Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/787
Title: โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายผู้บริโภคผักปลอดสารพิษที่มีต่อการสนับสนุนการผลิตผักปลอดสารพิษ ของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
Authors: กิติบุตร, วิไลลักษณ์
Keywords: โครงการวิจัย
ผักปลอดสารพิษ
เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2550
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: โครงการวิจัย “โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายผู้บริโภคผักปลอดสารพิษที่มีต่อการสนับสนุนการผลิตผักปลอดสารพิษของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนาให้เกิดเครือข่ายผู้บริโภคผักปลอดสารพิษ และเพื่อให้เกิดการสนับสนุนการผลิต ผักปลอดสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระบบวิธีวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ระหว่างกลุ่มผู้บริโภคผัก ปลอดสารพิษ กับหน่วยภาคีระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายผู้บริโภค กับผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นมาผลการศึกษาตลอดระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ นักวิจัยและหน่วยงานภาคี ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคผักปลอดสารพิษ ในจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นมา โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย คือ กลุ่มผู้บริโภคอาหารเจ และอาหารมังสวิรัติ ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีอัตราการบริโภคผักในปริมาณและอัตราส่วนสูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นโดยทั่วไป แนวคิดหนึ่งของนักวิจัยคือ เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ซึ่งรับประทานผัก เป็นประจำ ได้ตระหนักถึงความสะอาดและปลอดสารพิษในผักแล้ว จะส่งผลต่อการประกอบการอาหาร ของร้านค้าเจ และมังสวิรัติ ให้ตระหนักถึงการใช้ผักปลอดสารพิษในการประกอบอาหารจำหน่าย และสามารถรวมกลุ่มกันเกิดเป็นเครือข่ายผู้บริโภคผักปลอดสารพิษ ในลำดับต่อไปได้ การสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการสนับสนุนผักปลอดสารพิษใน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 543 ชุด ซึ่งเป็นผู้บริโภคอาหาร ในร้านอาหารเจ และร้านมังสวิรัติ ทั้งสิ้น 23 ร้าน ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การตระหนักถึงพิษภัยของการบริโภคผักที่มีสารพิษตกค้าง ประเด็นที่สอง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของผักประเภทต่างๆ ประเด็นที่สาม ความสนใจต่อการบริโภคผักปลอดสารพิษ ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ ประเด็นที่สี่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ผักปลอดสารพิษในร้านอาหาร ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ ประเด็นที่ห้า ข้อเสนอแนะต่อการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความปลอดภัยของผักในร้านอาหารเจ และมังสวิรัติ จังหวัดเชียงใหม่ ผลที่ได้จากการสำรวจนำมาซึ่ง การวางแผนการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการร้านอาหารเจ และร้านอาหารมังสวิรัติ ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการผลิตผักปลอดสารพิษ ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริโภครายเดี่ยวในครัวเรือน กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มร้านอาหารเจ และกลุ่มที่สาม คือ กลุ่มร้านอาหารมังสวิรัติผลการศึกษาสรุปได้ว่า กลุ่มผู้บริโภครายเดี่ยวในครัวเรือน ถึงแม้จะมีการบริโภคผักที่ปลอดภัยระดับหนึ่งแล้ว แต่การที่จะสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงสู่การสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษได้นั้น เป็นเรื่องยาก ทั้งนี้เพราะปัจจัยสำคัญของการเลือกซื้อผักของผู้บริโภคกลุ่มนี้คือ ความสะดวกเป็นหลัก ตลาดไหนมีความสะดวกมากที่สุดก็จะเลือกซื้อที่ตลาดนั้น ยิ่งพ่อค้าเร่มาขายที่บ้านแล้วก็จะตัดสินใจซื้อได้ทันที ในลักษณะนี้การที่จะสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้รับประทานผักที่ปลอดภัยได้ ควรจะส่งเสริมในเรื่องของการทำให้ผักสะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร เช่น การแช่ และล้างผักอย่างถูกวิธี จึงเหมาะสมมากสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้สำหรับการประเมินทิศทางการสนับสนุนการผลิตผักปลอดสารพิษของเกษตกรจากผู้ประกอบการร้านค้าอาหารเจ พบว่าได้รับการสนับสนุนน้อยมาก ทั้งนี้เพราะผู้ประกอบการยังคงต้องหวังกำไรจากการทำอาหารขาย จึงต้องซื้อผักในราคาถูก และส่วนใหญ่ก็จะซื้อผัก ในสถานที่สะดวก เช่น ตลาดสด ตลาดเมืองใหม่ ซื้อในปริมาณมากในราคาขายส่ง สามารถต่อรองราคาได้ หากเป็นชาวไทยภูเขามาขายจะชอบมากเพราะสามารถซื้อได้ราคาถูกเป็นพิเศษการสนับสนุนต่อการผลิตและการใช้ผักปลอดสารพิษภายในร้านมีโอกาสเป็นไปได้ยากถึงแม้จะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยจากสารเคมีเป็นอย่างดี แต่การปฏิบัติกลับสวนทางกันและสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการอาหารมังสวิรัติ ถือได้ว่ามีเพียงกลุ่มผู้ประกอบการเพียง กลุ่มเดียวเท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จ 100% ที่สามารถส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อนำมาประกอบอาหารขาย คือ “ชมรมมังสวิรัติ เชียงใหม่” ซึ่งชมรมดังกล่าวได้สนับสนุนให้สมาชิกของกลุ่ม และชาวบ้าน ได้ทำการปลูกผักปลอดสารพิษ และนำมาจำหน่ายให้ชมรมในนามของ “เกษตรกรไร้สารพิษ” ซึ่งตรงนี้ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 100% และถึงแม้ความเป็นไปได้ค่อนข้างมากแต่ก็ยังคงมองเห็นถึงปัญหาของการขยายผลอยู่ ทั้งนี้เพราะต้นแบบที่ดี (Best Practices) นี้ จะใช้ได้กรณีกับลักษณะผู้ประกอบการที่มีลักษณะบริบท (Context) คล้ายกับชมรมดังกล่าว กล่าวคือ ต้องมีลักษณะคุณธรรมจริยธรรมสูง มีการปฏิบัติตนต่อความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง (รากเหง้าของชมรมหรือที่มาของกลุ่ม มาจากกลุ่ม “อโศก”)จากผลการวิจัยดังกล่าว นักวิจัยมีความหวังว่าในระยะต่อไป เมื่อมีการให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น ความสำคัญต่อการบริโภคผักปลอดสารพิษก็จะสูงขึ้นตามลำดับและจะส่งผลต่อการสนับสนุนการผลิตผักปลอดสารพิษในลำดับต่อไปได้
