Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/724
Title: งานวิจัยเรื่องการรำผีมอญเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดทางวัฒนธรรม ชุมชนชาวมอญบ้านหนองดู่และบ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Other Titles: Mon Ghost Dance : Conservation of Mon Cultural Inheritance, Ban Nong Du and Ban Bor Kaw Community, Ban Ruan Subdistrict, Pasang District, Lamphum Province.
Authors: เพชรโชติ, วิภาดา
Petchot, Vipada
Keywords: งานวิจัย
การราผีมอญ
บ้านหนองดู่และบ้านบ่อคาว ตาบลบ้านเรือน
Issue Date: 2552
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์และการสืบทอดวัฒนธรรมการรำผีมอญของชุมชนบ้านหนองดู่และบ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน รวมทั้งศึกษาบริบทชุมชน ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ถอดบทเรียน และพัฒนาสื่อเว็บไซต์ (Web site) การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และสำรวจชุมชน การฟ้อนผีมอญของบ้านหนองดู่และบ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลาพูน มีประวัติ ความเป็นอย่างไรนั้นไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ จากการวิจัยสามารถสืบค้นรายชื่อผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการในพิธีหรือที่เรียกว่า “โต่ง” ได้เพียงสามคน และมีเพียงคนเดียวที่ยังคงมีชีวิตอยู่จากการศึกษาพบว่าพิธีกรรมการฟ้อนผีมอญเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อและศรัทธาในผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่า มีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผี การผิดผี และการทรงเจ้า กำหนดการทำพิธีจะต้องทำในเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน หรือก่อนเทศกาลเข้าพรรษา โดยยกเว้นการทำใน วันพระ วันพุธ และวันเสียตามปฏิทิน วันทำพิธีแบ่งออกเป็นสองวันคือ วันเตรียมพิธี ซึ่งเป็นวันที่ต้องสร้างผามหรือปะรำพิธี ทำขนมเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ และวันประกอบพิธี ซึ่งมีสองแบบคือแบบทำครึ่งกับแบบทำเต็มวันโดยพิธีกรรมในช่วงเช้ามี 9 ขั้นตอน ได้แก่ พิธียกขันครู ถวายขันผีปู่ย่า รำดาบ ปัดพยาธิ ตัดต้นกล้วย นำผู้ป่วยไปอาบน้า แต่งตัวให้ผู้ป่วย เรียกวิญญาณ ดูขาไก่ ส่วนพิธีกรรมในช่วงบ่ายมี 15 ขั้นตอน ได้แก่ เล่นผีกุลา ป้อนข้าว เล่นผีนางทั้งสองทั้งสาม เล่นผีนางน้อย คาบปลา ปู่ย่าขึ้นหอ เล่นน้าสงกรานต์ ชนไก่เอาผีขันโตก ไปไร่ คล้องช้าง จุดกระบอกไฟ ถ่อเรือ ดูหยอดน้าตาเทียน และถอนต้นแก้วสำหรับท่าฟ้อนของโต่งและลูกผีช่างฟ้อนจะไม่มีท่าแบบแผนและท่าตาย และอาจเป็นท่าที่เกิดจากการถูกวิญญาณเข้าสิง ท่าราจะไม่เน้นความสวยงาม ไม่มีความหมายของท่า จังหวะของการร่ายรำมีทั้งช้าและเร็ว สนุกสนาน ส่วนเพลงที่บรรเลงไม่ได้เน้นเฉพาะเพลงที่มีท่วงทำนองมอญ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เพลงทำนองไทยเดิมซึ่งประยุกต์มาเป็นเพลงลูกทุ่งการทำพิธีฟ้อนผีมอญนี้นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความเชื่อและเคารพต่อบรรพบุรุษแล้วยังเป็นที่พึ่งทางใจในยามที่ลูกหลานมีความทุกข์ หรือเจ็บป่วย เพราะเชื่อกันว่าเมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วลูกหลานในตระกูลก็จะอยู่ดีมีสุข สิ่งไม่ดีที่เคยเกิดก็จะหายไป อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึง ความสามัคคีของคนในตระกูล และความมีน้าใจเอื้อเฟื้อของคนในชุมชนที่มาร่วมมือร่วมใจให้งานลุล่วงไปด้วยดี
Description: The objective of this research is to study community context, to investigate history ofthe communities and to preserve, for the future generations, the ritual of “Forn Phee Mon” or MonGhost dance of Ban Nong du and Ban Bor Kaw, Ban Ruen subdistrict, Pasang district, LamPhoon province. The research covered to develop web site. The research was qualitative based ondata collected by interviews, observations and watching performances of Mon ghost dance of BanNong Du and Ban Bor Kaw, Ban Ruen subdistrict, Pasang district, Lamphoon province. The exactstory of the history of the dance