Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/710
Title: การคัดเลือกจุลินทรีย์ในลูกแป้งเพื่อพัฒนาเป็นกล้าเชื้อ บริสุทธิ์ในการหมักผลิตภัณฑ์จากข้าว
Other Titles: Screening of Microbial in Lookpang for Pure-inoculum Development in Rice Fermented Products
Authors: ชมเชย, อัจฉรียา
Chomchoei, Atchareeya
ปราโมกข์ชน, พสุ
Pramokchon, Pasu
Issue Date: 2548
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The isolation and screening of microbial from Look-pang for pure innoculum in rice fermented products. It started to study the local innovation and collected the Lookpang samples from 13 locates in Chiang Mai Province such as Aumpher Muang, Fang, Mae Ai, Chaiprakan, Chiang Dao, Mae Rim, San Sai, San Patong, Hang Dong, Jom Thong, Doi Tao, Mae Cham, Saraphi and Mae Wang by data sheet. The Look-pang Lao is the widely produced for Rice wine production in the Local. The important of raw materials for look-pang production are starch and herbal materials, the commercial sticky-rice starch from local markets usually using and the herbal were purcashed from Warorut Market, cellected from local and some materials collected from forest. The average of production cost a time about 350-450 baht that can produce Look-pang about 2,000 pieces to distribute them for the local small business rice wine. The study of the biodiversity of microbials in the Look-pang about 26 samples by dilution plate technique was provided. The sixty isolates of each fungi and yeast were isolated. Only nineteen isolates showed clear zone of starch hydrolysis on agar and a clear zone diameter provided from 5.16±0.57 to 0.90±0.10 centimeter. In this study, the MJ1-2 that isolated from Look-pang of Mae Cham showed widest clear zone and the isolates which show widest clear zone within 10 levels from maximum to minimum were test for the amylase acitivity by using 1%(w/v) soluble starch to be substrate. The reducing sugar were determined by Alli et al. (1998) method. The isolate MJ1-2 show high amylase activity was 8.24±0.04 IU/ml while the other isolates were 5.32±0.05 to 1.31±0.01 IU/ml. It was found that the amylase activity corresponded to the starch hydrolysis clear zone. The alcohol fermentation of sixty yeast strains were determined by using YPD broth with glucose 20 %(w/v) was added, incubated with shaking at 180 rpm, 30 °C for 48 hours and measured alcohol by gas chromatography. They provided 3 levels of the alcohol yields, 2.00-1.50%, 1.49-1.00% and 0.99-0.10%. The JT1-02, isolated from Jom Thong Look-pang show high alcohol yield 1.901%. The most fungi show white stuff colony and black filament colony on agar. The total isolated yeast strains show 7 colony types ; type 1 : white entire smooth convex colony are 40 isolates, type 2 : white lobate rough colony are 4 isolates, type 3 white filamentous rough colony are 4 isolates, type 4 cream entire convex colony are 5 isolates, type 5 cream lobate rough convex colony are 2 isolates, type 6 cream lobate convex colony are 3 isolates, type 7 pink entire convex colony are 2 isolates. The cell characteristics under the microscopic by wet mount technique show 4 types ; ellipsoidal are 26 isolates, oval are 16 isolates, cylindrical are 10 isolates and spheroidal are 8 isolates. The 5 amylase-produced fungi were identified to genus Rhizopus and Amylomycetes while, 5 alcohol-produced yeasts were Saccharomyces and Endomycopsis.
