Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/744
Title: การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายของเห็ดป่า ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ปีที่ 2)
Authors: หาญเมืองใจ, วัชรี
หาญเมืองใจ, ประเสริฐ
บุญส่งแท้, อัครสิทธิ์
Keywords: การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายของเห็ดป่า
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: จากการแยกเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาที่บริโภคได้ให้บริสุทธิ์ของเห็ดป่าทั้ง 13 ชนิด เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญ ได้แก่ สูตรอาหาร (PDA, MEA, MMN, Hagem และ Gamborg) อุณหภูมิ (25, 30 และ 35oC) และความเป็นกรด-ด่าง (pH 5, 6, 7 และ 8) พบว่าสามารถแยกเส้นใยบริสุทธิ์ของเห็ดตับเต่า Phlebopus portentosus LEL-CMRU 004 เห็ดเผาะ Astreaus hygrometricus LEL-CMRU 005 และเห็ดตะไคลขาว Russula delica MTC-CMRU 013 ได้ โดยสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่า ได้แก่ อาหารเพาะเลี้ยงสูตร PDA อุณหภูมิ 30 และ 35oC ระดับ pH 5 และ 6 ส่วนเส้นใยเชื้อราเอคโต- ไมคอร์ไรซาจากเห็ดเผาะ อาหารเพาะเลี้ยงสูตร MMN และ MEA ที่อุณหภูมิ 25 และ 30oC ระดับ pH 5 และ 6 เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใย และอาหารเพาะเลี้ยงสูตร MEA เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตะไคลขาว อุณหภูมิ 35oC ระดับ pH 8 การเจริญบนอาหารแข็งจากเมล็ดธัญพืช 5 ชนิด ได้แก่ เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว เมล็ดข้าวไร่ และเมล็ดข้าวบาเล่ย์ เพื่อผลิตหัวเชื้อ พบว่าเมล็ดธัญพืช ที่เหมาะสมต่อการผลิตหัวเชื้อมากที่สุด คือ เมล็ดข้าวฟ่าง โดยเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่า สามารถเจริญได้บนอาหารแข็งเมล็ดธัญพืชทุกชนิด การเจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างเส้นใยเจริญเต็มหลอดทดลองเร็วที่สุด ใช้ระยะเวลา 29 วัน เส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดเผาะ สามารถเจริญได้บนอาหารแข็งจากเมล็ดข้าวฟ่าง และเมล็ดข้าวไร่ ใช้ระยะเวลา 33 และ 42 วัน ตามลำดับ ส่วนเมล็ดข้าวฟ่างเหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ด ตะไคลขาว มากที่สุด ใช้ระยะเวลา 31 วัน และไม่สามารถชักนำให้สร้างดอกเห็ดได้ โดยพบลักษณะของเส้นใยที่อัดตัวกันแน่นเป็นตุ่มเล็กๆ ของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่าเท่านั้น จากการศึกษาการเข้ารากของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาในต้นกล้าก่อแป้น (Castanopsis diversifolia King.) ในสภาพโรงเรือน โดยวิธีการใส่หัวเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่าง พบว่าภายหลังจากการใส่หัวเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาให้กับต้นกล้าก่อแป้นเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจากเห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ และเห็ดตะไคลขาว สามารถเจริญเข้ารากของต้นกล้าก่อแป้นได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) โดยมีเปอร์เซ็นต์การเข้ารากเฉลี่ย 95.49, 97.78 และ 85.68 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Description: The isolated pure mycelium from 13 species wild edible ectomycorrhyzal fungi of were investigate optimal growth conditions, such as various agar medium of culture media (PDA, MEA, MMN, Hagem and Gamborg), temperature (25, 30 and 35oC) and pH (5, 6, 7 and 8). The isolated pure mycelium of Phlebopus portentosus LEL-CMRU 004, Astreaus hygrometricus LEL-CMRU 005 and Russula delica MTC-CMRU 013 had capability to grow in all tested culture media. PDA medium were considered to be best media. Growth of P. portentosus LEL-CMRU 004 was optimal at 30 and 35oC, pH 5 and 6. MMN and MEA medium were considered to be the best media for mycelium growth of A. hygrometricus LEL-CMRU 005. Optimal growth wen observed at 25 and 30oC, pH 5 and 6 in MEA medium. Growth of MTC-CMRU 013 was optimal at 35oC and pH 8. Growth in 5 type of cereal grain media such as sorghum grain, field corn, waxy corn, rice and barley grain was investigated. The mycelium of P. portentosus LEL-CMRU 004 grew best in sorghum grain within 29 days after inoculation. A. hygrometricus LEL-CMRU 005 grew best in sorghum grain and rice within 33 and 42 days, respectively. R. delica MTC-CMRU 013 grew best in sorghum grain within 31 days after inoculation. Further inocubation of P. portentosus LEL-CMRU 004 caused numerous agglomerations of mycelium. Root infection in Castanopsis diversifolia seedling by ectomycorrhizal fungi under greenhouse condition were evaluation of the inoculated with inoculums preputting in sorghum grain media. The hyphae of P. portentosus LEL-CMRU 004, A. hygrometricus LEL-CMRU 005 and R. delica MTC-CMRU 013 were able to colonize the roots of C. diversifolia (P < 0.05) with percent infection in host plant roots were 95.49, 97.78 and 85.68%, respectively.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/744
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)479.21 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)510.55 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)388.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)500.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)2.21 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)1.04 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)3.71 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)500.05 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)485.29 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.