Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/718
Title: โครงการวิจัย “การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่”
Other Titles: A Construction Database of Local Wisdom at Saluang District, Chiang Mai
Authors: กันขัติ์, ศิริกรณ์
Keywords: โครงการวิจัย
การจัดทำฐานข้อมูล
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2552
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษา ทดสอบ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน บริหารและจัดการให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ในการพัฒนา บ่มเพาะ และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบฐานข้อมูลดังนี้ โปรแกรมภาษา PHP ในการเขียนโปรแกรม ใช้โปรแกรม MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล และใช้โปรแกรม Dreamweaver ในการจัดทำเว็บไซต์ โดยระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลเห็ดโดยแยกตามชนิดของเห็ด ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้ ชื่อทั่วไป ชื่อท้องถิ่น ชื่อภาษาอังกฤษ ประเภท แหล่งที่เกิด ช่วงเวลาที่เกิด ชื่อวิทยาศาสตร์ อับดับ วงศ์ สกุล ลักษณะทั่วไป และรูปภาพ เป็นต้น ซึ่งสมาชิกสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเห็ดแต่ละชนิดได้ เพื่อเป็นความรู้ให้กับบุคคลอื่น ๆ ต่อไป จากการทดสอบระบบแล้วพบว่าระบบมีความเหมาะสม สามารถใช้งานได้ดี ด้านผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในการทำงาน และการแสดงผลลัพธ์ของระบบในระดับดี ผู้ศึกษามีความคาดหวังว่าฐานข้อมูลที่ทำขึ้น สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษา และบริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งจะไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป
Description: This research aims to study the local district in Mae Rim, Chiang Mai Saluang. To a local database. And to distribute benefits to people. Promote and encourage the study of local testing and development with emphasis on the participation of the villagers.Managing the work of the network as well as to develop and nurture local knowledge transfer. Tools to develop database applications, the PHP language to write applications using the MySQL database.And use Dreamweaver to do. The storage system can be classified according to the type of mushroom fungi. Which contains the following common name, local name, English name of the source of the problem. Scientific name of common descent and rank which members can comment on each type of mushroom. The knowledge to others to test the system and found that the system is appropriate. Can work well. The users were satisfied with the work.The output of the system to a great extent. The study is expected to make up the database. Is a natural resource. And use of information on the curriculum of local schools within the study area. And nearby.This will not only benefit local only. The enormous contribution to sustainable development and stability to the country.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/718
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover557.27 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract418.78 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent446.04 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1489.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2948 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3829.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4711.84 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5497.22 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography480.18 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.