Description: Development clean vegetable of consumers’ network to promote Chiang Mai clean vegetable agriculturists. This study has the objectives mainly to create network of clean vegetable consumers and to promote Chiang Mai agriculturists for producing clean vegetables.Participatory action research between group ofcleanvegetable consumers and provincial parties such as Chiang Mai Chiang Mai Provincial PublicHealth,ChiangMaiagriculture Department and Chiang Mai University cropping center has been conducted to develop network of Chiang Mai clean vegetable consumers.Researchers and these parties had surveyedChiangMaicleanvegetableconsumers. The sample of this study is Chiang Mai vegetarian because they consume vegetables much more than other consumers. If the vegetarians aware of the cleanness of clean vegetables, this will have the impact to the owners of vegetarian food. That is they will realize and use clean vegetable for cooking. As a result, network of clean vegetable consumers will occur.543 copies of questionnaires had been distributed to look for consumers’ behavior towards promoting Chiang Mai clean vegetables. All kinds of these consumers have had totally 23 vegetarian shops in Chiang Mai. The context of survey deals with 1) consumers’ awareness towards the danger of consuming pesticide vegetables 2) consumers’ understanding for safety vegetables 3) Chiang Mai consumers’ interested in consuming clean vegetables;4) Chiang Mai consumers’ opinions towards using clean vegetable in food shops 5) suggestion for public relations concerning safety vegetables inChiangMaivegetarian shops.The result of study can be the base to plan for the participation of Chiang Mai vegetarian entrepreneurs in order to promote to grow clean vegetables in Chiang Mai.There are 3 groups of participants joining in this research project. The first group is individual consumers in the household. The second group is vegetarian shop (J food shop). The third group is vegetarian shop (Mugsavirut food shop).The study found that groups of individual consumers in the household consume clean vegetables. They however select to purchase clean vegetables by emphasizing the convenience. This behavior is thereby hard to promote agriculturists to grow clean vegetables. To promote groups of individual consumers to consume clean vegetable is thereby tosuggest them how to clean vegetables correctly before cooking.To evaluate the direction to promote agriculturists to produce clean vegetables, it found that entrepreneurs of vegetarian shop have pay less attention to promote these agriculturists. They have still wanted profit. As a result, they want to purchase inexpensive vegetables at the convenient place such as fresh market, Muang Mai market where they can bargain and purchase a large amount of vegetables. They prefer to purchase clean vegetables from hill tribe people who can give them a special price. It is very difficult to promote all of these entrepreneurs to use clean vegetables.There is only one group of vegetarian entrepreneurs “Chiang Mai vegetarian club” who succeed in promoting its members and villagers to grow clean vegetables on behalf of free pesticide agriculturists. The group has been awarded 100 % standard of organic agriculture. It is however, difficult to enlarge the study for other groups. This best practice can be a model and used only in entrepreneurs who have a similar context with this club. That is they should have morality and honesty for themselves and other people.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/787
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
cover.pdfCover443.32 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract366.88 kBAdobe PDFView/Open
content.pdfContent523.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1528.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2761.01 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3529.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4664.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5722.97 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6574.89 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography466.68 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix720.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.