Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/703
Title: รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขตลุ่มน้ำแม่แตง
Other Titles: An Ecotourism Model for Mae Taeng River
Authors: ชูชาติ, ชูสิทธิ์
Choochat, Choosit
และคณะ
Issue Date: 2548
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to study the background ant the context of the villages at the Mae Taeng River in order to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats for performing the model of ecotourism. The scope of the research is focused on Sob Kai village and the other villages which are connected to ecotourism. The research processing was to collect data by the participant observation, non-participant observation, unstructured interview, documentary studying , focus group and SWOT analysis. Before the presentation of the data by the description analysis the researchers examined the data by data triangulation , methodological triangulation and content analysis. The results of the research. The research found that the primitive communities in Ban Muang Gued were Lawas They settled in this area more than 500 years ago Ban Sob Kai in the former time depended on Ban Muang Gued. Ban Muang Gued , Ban Muang Kong and Ban Wiang Haeng were interrelated by along the way of the Mae Taeng River or by the routes through the jungle. In 1605, King Naresuan the great’s army used this route into Burma for fighting in Thai-Tai, Burmese war. About 100 years ago, Thai people migrated into this area to make rice fields, cut wood and establish tea garden forest etc. After that about 50 years ago, Lahu, Mong, Aka, Mien, Lesu and Karen migrated in to the other areas along the Mae Taeng River. Lawas escaped the invasion groups to settle in other areas. Because, the area is fertile with the forest ecosystem, biological diversity cultural diversity and other attractions, allowcentric tourist groups traveled into this area for trekking and adventure. Since 1984, traveling by bamboo-rafting has been taking place, starting at Ban Pha Khaowlam and ending at Ban Sob Kai. Every year about 530,000 international tourists go bamboo-rafting in this area and generate an annual income of about 847,470,000 Baht. The business sector out of the village gets about 612,650,000 Baht and in the village gets about 234,790,000 Baht. The business sector outside the village gets benefit more than 2.6 times. Each year 87,600 bamboo stems are used to make rafts for the journey from Ban Pha khaowlam, Ponghan to Ban Sob Kai. Trekking and adventure tours not only destroy the tourism resources, but also make villagers lose income and benefits and the tourists lack environmental education. To solve the problem, the research offers 3 forms of ecotourism or sustainable tourism. They are ecotourism aimed at studying the forest ecosystem and the biological diversity, cultural tourism for studying the cultural diversity and thirdly, historical tourism for studying the route of King Naressuan the great’s army. The three forms of tourism do not separate nature from culture and history because they are in the same area. Therefore, ecotourism in the Mae Taeng river area included three forms of the sustainable tourism, and Ban Sob Kai is the center for connecting with the other villages in this area.
