Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/790
Title: รายงานการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวไทลื้อโดยองค์กรชุมชนบ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Research and Development on Thai-Lue Museum by Baan Luang Tai
Authors: อุดาการ, เยี่ยมลักษณ์
Udakaan, Yiamluck
Keywords: การวิจัย
ชาวไทลื้อ
บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2550
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพบริบทและสภาพวิถีชีวิตของชาวไทลื้อในอดีตและปัจจุบันของชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ ( 2 ) ศึกษาการพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตโดยองค์กรชุมชนอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นวิธีวิจัยการดำเนินการใช้การจัดเวทีประชาคม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาดูงาน สังเกตและจดบันทึก เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยกรอบคำถามแบบเปิดในการสัมภาษณ์ระดับลึก ประเด็นการสนทนากลุ่มเป้าหมาย แบบสอบถามประวัติปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ได้รับการยอมรับเป็นผู้รู้ด้านวิถีชีวิตในชุมชนไทลื้อ และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าผลการวิจัยพบว่า ชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่มีอยู่ 4 ชุมชนได้แก่บ้านลวงเหนือ( หมู่ที่ 5 ) บ้านลวงใต้(หมู่ที่ 8) บ้านป่าคา(หมู่ที่ 4) และบ้านโป่งกุ่ม(หมู่ที่ 3)และเป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากแค้วนสิบสองปันนาที่อยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน วิถีชีวิตของชาวไทลื้อในอำเภอดอยสะเก็ดอยู่ด้วยกันอย่างเรียบง่ายอาชีพหลักคือเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ปลูกผักซึ่งผลผลิตจะเอาไว้กินในครอบครัวหากเหลือก็จะนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค่าอื่นๆ ที่จำเป็นมาใช้ในชีวิตประจำวัน ชาวไทลื้อมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตนเองตั้งแต่ด้านภาษาพูด – เขียนการแสดงและการละเล่นคติและความเชื่อ ซึ่งชาวไทลื้อยังมีความเชื่อในเรื่องผีและสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติจึงมีผลต่อพิธีกรรมในวิถีชีวิตหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกันการเซ่นไหว้ การไหว้ผีปู่ย่า พิธีมัดเขาควาย พิธีขอฝน เป็นต้น การตั้งถิ่นฐานจะเลือกพื้นที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำเป็นที่อยู่เพราะ ชีวิตครอบครัวชาวไทลื้อเป็นครอบครัวขนาดเล็กผัวเดียวเมียเดียวซึ่งคนไทลื้อจะให้ความสำคัญทั้งญาติทางพ่อและญาติทางแม่ อำนาจในครองครัวจะนิยมให้บิดาเป็นใหญ่ ชาวไทลื้อมีอิสระในการเลือกคู่ครองและเมื่อแต่งงานแล้วส่วนใหญ่ผู้ชายจะเข้ามาอยู่บ้านครอบครัวฝ่ายหญิง ครอบครัวและเครือญาติของชาวไทลื้อมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของคนในหมู่บ้านทำให้เกิดเสถียรภาพแก่ชุมชนสภาพบริบทของชุมชนไทลื้อในอำเภอดอยสะเก็ดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากสภาพวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมหายไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบทั้งชุมชนชาวไทลื้อ ทั้ง 4 ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากชุมชนเมืองเชียงใหม่ จึงได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้ด้วย สำหรับปัจจัยภายในชุมชนก็มีส่วนที่ทำให้สภาพการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตของชาวไทลื้อแบบดั้งเดิมหายไปด้วย ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาชุมชนก็ยังมีการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทลื้ออย่างจริงจัง จึงทำให้เยาวชนรุ่นต่อมาขาดความรู้ในวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่เป็นรากเหง้าของตนเองเป็นต้น สำหรับรูปแบบพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทลื้อ อ.ดอยสะเก็ด นั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจและร่วมใจของชาวไทลื้อ 4 ชุมชน ของอำเภอดอยสะเก็ด ที่บริจาคเงินซื้อที่ดิน และได้รับเงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอยสะเก็ด สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวไทลื้อซึ่งอาคารเป็นรูปบ้านแบบไทลื้อแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2549 และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวไทลื้อที่จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตไทลื้อ 8 ด้าน ได้แก่ ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชาวไทลื้อ องดอยสะเก็ด การประกอบอาชีพของชาวไทลื้อ อาหารของชาวไทลื้อ บ้านไทลื้อ การแสดงและการละเล่นของไทลื้อ การทอผ้าไทลื้อ การแต่งกาบไทยลื้อ เครื่องใช้ในชิตประจำวันของชาวไทลื้อ ข้อมูลที่จะจัดนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ การสาธิต CD rom และเว็บ ไซด์ (WWW.tambondoisaket.org l tailuemuseum) นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ การสาธิต การทอผ้าไทลื้อ พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตไทลื้อแห่งนี้บริหารจัดการโดยองค์กรชุมชนโดยแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่คัดเลือกจากตัวแทนชุมชน
