Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/751
Title: โครงการวิจัยการพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Other Titles: The processing development of Cotton Handmade Weaving Groups in Donluang Village, Maerang Sub-district, Pasang District, Lamphun Province.
Authors: สิงฆราช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบัติ
Singkharat, Mr. Sombat
Keywords: โครงการวิจัยการพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ
กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศักยภาพและบริบทของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้าย ทอมือบ้านดอนหลวง ศึกษาต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรและพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดจำนวน 16 ราย รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยแบบประยุกต์ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบกัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิตร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการเปิดเวทีชาวบ้านศึกษาปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จัดทำโครงการศึกษาดูงานกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอดและอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาอุปสรรคในการผลิตและการรวมกลุ่มของกลุ่มผู้ผลิตอื่นๆ และจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวงเพื่อสร้างแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ลักษณะกิจการผลิตแบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ กิจการทอผ้า กิจการตัด-เย็บผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ กิจการทอผ้าและตัด-เย็บครบวงจรและกิจการทอตุง ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็น ผู้ดำเนินกิจการตัด-เย็บผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตผ้าม่าน ไส้หมอนหนุน เสื้อกระดุมจีนแขนสั้น เสื้อมัดย้อม กล่องทิชชูกลมติดหัวช้าง กางเกงขาก๊วย ผ้าปูโต๊ะ หมวกผ้าทอ กระเป๋าใบใหญ่ กล่องทิชชูกลม เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต การตั้งราคาขายและผลตอบแทนพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละของผลตอบแทนจากการขายส่งค่อนข้างต่ำคือ มีผลตอบแทนจากการผลิตที่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ถึง 7 รายการจาก 12 รายการที่ผลิตหรือคิดเป็นร้อยละ 58.3 มีรายการผลิตที่ให้ผลตอบแทนอยู่ระหว่างร้อยละ 10.0 – 20.0 จำนวน 4 รายการคิดเป็นร้อยละ 33.3 และมีเพียง 1 รายการที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 20.0 ดังนั้นผู้ผลิตหลายรายจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยการขายปลีก สำหรับผลตอบแทนจากการขายปลีกผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนระหว่างร้อยละ 11.1-38.7 สำหรับปัญหาของผู้ผลิตจากการสำรวจพบว่า ปัญหาการขาดผู้สืบทอดการทอผ้าฝ้ายเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับแรก รองลงมาคือปัญหาราคาวัตถุดิบสูง ปัญหาการขาดช่างฝีมือดี ปัญหาการขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปัญหาการขาดเทคโนโลยีการผลิตและการออกแบบและปัญหาการขาดความรู้ทางการตลาด การพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวงการวิจัยได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดอนหลวงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดอนหลวงปรับปรุงและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และออกแบบลายผ้าได้มากขึ้น กระตุ้นให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของตนให้ดีขึ้นสามารถหาตลาดและหาช่องทางการจัดจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น ผลการประเมินโครงการพบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจการจัดฝึกอบรมในระดับมากถึงมากที่สุด สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวงมีความสนใจและเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจำนวนมาก อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือเป็นสินค้าในลักษณะของแฟชั่นความนิยมของตัวสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการอบรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปัญหาการขาดผู้สืบทอดการทอผ้าฝ้ายนั้นทุกๆ ฝ่ายจะต้องช่วยกันรณรงค์เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาสนใจภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนจะต้องพยายามเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีบทบาทในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการทอผ้าและการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือและจะต้องกำหนดเป็นนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมให้เยาวชนอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาในการทอผ้าด้วยการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้สถานศึกษาและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดกิจกรรมต่างๆ ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องผลตอบแทนจากการผลิตต่ำนั้นผู้ผลิตจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากผู้ผลิตแหล่งอื่นๆ และจะต้องสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพของสินค้าจะต้องยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นพร้อมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าของตนเองให้เป็นรู้จักและยอมรับในคุณภาพซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นได้
Description: The purpose of this study was to investigate a general characteristic, a potential, a context, a production cost, revenue, a profit of a cotton handmade weaving production carried out by local people in Donluang village, Maerang sub-district, in Pasang district, Lumphun province in order to bring best practices to all aspects of its production processes. This applied research employed both a qualitative method and a participation action research for a sampling group of 16 local households. The analysis of data was completed by using frequencies, percentages, means, variants and standard deviations. Regarding the aforementioned action research, a wide variety of activities were carried out; i.e. a workshop, discussion, and a study visit to other successful groups. The findings indicated that these 16 producers was divided into 4 types: 1) cloth weaving 2 producers 2) cut out 11 producers 3) weaving and cut out 2 producers and 4) flag weaving 1 producer. These products are curtains, pillows, upper-body clothes, trousers, bed-cover, table-cover, hat, bag and others souvenirs made from cotton handmade weaving. The analysis of cost and return shows that 58.3 % of all products sold generate profits less than 10 %, 33.3 % of the products provide 10-20 % profit, and the rest brought the producers above 20 % in profit. As sales through retail channel could bring more profit than wholesale, it is suggested that the producers should give priority to the former. The problems concerned includes a continuity as their young generation are losing interests in this traditional products; a high cost of raw materials; and lacking of skilled labor, new technologies, new patterns to attract buyers, and relevant knowledge. In order to address the above problems, it is suggested that every parties involved including local administrations, schools, etc should help encourage young generation to be more interested in local wisdom so that this production skill could pass on to their children. Product differentiation is also crucial for a better price which is important of its survival. Packaging and brand building are recommended for future development.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/751
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)434.15 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)440.83 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)485.75 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)487.34 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)449.27 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)694.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)497.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)401.01 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)392.82 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.