Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/756
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียของประชาชน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
Other Titles: Factors Influencing the Willingness of People to Pay Sewage Treatment Fees in Chiangmai Municipal Area
Authors: ไทยเจริญ, สมิต
Thaicharoen, Smith
Keywords: บำบัดน้ำเสีย
ปัจจัย
Issue Date: 2547
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายในเรื่องดังกล่าวรวมทั้งรูปแบบและวิธีการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มจากประชากรในพื้นที่ศึกษา จำแนกเป็นกลุ่มตัวอย่างประเภทครัวเรือน จำนวน 405 ราย และกลุ่มตัวอย่างประเภทสถานประกอบการ จำนวน 264 ราย รวม 669 ราย และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean: ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 59.2 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียอยู่ในช่วง 26 – 50 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 31.0 โดยรวมมีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำโดยเฉลี่ย 114.06 บาทต่อเดือน โดยสถานประกอบการมีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียโดยเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครัวเรือน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 187.10 และ 63.65 บาทต่อเดือนตามลำดับ ในขณะที่ความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสีย เมื่อคิดเป็นสัดส่วนตามปริมาณน้ำประปาที่ใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเต็มใจจ่าย ในอัตรา 1 – 1.50 บาทต่อลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33.9 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีความเต็มใจจ่ายเฉลี่ย 2.26 บาทต่อลูกบาศก์เมตร โดยสถานประกอบการมีความเต็มใจจ่ายเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครัวเรือน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.55 และ 2.07 บาท ต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับส่วนหลักและวิธีการคำนวณค่าบริการบำบัดน้ำเสียเพื่อดำเนินการจัดเก็บ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้วิธีคิดเป็นสัดส่วนตามปริมาณน้ำประปาที่ใช้ คิดเป็น ร้อยละ 44.0 ส่วนวิธีการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าควรเก็บเป็นรายเดือนพร้อมกับค่าน้ำประปา คิดเป็นร้อยละ 45.2 และเห็นว่าเทศบาลนครเชียงใหม่ ควรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย คิดเป็นร้อยละ 79.7 ทั้งนี้ประชาชนคาดหวังว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลองน่าจะสะอาดขึ้น ภายหลังจากประชาชนให้ความร่วมมือจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียแล้ว คิดเป็นร้อยละ 70.0 จากการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว พบว่า 1) ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสถานะของผู้ให้สัมภาษณ์ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิก และรายได้ มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนตัวแปรด้านอายุ อาชีพหลักของหัวหน้าครัวเรือน มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ตัวแปรปัจจัยด้านการใช้น้ำ ด้านปริมาณการใช้น้ำประปา ค่าใช้จ่ายน้ำประปา มีความ- เต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนตัวแปรระยะห่างของทำเลที่ตั้งจากแม่น้ำลำคลอง กับความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสีย พบว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ตัวแปรปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านระดับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสีย มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนตัวแปรระดับการรับรู้ข่าวสาร มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนตัวแปรทัศนคติที่มีต่อปัญหาน้ำเสีย กับความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสีย พบว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ตัวแปรด้านค่าใช้จ่ายน้ำประปา ปริมาณการใช้น้ำประปา ระยะห่างของทำเลที่ตั้งจากแม่น้ำลำคลอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวน หรือพยากรณ์ตัวแปรตามได้ร้อยละ 50.1 (ค่า R2 = 0.501)จากผลการศึกษาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางสื่อประเภทต่างๆ อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ได้เกิดความตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียตามโครงการระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงใหม่ที่กำลังดำเนินการ เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำลำคลองในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ให้ยั่งยืนต่อไป
Description: The objective of this investigation was to study the willingness of people in Chiang Mai municipal area to pay for sewage treatment services and factors affecting their willingness as well asfeecollectionprocessofconcerned agencies. The study was a survey research and interviewing questionnaires were used to collect the data from 699 samples, divided into 405 households and 264 enterprises. The data were then analyzed byusingtheSPSS computer package to obtain percentage, mean and standard deviation. In addition, the One-Way ANOVA and Stepwise Multiple Regression Analyses were also employed.The findings revealed that most of the samples were willing to pay for the services at the high level (59.2%) and the fees should range between 26-50 baht per month (31.0%). On average, they were willing to pay 114.06 baht per month. Enterprises were willing to pay higher fees than households, averaging 187.10 and 63.65 baht respectively. In terms of water use ratio, most samples were willing to pay 1-1.50 baht per cubic meter, averaging 2.26 baht per cubic meter. Enterprises were willing to pay higher fees than households, averaging 2.55 and 2.07 baht per cubic meter respectively.With respect to fee calculation, 44.0% perceived that it should be based on the quantity used. As for fee collection, 45.2% agreed that the fees should be collected monthly together with water use fees. Furthermore, 79.7% agreed that the municipality should be in charge of fee collection and 70.0% expected that the quality of water in waterways would be cleaner after the sewage treatment fees were implemented.It is found from the One-Way ANOVA that personal factors influencing the willingness were status, education, number of household/ enterprises members and income, which were statistically significant at the 0.001 level, whereas age and occupation of household leaders were statistically significant at the 0.01 level.In terms of water use factors, it was discovered that quantity and expenditure of water use were statistically significant at the 0.001 level, while distance from waterways was not statistically significant.As for psychological factors, it was revealed that knowledge on water pollution problems was significant at the 0.001 level, level of information reception at the 0.01 level, while attitude toward water pollution problems was not statistically significant.The results of the Stepwise Multiple Regression Analysis revealed that factors influencing the willingness included water use expenditure, quantity of water use, distance from waterways, income and age. Dependent factors could be predicted at 50.1% (R2=0.501).It is recommended from the research findings that concerned agencies should disseminate the information on this issue through various media channels to raise awareness among municipal residents and encourage them to pay for the services under the sewage treatment project currently being carried out by the municipality so that a sustainable preservation of waterwaysintheurbanareacanbemaintained.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/756
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover447.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract768.81 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent631.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1530.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2899.39 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3555.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-41.22 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5560.66 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography463.42 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.