was a myth but from interviews three names of mater ofceremonies “Tong” had been found and one was still living.The studies found that ritual dance of “Mon Ghost Dance or Forn Phee Mon” wasbased on the believe of ancestors spirits called “Phee Ban Pa Burut or Phee Pu Ya”. They believethey are protected by the ancestors spirits and have to behave in good manners under set rules.Behaving out side the set rules called “Pid Phee”. Communication with the spirits is through certain people acting as medium. The spirit related ceremony have to be carried out betweenMarch and June before Buddhist lantern day except Buddhist day Wednesday and other so called“bad day” on calendar. The ceremony takes two days. The first preparation day called “WanTriam” or “Wan da” is when stage for ceremony is built, food and other sweets to offer to spiritsare prepared. The second day is ceremony day. The ceremony day can be full day or half day.The first half of ceremony day consists of 9 parts as followings : pay respect to teacher “Yok KanKruu”, offering to ancestors spirits “Tawai Kan Phee Pu Ya”, sword dance “Ram Dab”, push away bad health “Pad Payad”, cut banana tree “Tud Ton Kroy”, give baht to sick persons“Abb Nam Pu Puy”, dress up sick persons “Tang Tua Pu Puy”, call spirit “Reak Winyarn”, andlook at chicken legs “Du Ka Kai” Afternoon ceremony consists of 15 parts – play with Kula spirit “Len Phee Kula”,feed rice “Porn Kao”, play with Nang Tang Song Tang Sarm spirit “Len Phee Nang Tang SongTang Sarm”, play with Nang Noi spirit “Len Phee Nang Noi”, carry fish by mounth “Karb Pla”,send ancestor spirit to spirit house “Pu Ya Kun Hor”, play Songkran splash water “LenSongkran”, cock fight “Chon Kai”, play with Lanna style food tray “Ouo Phee Kan Tok”, go to the field “Pai Rai”, catch elephant “Klong Chang”, light fire works “Jud Kra Bok Fai”, watchcandle tears “Du Namta Tien”, boat ride “Tor Ruer” and pull ton keaw “Torn Ton Keaw”.The dance of Tong or master of ceremony and the troop of dancer spirit “Luk PheeChang Fon” have no set movements but changes according to the spirit believed to be inside thedancers at that moment. Dance movements were not designed tobegracefulorbeautiful noparticular meaning consisting fast slow or comical movements according to the musicwhicharenotnecessarily mon music but could be Thai classical, arranged Thai classical or country music“Luk toong”Phee Morn Dance not only express the believe and respect tothespiritoftheancestorsbutalsogivesmoralsupportandencouragement to younger generations when they are in troublefrom sickness or other troubles. They believe performing Mon Ghost Dance or Forn Phee Monwill lead them to good luck prosperity and unity of the families. It makes people care for eachothers to make stronger better communities.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/724
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover384.98 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract467.46 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent539.55 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1477.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-21.67 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3612.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-41.44 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-56.84 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-65.84 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-7.pdfChapter-7605.5 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography539.1 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.