กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/815
ชื่อเรื่อง: การกระจายและฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (พีเอ็ม2.5) ในอากาศภายนอกและภายในอาคาร วิทยาเขตเวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Distribution and Mutagenicity of Fine Particulate Matter (PM2.5) in Outdoor and Indoor Air of Wieng Boa Campus, Chiang Mai Rajabhat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉุนรัมย์, อาจารย์ ดร.ณรงค์พันธ์
Chunram, Dr. Narongpan
คำสำคัญ: การกระจายและฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: Chang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายและฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (พีเอ็ม2.5) ในอากาศแล้วนำมาเปรียบเทียบระหว่างอากาศภายนอกและอากาศภายในอาคารที่มีและไม่มีเครื่องปรับอากาศ โดยทำการตรวจวัดหาระดับรายวันของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก 2.5 ไมโครเมตร (พีเอ็ม2.5) ในอากาศภายนอกและภายในอาคาร วิทยาเขตเวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2550 ถึง เดือน เมษายน 2551 อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กถูกเก็บด้วยกระดาษกรองที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 47 มิลลิเมตร โดยใช้เครื่องเก็บอากาศขนาดเล็ก ส่วนข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่ระดับความสูงจากพื้น 6 เมตร ได้ข้อมูลจากสถานีอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือที่อยู่ใกล้กับจุดเก็บตัวอย่าง ทำการสกัดแผ่นกรองเก็บอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กด้วยสารตัวทำละลายไดคลอโรมีเทน โดยใช้เครื่องแรงสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูง แล้วนำสารสกัดไปทดสอบฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อแบคทีเรียสัลโมเนลลา ธัยฟิมิวเรียม สายพันธุ์ TA98 และ TA100 ในภาวะที่มีหรือไม่มีการกระตุ้นด้วยเอนซัยม์ ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก(พีเอ็ม2.5) โดยน้ำหนัก ภายนอกอาคารอยู่ในช่วง 25.22 ถึง 53.31 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยรายเดือนของอนุภาคฝุ่นภายในอาคารที่มีและไม่มีเครื่องปรับอากาศ อยู่ในช่วง 17.34 ถึง 35.61 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 19.93 ถึง 43.30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อแบคทีเรียสัลโมเนลลา ธัยฟิมิวเรียม สายพันธุ์ TA98 และ TA100 ในภาวะที่มีหรือไม่มีการกระตุ้นด้วยเอนซัยม์ พบว่ามีผลต่อการกลายพันธุ์ของแบคทีเรียดังกล่าวทั้งแบบโดยตรงและโดยผ่านเอนซัยม์ โดยตรวจพบฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์มากที่สุดทั้งอากาศภายนอกและภายในอาคาร ระดับรายวันของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กภายในอาคาร มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามระดับรายวันของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กภายนอกอาคาร ค่าที่วัดได้มีค่ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้โดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา โดยค่าเฉลี่ยรายวัน (24 ชั่วโมง) กำหนดไว้ไม่เกิน 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังพบว่าในบางช่วงเวลาระดับรายวันของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กภายในอาคารจะมีค่ามากกว่าระดับรายวันของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กภายนอกอาคาร ซึ่งอาจจะมาจากรูปแบบและกิจกรรมภายในอาคารของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้พบว่าฤทธิ์การก่อการกลายพันธุ์ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (พีเอ็ม2.5) ไม่มีความแตกต่างกัน ที่เก็บตัวอย่างมาจากอากาศภายนอกและภายในอาคารในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจเนื่องมาจากแหล่งกำเนิดของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กเป็นแหล่งเดียวกัน โดยสรุปอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กภายนอกอาคารมีผลกระทบต่ออนุภาคฝุ่นภายในอาคารทั้งบริเวณห้องที่มีและไม่มีเครื่องปรับอากาศ อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กภายในอาคารที่ระดับความเข้มข้นสูงๆ อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพต่อผู้ที่อยู่อาศัยและทำงานภายในอาคารได้ โดยเฉพาะอากาศภายในอาคารที่มีสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศจะมีผลต่อสุขภาพของผู้คนในบริเวณนั้นๆ ซึ่งควรจะได้ทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติมต่อไปอีก
รายละเอียด: The purpose of this research was to quantify the distribution and the mutagenicity of outdoor and indoor PM2.5, and then to compare between outdoor air and indoor air with/without air condition. Twenty-four hour measurements of PM2.5 particulate matter have been carried out during the period between the 1st December 2007 and the 30th April 2008 of Wieng Boa Campus, Chiang Mai Rajabhat University. PM2.5 samples were collected on 47 mm filters, with the use of Airmetric MiniVol® portable air samplers while a meteorological station recorded meteorological data 6 m above the ground, nearby the sampling instrumentation. Twenty-four hour air particulate matter samples were extracted with dichloromethane by ultrasonication. The organic extracts of PM2.5 were tested by short-term mutagenicity bioassays using Salmonella tester strains TA98 and TA100, with and without metabolic activation (S9). The monthly averages for outdoor PM2.5 mass concentration of Wieng Boa Campus ranged from 25.22 to 53.31 g/m3. The corresponding monthly averages for mass concentration of indoor PM2.5 of two sampling sites (air condition and no air condition room) ranged from 17.34 to 35.61 g/m3 and 19.93 to 43.30 g/m3, respectively. The indoor PM2.5 levels more closely follow the outdoor PM2.5 levels and mass concentrations of PM2.5 (24 h average) during the sampling period of Wieng Boa Campus, Chiang Mai Rajabhat University were higher than the US Environmental Protection Agency (USEPA), PM2.5, the 24 h standard of 35 g/m3. The indoor PM2.5 levels in sampling sites were sometimes higher than outdoor level; these may be due to individual behavior patterns and indoor activities at the sites. The study showed that direct mutagenicity with TA98 and TA100 strains in airborne particulate matter extracts, from outdoor and indoor PM2.5 of Wieng Boa Campus, Chiang Mai Rajabhat University, was detected during the winter months (December to March). Indirect-acting mutagenicities were detected in all samples. The mutagenicities became positive, and were higher, in the presence of enzyme activation (S9 mix). The relationship between the outdoor and indoor air concentrations of PM2.5 was clear. The mutagenic pattern was not difference between indoor and outdoor samples collected at the same period of Wieng Boa Campus, Chiang Mai Rajabhat University which could be attributed to the same sources of airborne responsible for the genotoxicity in the ambient air. In conclusions, the outdoor PM2.5 has impact on the indoor PM2.5 of Wieng Boa Campus and the results of the PM2.5 studies presented here have implications for future research as well as efforts to regulate particulate matter and to improve the health of Chiang Mai Rajabhat University residents.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/815
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover (ปก)435.41 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)460.51 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)509.22 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)438.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)933.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)556.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)679.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)464.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)443.47 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น