Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/602
Title: การจัดการความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิต ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ถั่วเหลืองและน้ำมันงาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านปางหมูและบ้านสบสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: The knowledge management of economics to develop community enterprises of peanuts products, soybean products and sesame oil at Pangmoo and Subsoi village Muang district Meahongson province.
Authors: สิงฆราช, สมบัติ
Keywords: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปางหมูและบ้านสบสอย
ถั่วลิสง
ถั่วเหลือง
น้ำมันงา
Issue Date: 2552
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการผลิต ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ถั่วเหลืองและน้ำมันงา เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิต การระดมทุน ให้เป็นวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเองและนำรูปแบบการพัฒนาวิสากิจชุมชนภายใต้การพึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชนท้องถิ่นไปเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยสู่เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นอื่น ๆ ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปางหมู และบ้านสบสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวน 14 ครัวเรือน รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยแบบประยุกต์ทั้งการวิจัย เชิงปริมาณและมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบกัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิตร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตใช้ฟังก์ชันเส้นพรมแดนการผลิต(Stochastic Frontier Function) วัดประสิทธิภาพของผู้ผลิตถั่วเหลืองแผ่น (ถั่วเน่าแค่บ) ด้วยวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการเปิดเวทีชาวบ้าน ศึกษาปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากการวิเคราะห์ผลการวิจัย พบว่า ผู้ผลิตถั่วเหลืองแผ่น(ถั่วเน่าแค่บ) จำนวน 8 ราย มีประสิทธิภาพการผลิตใกล้เคียงกัน คือมีประสิทธิภาพสูงสุดจำนวน 2 ราย และมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.5 จำนวน 2 ราย การไม่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้แรงงาน ฟืน ไฟฟ้าและน้ำประปามากเกินไป ส่วนต้นทุนในการผลิตถั่วเหลืองแผ่นต่อครั้งเท่ากับ 700.65 บาท มีรายรับจากการผลิต 650 บาท ดังนั้นผู้ผลิตขาดทุนจำนวน 50.65 บาทต่อการผลิตครั้งละ 1.5 ถัง ต้นทุนในการผลิตถั่วแปหล่อเท่ากับ 640.86 บาทต่อครั้ง รายรับรวมเท่ากับ 740 บาทต่อครั้ง ดังนั้นผู้ผลิตจะมีกำไรจากการผลิตจำนวน 99.14 บาทต่อการผลิตครั้งละ 28 ลิตร ต้นทุนในการผลิต ถั่วแปจ่อเท่ากับ 1,075.52 บาทต่อครั้ง มีรายรับรวมเท่ากับ 1,050 บาทต่อครั้ง ดังนั้นผู้ผลิตจะขาดทุนเท่ากับ 25.52 บาทต่อการผลิตครั้งละ 28 ลิตร ต้นทุนในการผลิตถั่วลิสงคั่วเท่ากับ 800.86 บาทต่อครั้ง มีรายรับรวมเท่ากับ 735 บาทต่อครั้ง ดังนั้นผู้ผลิตจะขาดทุนเท่ากับ 65.86 บาทต่อการผลิต ครั้งละ 20 ลิตร ต้นทุนในการผลิตน้ำมันงาเท่ากับ 1,617.38 บาทต่อครั้ง มีรายรับจากการผลิต 1,950 บาทต่อครั้ง ดังนั้นผู้ผลิตจะมีกำไรเท่ากับ 332.62 บาทต่อการผลิตครั้งละ 1.5 ถังการพัฒนารูปแบบการผลิต ผู้ผลิตต้องการหาตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น และต้องการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้รับมาตรฐานอาหารและยา แต่ผลตอบแทนจากการผลิตค่อนข้างต่ำ การสะสมทุนของผู้ผลิตน้อยจึงไม่สามารถพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้รับมาตรฐานอาหารและยาได้ โครงการวิจัยจึงได้ทำการพัฒนาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และ ตราสินค้า ตลอดจนนำผลิตไปทดสอบตลาด ซึ่งผลการทดสอบตลาดได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี แนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตถั่วเหลืองแผ่น ถั่วแปหล่อ ถั่วแปจ่อ ถั่วลิสงคั่วและกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงา คือ การหาช่องทางการจัดจำหน่ายและขยายตลาดเพิ่มขึ้น จัดสร้างสถานที่จำหน่ายสินค้าชุมชน สนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต อุปกรณ์การผลิตโรงเรือนตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า ส่งเสริมความรู้ของผู้ผลิตด้วยการจัดการอบรมความรู้ทางการตลาด การเงิน เรียนรู้แหล่งทุน เทคโนโลยีและเทคนิคการผลิตใหม่ ๆ ตลอดจนอบรมการวางแผนธุรกิจแก่ทายาท ของผู้ผลิตเพื่อศักยภาพการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอนาคต
Description: The purpose of this study were to investigate the efficiency, cost of production, capital supporter, scale of production and to develop production in community enterprises for peanuts products, soybean products and sesame oil at Pangmoo and Subsoi village Muang district Meahongson Province.The samples of this survey are 14 households. This research was used apply research and action research together. The analysis of data was completed using frequencies, percentages, means, variants and standard deviations. The analysis of producer’s efficiency was used Stochastic Frontier Function with Data Envelopment Analysis (DEA) method. The action research was used public hearing for investigating the problem, threat and cooperates of community enterprises.The findings indicated that 8 producers whose produce soybean products (sheet soybeans) almost had the same technical efficiency. 2 persons are the best of all had best efficiency and 2 persons had lowest efficiency about 85.5%. Inefficiency involves used labor resources, energy, electricity and water resources. However all of firms had used the law material (soybean) by high efficiency. Costs of production per once (30 liters) are 700.65 baths. Revenue were 650 baths thus producers had lost 50.65 baths per once. Cost of peanuts products divided 3 types first, Shan peanuts (Paloa) costs are 640.86 baths per once (28 liters). Revenues are 740 baths thus producers had profit 99.14 baths. Second, Shan peanuts (Pajoa) costs are 1075.52 baths per once (28 liters) Revenue are 1,050 baths thus producers had lost 25.52 baths and last fire peanuts costs are 800.86 baths per once (20 liters). Revenues are 735 baths thus producers had lost 65.86 baths. Costs of sesame oil are 1,617.38 baths per once (30 liters). Revenue are1,950 baths thus producers had profit 332.62 baths. The problem of production found that outputs are not qualified and tools for production are not standard and producer had not bargaining power, had small capital and had little margin. Path to solve this problems producers must improved the production process with standard tools and standard of the food and drug administration or standard of good manufacturing practice (GMP). Beside they must improved packaging, brand and packing after that they will to seek the place for more sale in local market and other province market. Official government will support this producers by training about finance, marketing, technology knowledge and innovation. In a hurry local government must provide the market place for these products in local area.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/602
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover411.96 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract535.69 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent603.38 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1489.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-22.16 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3490.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4958.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5573.45 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography481.17 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.