Description: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อวิจัยภูมิหลังและบริบทของหมู่บ้านสบก๋าย ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยเน้นบ้านสบก๋ายเป็นศูนย์กลาง ขอบเขตของการวิจัย คือ บ้านสบก๋ายและหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลหลักจากการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์กลุ่มบุคคล (Focus Group) การวิเคราะห์ข้อมูล (SWOT) ร่วมกับชาวบ้าน และการศึกษาจากเอกสาร ก่อนเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ได้ตรวจสอบข้อมูลแบบสามแล้ว ด้านข้อมูล (Examination of Data Triangulation) และวิธีการรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) พร้อมกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ชุมชนโบราณเขตลุ่มแม่น้ำแม่แตง เคยเป็นถิ่นที่อาศัยของชาวลัวะไม่ต่ำกว่า 500 ปีมาแล้ว บ้านเมืองกื๊ด เป็นศูนย์กลางสำคัญเขตลุ่มน้ำแม่แตงตอนล่าง (บ้านสบก๋ายขึ้นอยู่กับบ้านเมืองกื๊ด) บ้านเมืองคองเป็นศูนย์กลางของลุ่มน้ำแม่แตงตอนกลาง และบ้านเวียงแหง เป็นศูนย์กลางของลุ่มแม่น้ำแม่แตงตอนบน ประชาชนได้ติดต่อ แลกเปลี่ยนสินค้า และค้าขายกันมาตั้งแต่โบราณ การวิจัยค้นพบว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงใช้เส้นทางลุ่มน้ำแม่แตง ยกกองทัพจากเชียงใหม่ ผ่านเมืองกื๊ด เมืองคอง และเวียงแหง เข้าสู่ประเทศพม่าในปี ค.ศ.1605 (พ.ศ.2148) ประมาณ 100 ปี ล่วงมาแล้ว คนไทยได้อพยพเข้ามาทำนา ทำไร่ ทำป่าไม้ ทำสวนเมี่ยงในเขตบ้านเมืองกื๊ด และบ้านสบก๋ายมากขึ้น ต่อมาประมาณ 50 ปีล่วงมาแล้ว กลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ละฮูร์ อะข่า ม้ง ลีซอ กะเหรี่ยง และเย้า ได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตลุ่มน้ำแม่แตงหลาย ๆ หมู่บ้านเขตตำบลกื๊ดช้าง ในปัจจุบัน สำหรับชนเผ่าลัวะได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในเขตพื้นที่อื่น ๆ จากการวิจัยพบว่า ลุ่มน้ำแม่แตง มีความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ระบบนิเวศป่าสองฝั่งแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ จึงก่อให้เกิดความประทับใจในการท่องเที่ยวแบบเดินป่า และผจญภัย การท่องเที่ยวดังกล่าวแล้วได้ก่อกำเนิดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.1984 (พ.ศ.2527) โดยนักท่องเที่ยวเดินป่าจากบ้านห้วยน้ำดัง หรือ โป่งน้ำร้อนป่าแป๋ ผ่านป่าเข้าสู่บ้านป่าข้าวหลาม แล้วล่องแพตามเส้นทางลำน้ำแม่แตง สิ้นสุดที่หมู่บ้านสบก๋าย ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน หรือ 4 วัน 3 คืน ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวแบบเดินป่าและผจญภัย ล่องแพจากป่าข้าวหลาม ถึงบ้านสบก๋าย ประมาณปีละ 530,000 คน มีรายได้เกิดขึ้นประมาณปีละ 847,470,000 บาท หน่วยธุรกิจนอกหมู่บ้านได้รับปีละ 612,680,000 บาท รายได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านในเขตเส้นทางท่องเที่ยวปีละ 234,790,000 บาท หน่วยธุรกิจนอกหมู่บ้านได้รับมากกว่า 2.6 เท่า ในเวลา 1 ปี ที่บ้านสบก๋ายซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการล่องแพไม้ไผ่ มีแพไม้ไผ่ปีละ 5,475 แพ คิดเป็นจำนวนไม้ไผ่ ซึ่งสูญสิ้นกับการล่องแพ เฉพาะเส้นทาง บ้านป่าข้าวหลาม – บ้านโป่งแง่น – บ้านสบก๋าย ประมาณปีละ 87,600 ลำ เนื่องจากการท่องเที่ยวแบบเดินป่าและผจญภัย ทำให้เกิดปัญหา การทำลายทรัพยากรการท่องเที่ยว ชาวบ้านสูญเสียผลประโยชน์และขาดรายได้ นักท่องเที่ยวขาดการเรียนรู้ ผลงานวิจัยจึงได้เสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3 รูปแบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศศึกษาระบบนิเวศป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อศึกษา ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อศึกษาเส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การท่องเที่ยวทั้ง 3 รูปแบบไม่สามารถแยกธรรมชาติออกจากวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ได้ เพราะพื้นที่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น การท่องเที่ยวทั้ง 3 รูปแบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขตลุ่มแม่น้ำแม่แตง โดยมีบ้านสบก๋ายเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/703
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)551.99 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)447.43 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)450.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)541.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)754.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)2.21 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)2.26 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)499.93 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)413.83 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)417.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.