Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/766
Title: การบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ การสื่อสารชุมชน แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของท้องถิ่น จังหวัดชียงใหม่
Authors: ปิ่นทอง, ผู้ช่วยศาตราจารย์ทวีศักดิ์
Keywords: การบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ การสื่อสารชุมชน
แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของท้องถิ่น
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง “โครงการบูรณาการการจัดการเรียนรู้การสื่อสารชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น จังหวัดชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดองค์ความรู้จากความสำเร็จของการบูรณาการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดการเรียนรู้ ร่วมกันระหว่าง นักประชาสัมพันธ์ท้องถิ่น ทีมวิจัย และชุมชนเป้าหมาย ในการถอดองค์ความรู้จากความสำเร็จของโครงการบูรณาการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นทั้งสิ้น 10 แห่ง ผลการวิจัยสามารถถอดองค์ความรู้ของการบูรณาการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน อันเป็นแนวทางของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ตามขั้นตอนของกระบวนการถอดองค์ความรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการก่อนเริ่มกระบวนการถอดองค์ความรู้ ซึ่งนักวิจัยได้เตรียมการด้านบุคลากร (การสร้างนักประชาสัมพันธ์ประจำท้องถิ่น) การเตรียมการด้านงบประมาณในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ของชุมชน และการเตรียมการด้านการบริหารจัดการโครงการ ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ นักประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นเป็นผู้นำในการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินการถอดองค์ความรู้ ที่เริ่มจากการพัฒนาแนวความคิดและทักษะด้านการสื่อสารให้กับกลุ่มเป้าหมาย ให้รับรู้เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการใช้กระบวนการสื่อสารชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา โดยอาศัยนักประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และทักษะในด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ จนเกิดเป็นเครือข่ายการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาต่างๆ ผ่านทางการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในชุมชน และขั้นตอนที่ 3 กระบวนการหลังการถอดองค์ความรู้ จากการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พบว่าแผนงานที่วางไว้สามารถดำเนินการได้ตามกำหนด บางอย่างอาจแตกต่างจากแผนที่วางไว้ คือ มีการใช้แนวทางการประชาสัมพันธ์หลายภาคส่วนทั้ง การบอกปากต่อปาก การใช้แผ่นพับ การประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงป้ายโฆษณาและแบบจำลองสัญลักษณ์ของโครงการที่ได้จัดทำเผยแพร่ออกไป ทำให้เกิดผลตอบรับต่อโครงการเป็นอย่างมาก และสามารถเป็นต้นแบบของการดำเนินงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบูรณาการสื่อสารของชุมชนเพื่อการพัฒนาของชุมชนเองไปยังชุมชนอื่นต่อไป
Description: Integration of learning management for participatory communication to develop local socio-economic in Chiang Mai has the objective to distill the body of knowledge from the success of integration for participatory communication to develop local socio-economic in Chiang Mai. Participatory action research among researchers, local public relations and target group was conducted. Three steps of the process for distilling the body of knowledge are used; 1) preparing for distilling the body of knowledge; 2) distilling the body of knowledge and 3) the process after distilling the body of knowledge. The study can create the body of knowledge from integration of participatory communication in local community consisted of 1) using media to stimulate community to perceive their value; 2) create the confidence for every part to share their ideas and believe which should operate in community; 3) create the skill for creating media to community; 4) integration of communication let community to express their feeling, problems, analysis of the problems and how to solve them. The integration of participatory communication let every part in community to present the guidelines to solve problems and guidelines to develop socio-economic of community. As a result, local communities can distill the body of knowledge to develop their socio-economic of community; 5) each community can create a suitable pattern of communication for their communities which comes from learning and developing the communication of communities continuously. All of these medias consist of personal media, journal, pamphlet, billboard and radio; 6) local community can integrate the communication of community so that they can produce television media with a good quality and can present to public. Thus it can stimulate other communities to practice. After these local medias broadcasted through the National Broadcasting Services of Thailand, it makes other communities in seven provinces of the upper north realize the importance of communication with the development of local community efficiently so that it can be the model of development and be the guidelines to operate in accord with the vision of their local community development.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/766
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)422.84 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)398.62 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)470.81 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)439.54 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)690.57 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)480.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)700.84 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)463.77 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)434.11 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)410.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.