at Muangkuak Village Muang Lumpoon Province. The result showed that this community have known accounting from Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives : BAAC . They known the His Majesty the King' s notion “Sufficiency Economy” from many medias such as television and newspaper. This community known about the cost of golden dried longan. Because they have experience in this business more than 10 years. However, they have recorded only labor expense, they didn’t recorded material and overhead expense. The problem was the monthly income of people in the community was not consistency especially some month there was no income. Therefore, they lost their motive to record the accounting. However, there was aware of doing accounting. Hence, they continue recording the family accounting again in order to motivate their children to do the accounting. People in the community have done family accounting in different methods, depending on their income. For example, some family recorded their financing transaction everyday while other have done it by weekly. From the accounting book contest, there were five families sending their accounting books for the competition. There were two families able to reduce their unnecessary expense. They have hope for making more family income.
Description: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดทำบัญชีของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก หมู่ 5 ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อการพัฒนาการจัดทำบัญชีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินและเพื่อการพึ่งตนเอง และเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้การพึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชน โดยใช้เวลาดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2550 ถึงธันวาคม 2551 ผู้เข้าร่วมโครงการคือ กลุ่มเกษตรกรผู้ทำลำไยอบแห้งสีทองบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน จำนวน 49 คน การดำเนินการวิจัยใช้วิธีการจัดเวทีชุมชน บันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรบ้านเหมืองกวักมีความรู้ด้านบัญชีครัวเรือน บัญชีต้นทุน และเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้ามาให้ความรู้ด้านบัญชีครัวเรือน เกษตรกรทราบจำนวนต้นทุนการอบลำไยเป็นอย่างดีเนื่องจากเกษตรกรทำลำไยอบแห้งมานานกว่า 10 ปี และเกษตรกรรับรู้แนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จากสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เกษตรกรทราบข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีต้นทุนเป็นอย่างดี เนื่องจากเกษตรกรมีประสบการณ์การทำลำไยอบแห้งที่ยาวนานกว่า 10 ปี แต่การบันทึกบัญชีต้นทุนเกษตรกรจะบันทึกเฉพาะค่าแรงงาน สำหรับค่าวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน เกษตรกรบ้านเหมืองกวักมีปัญหาการบันทึกบัญชีครัวเรือนเนื่องจากมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ในแต่ละปี ทำให้เกิดความท้อใจในการบันทึกบัญชี โดยเฉพาะเดือนที่เกษตรกรไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย อย่างไรก็ตามในช่วงของการดำเนินการวิจัยเกษตรกรเริ่มต้นบันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอ โดยมีทัศนคติว่าการที่ครอบครัวบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายจะทำให้เด็กมีวินัยในเรื่องการใช้จ่ายเงิน สำหรับการพัฒนากระบวนจัดทำบัญชีพบว่าการบันทึกบัญชีมีความยืดหยุ่นตามลักษณะ รายได้ของครอบครัวและตามทัศนคติของเกษตรกรต่อการบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย โดยพบว่า บางครอบครัวบันทึกบัญชีทุกวันและบางครอบครัวบันทึกบัญชีเป็นรายสัปดาห์ การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนบันทึกบัญชีครัวเรือน นับว่าประสพความสำเร็จพอสมควรเนื่องจากมีชุมชนส่งสมุดบัญชีเข้าประกวดจำนวน 5 ครัวเรือนและผลของการบันทึกบัญชีทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าหวย จากเดิมซื้อสูงสุดถึง 500 บาท แต่เมื่อบันทึกบัญชีเห็นค่าหวยสูงจึงตั้งใจจะลดค่าหวยลงปัจจุบันซื้อไม่เกิน 100 บาท เป็นต้น และเป็นกำลังใจในการหารายได้เข้าสู่ครอบครัวได้มากขึ้น
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/597
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)722.36 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)398.76 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)401.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)510.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.01 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)743.32 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)649.05 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)509.84 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)510.3 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.