Description: งานวิจัยเรื่องการคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์จากลูกแป้งเพื่อพัฒนาเป็นกล้าเชื้อบริสุทธิ์ในการหมักผลิตภัณฑ์จากข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับภูมิปัญญาการผลิตลูกแป้งและคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นหัวเชื้อบริสุทธิ์ในการหมักผลิตภัณฑ์ ได้ดำเนินการวิจัยโดยเริ่มต้นจากการศึกษาภูมิปัญญาการผลิตลูกแป้งของท้องถิ่นและเก็บตัวอย่างลูกแป้งจากแหล่งต่างๆ 13 แห่ง และ 1 กิ่งอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอเมือง ฝาง แม่อาย ไชยปราการ เชียงดาว แม่ริม สันทราย สันป่าตอง หางดง จอมทอง ดอยเต่า แม่แจ่ม สารภี และ กิ่งอำเภอแม่วาง โดยการสอบถามกลุ่มผู้ผลิตลูกแป้งในชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่จะผลิตลูกแป้งเหล้า เพื่อนำไปหมักข้าวแปรรูปเป็นสุรากลั่น หรือ เหล้าน้ำขาว วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ลูกแป้ง ประกอบด้วยแป้ง โดยจะใช้แป้งข้าวเหนียวสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาด และสมุนไพรเครื่องเทศจากร้านยายาสุมนไพรในตลาดวโรรส หรือเก็บสมุนไพรที่ขึ้นในหมู่บ้าน ท้องถิ่น และมีบางที่ต้องเข้าไปเก็บในป่า ต้นทุนในการผลิตลูกแป้งแต่ละครั้งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 350-450 บาท ซึ่งสามารถผลิตลูกแป้งได้ประมาณ 2,000 ลูก ลูกแป้งที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชน เมื่อศึกษาความหลากหลายของเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างลูกแป้งทั้งหมด 26 ตัวอย่าง ด้วยวิธี dilution plate technique พบว่าสามารถแยกเชื้อราและยีสต์ได้กลุ่มละ 60 ไอโซเลท โดยมีเชื้อราที่เกิดวงใสการย่อยแป้งบนอาหารเลี้ยงเชื้อเพียง 19 ไอโซเลตจากทั้งหมด 60 ไอโซเลต และให้ขนาดวงใสตั้งแต่ 5.16±0.57 ถึง 0.90±0.10 เซนติเมตร โดยไอโซเลตที่มี ขนาดวงใสย่อยแป้งกว้างที่สุดคือ MJ1-2 ซึ่งแยกได้จากลูกแป้งเหล้าอำเภอแม่แจ่ม และเมื่อทดสอบการผลิตเอนไซม์ย่อยแป้ง (amylase) ของเชื้อราที่ให้ค่าวงใสย่อยแป้งจากมากไปน้อยจำนวน 10 อันดับแรก โดยใช้ 1%(w/v) soluble starch เป็นสับสเตรท แล้วหาปริมาณน้ำตาล รีดิวซ์โดยวิธีของ Alli และคณะ (1998) พบว่า ไอโซเลท MJ1-2 ให้ค่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสสูงสุด เท่ากับ 8.24±0.04 IU/ml ส่วนไอโซเลทที่เหลือให้ค่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ตั้งแต่ 5.34±0.05 ถึง 1.31±0.01 IU/ml ซึ่งค่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ที่ได้จะสัมพันธ์กับขนาดของวงใสย่อยแป้ง และจากการศึกษาการหมักแอลกอฮอล์ของ เชื้อยีสต์ที่แยกได้จากลูกแป้งจำนวน 60 ไอโซเลท ในอาหาร YPD broth ที่มีน้ำตาล glucose 20%(w/v) บนเครื่องเขย่าความเร็วรอบ 180 rpm อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมงแล้ววิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ด้วยวิธี gas chromatography พบว่า เชื้อยีสต์สามารถหมักแอลกอฮอล์ได้ปริมาณ 3 ช่วงระดับ คือ 2.00-1.50%, 1.49-1.00% และ 0.99-0.10% โดยที่ไอโซเลท JT1-02 ซึ่งแยกได้จากตัวอย่างลูกแป้งอำเภอจอมทอง สามารถหมักแอลกอฮอล์ได้ปริมาณสูงสุดเท่ากับ 1.901% เมื่อศึกษาสัณฐานวิทยาของจุลินทรีย์ที่แยกได้ พบว่า เชื้อราที่แยกได้ส่วนใหญ่มีลักษณะโคโลนีเป็นเส้นใยสีขาว-ฟู และเส้นใยสีดำ ส่วนลักษณะโคโลนีบนอาหาร YM agar ของเชื้อยีสต์มีด้วยกัน 7 ลักษณะ คือ แบบที่ 1 ลักษณะโคโลนี สีขาว ขอบเรียบ นูนวาว, แบบที่ 2 ลักษณะสีขาวด้าน ขอบหยัก ขรุขระ, แบบที่ 3 ลักษณะสีขาว ขอบหยักเส้นสาย ขรุขระ, แบบที่ 4 ลักษณะสีครีม ขอบเรียบ นูนวาว, แบบที่ 5 ลักษณะสีครีม ขอบหยักนูน ขรุขระ, แบบที่ 6 ลักษณะสีครีม ขอบหยัก นูนวาว และแบบที่ 7 ลักษณะโคโลนีชมพู ขอบเรียบ นูน วาว จำนวน 40 ไอโซเลท, 4 ไอโซเลท, 4 ไอโซเลท, 5 ไอโซเลท, 2 ไอโซเลท, 3 ไอโซเลท และ 2 ไอโซเลท ตามลำดับ เมื่อนำมาศึกษาลักษณะของเซลล์ยีสต์ภายใต้กล้อง จุลทรรศน์โดยวิธีการทำ wet mount พบว่ามี 4 ลักษณะ คือ แบบที่ 1 ลักษณะ ellipsoidal, แบบที่ 2 ลักษณะ oval, แบบที่ 3 ลักษณะ cylindrical และ แบบที่ 4 ลักษณะ spheroidal จำนวน 26ไอโซเลท, 16 ไอโซเลท, 10 ไอโซเลท และ 8 ไอโซเลท สุดท้ายสามารถจำแนกสกุลของเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์อะไมเลสและเชื้อยีสต์ที่ผลิตแอลกอฮอล์ได้ใน 5 อันดับแรก จำนวนทั้งหมด 10สายพันธุ์ ได้ดังนี้ เชื้อราจัดจำแนกได้ 2 สกุล คือ Rhizopus และ Amylomycetes ส่วนเชื้อยีสต์จัดจำแนกได้ 2 สกุล คือ Saccharomyces และ Endomycopsis
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/710
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)389.45 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)406.07 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)379.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)394.41 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)581.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)412.18 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)519.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)399.8 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)395.1 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.