Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/816
Title: วิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ และศักยภาพธุรกิจชุมชน ตามโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Analysis of Product Design and the Potentiality of Community Business, Hang-Dong District, Chiang Mai
Authors: โสมดี, อัญชลี
และคณะ
Somdee, Anchalee
Keywords: การออกแบบผลิตภัณฑ์
ธุรกิจชุมชน
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2550
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: แผนงานวิจัย วิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ และศักยภาพธุรกิจชุมชนตามโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และศักยภาพธุรกิจชุมชน ของกลุ่มธุรกิจชุมชน คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เดินเส้นลวดลาย กลุ่มผลิตภัณฑ์กรอบรูปไม้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักกลุ่มผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน กลุ่มผลิตภัณฑ์ศิลปะประดิษฐ์ และของตกแต่งบ้านรวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มธุรกิจชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการในตำบลขุนคง ตำบลบ้านแหวน ตำบลหนองควาย ตำบลสันผักหวาน ตำบลน้ำแพร่ ตำบลหารแก้ว ตำบลหนองแก๋ว ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถามการจัดเวทีประชาคม การปฏิบัติการและทดลองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ การศึกษาดูงาน เป็นต้น ผลการวิจัย พบว่า จากการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มธุรกิจชุมชนทั้ง 6 สาขา มีปัจจัยในการออกแบบตามลักษณะชิ้นงานและประเภทของงาน เนื่องจากขนาดของชิ้นงาน มีขนาดไม่เท่ากัน และความแตกต่างของประเภทชิ้นงานก็ต่างกัน รวมถึงวัตถุดิบที่นำมาใช้งานก็สามารถเป็นตัวกำหนดขนาดของชิ้นงานอีกด้วยในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น กลุ่มธุรกิจชุมชนไม่มีการพัฒนารูปแบบเท่าที่ควรในหลายปีที่ผ่านมา โดยจะเป็นการผลิตในแบบซ้ำเดิม หรือประเภทเดิมตามที่ตนเองสามารถจำหน่ายได้ตลอดเวลา รวมถึงราคานั้นยังไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพราะปัญหาการตัดราคากันเองของผู้ประกอบการ การแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดควรออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ทันสมัย ควรเน้นประโยชน์ใช้สอยให้มากกว่าเดิม ควรปรับปรุงด้านขนาดความสวยงามความประณีตของงาน และคุณภาพโดยรวม การวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการของธุรกิจชุมชน ด้านการบริหารทรัพยากรคน เงิน งาน วัสดุอุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพนั้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเดียว มีการทำงานทุกขั้นตอนทั้งหมด และมีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้ดำเนินงาน เป็นผู้กระจายงานให้แก่ผู้ประกอบการเป็นรายไป โดยทำตามความสามารถของผู้ประกอบการเอง ด้านการบริหารทรัพยากรคนส่วนใหญ่การบริหาร เป็นการสอนงานกันเองภายในครอบครัว เช่น พ่อสอนแม่ แม่สอนลูก พี่สอนน้อง และสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น วัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆวัสดุหลักที่สำคัญจะได้มาจากพ่อค้าคนกลางเป็นคนประสาน และจัดหาให้ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินงาน แต่ในกรณีที่ผลิตทุกขั้นตอนจะต้องลงทุนจัดหาวัสดุเอง ศักยภาพด้านการตลาด ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งพ่อค้าคนกลาง และจำหน่ายเองในชุมชน และต่างพื้นที่ ขาดความรู้ ด้านการวางแผนการตลาด เป็นการดำเนินธุรกิจที่ยังขาดระเบียบ และมีการบริหารที่ไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร
Description: The research on “The Analysis of Product Design and the Potentiality of Community Business in Hang Dong district, Chiang Mai province” aims to 1) analyze local product design, packaging, 2) analyze the potentiality of business management; e.g. ‘Dern Sen’ Product,WoodenFramePictureProduct,WoodCarvingProduct,Handicraft and Home - Decorated Product including food products. The population and sampleofthisresearchiscommunity business groups and entrepreneur groups in Khun Khong, Ban Waen, Nhong Khwai,San Phakwan, Nam Phrae, Harn Kaew, Nhong Kaew, Nhong Tong sub-districts, Hang Dong district, in Chiang Mai province. The instrument used for data collection is observation, in-depth interview, questionnaire, public community,operation and experiment for product development and study trip.The research results show that the design of local handicraft product involves with size and feature of the piece of work. Due to unmatched size and difference of materials including the materials provided, handicraft product has unqualified quality. Regarding to design, it has not been properly accomplished in past years. The prices are also not proper with the product due to price undercutting among business groups. The exact solution for this matter should be modern product design focusing on more utility, improving size, appearance, fineness and overall quality in proper prices. Regarding to the analysis of the potentiality of business management, especially on human resources, money, material and work procedure management, initially, it is found that all 10 business groups are mostly sole entrepreneur who manage all working process, and middleman is the person who operates by spreading work to each entrepreneur. This way, the craftsmen’s ability in human resource management is likely a management in family; e.g. father to mother, mother to son, elder brother to younger brother, andcarriesdowntonextgenerations. Major materials and equipment come from the middleman as coordinator and supplier if theentrepreneurcomes to operate. However, in case of the production by the entrepreneur, the entrepreneur has to invest and provide materials by himself. In most marketing, it is a production to distribute to middleman and sell by him. This business operation still lacks of management protocol, and the management still does not meet the certified standard.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/816
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover433.66 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract440.29 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent470.85 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1605.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-21.03 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3624.05 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-41.21 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5768.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6436.49 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography446.31 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.