Description: This research aims to (1) study the context and Thai-Lue’s ways of life both in the past and at present in Doi-Saket District, Chiang Mai Province and (2) to study the development on museum pattern and management by Doi-Saket Community, Chiang Mai Province. The application of participatory research is used as the research process such as community meeting, focus group discussion, in-depth interview, study tour, observation and note-taking. The research tools are the open-ended question scheme for in-depth interview, the discussion topics and the target groups. The questionnaires on the history of the experts on community way of life and the tri-angular check are also used.The results show that there are 4 communities of Thai-Lue in Doi-Saket District, Chiang Mai Province.They are Baan Luang Nua (Moo 5), Baan Luang Tai (Moo 8), Baan Pa Kha (Moo 4), and Baan Pong Kum (Moo 3). The ancestors of these people came from Sip Song Panna, south ofYunanPrefection, Republic of China. Thai-Lue in Doi-Saket District, Chiang Mai Province still keeps their simple, sufficient ways of life. Their main career deals with agriculture such as farmers, gardeners, and vegetable growers. All the products are for the families, the left is exchanged for everyday used appliances. The out-standing cultural unique of Thai-Lue are spoken and written language, cultural dances, and believes. Thai-Lue believes in spirits and super natural which influence on ways of life’ ceremonies such as the worship of grandparents’ spirits, the tie ritual of the buffalo’s horns, and the rain praying ritual. Thai-Lue prefers to settle down near the river. They conform single family and they are free to choose their partners. After marriage, the man has to stay with the woman family to help with the family jobs. The man is the leader of the family. The kinship relationship is strong leads to the community potential and security.The context of Thai-Lue communities in Doi-Saket District,Chiang Mai Province has changed due to the rapidly social changes and the ITgrowth.Besidesthe4communities are not far from the Chiang Mai urban leading to community changes. Moreover, the community inside factors results in Thai-Lue ways of life. During the past 10 years, for example, the youngsters do not conform their original ways f life result from the inheritance of Thai-Lue ways of life has been weakened.The Thai=Lue museum in Doi-Saket District, Chiang Mai Province was established by the participation of the 4 thai-Lue communities beginning from the donation to buy the land and the support from Doi-Saket District Administrative Organization and the Thai-Lue style museum building was completed in 2006. The 8 ways of life of Thai-Lue were displayed in the museum: Doi-Saket Thai-Lue history, Thai-Lue careers, Thai-Lue food, Thai-Lue houses, Thai-Lue dances and games, Thai-Lue cloth weaving, Thai-Lue dressing, and Thai-Lue everyday used tools. All the information are displayed in the form ofexhibition,demonstration,CDrom,andwebsite(WWW.tambondoisaket.org 1 tailuemuseum). Besides, the committee selected from community delegates also display and demonstrate Thai-Lue cloth weaving.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/790
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover4.61 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract4.62 MBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent4.61 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-14.64 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-24.77 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-34.75 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-44.92 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-54.74 MBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography4.61 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.