Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1240
Title: การศึกษาพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The development of movement skills of preschoolers. School Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai.
Authors: อภิสิทธิ์, ชัยมัง
Apisit, Chaiyamang
Keywords: การพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
เด็กก่อนวัยเรียน
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กก่อนวัยเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กก่อนวัยเรียนทั้งเพศชายและหญิงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ที่มีอายุระหว่าง 2 - 3 ปี แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 20 คน และเพศหญิง จำนวน 22 คน รวมจำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling)และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กก่อนวัยเรียน ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบสมรรถภาพเพื่อประเมินทักษะการเคลื่อนไหวทางร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียนมีความใกล้เคียงกัน และไม่มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง รวมทั้งรู้จักการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการเล่นและออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งในรายการแรงบีบมือ, โยนและรับลูกบอล, นั่งงอตัว เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศชาย ส่วนในรายการวิ่งเก็บของ, กลิ้งลูกบอลให้รับซ้าย - ขวา และยืนทรงตัว เพศชายมีค่าเฉลี่ยมากว่าเพศหญิง และมีบางรายการที่จะต้องมีการปรับปรุงคือทักษะการยืนทรงตัวทั้งเพศชายและเพศหญิง เด็กก่อนวัยเรียนยืนทรงตัวได้ไม่นานเท่าที่ควร ซึ่งทักษะการยืนทรงตัวจะมีค่าในระดับพอใช้ทั้งเพศชายและเพศหญิงเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์
Description: The research was to study The development of movement skills of preschoolers. School Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. The population used in this research. Pre-school children both male and female Demonstration School, Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai In the first semester of the academic year of 2018, between the ages of 2 and 3 years, there were 20 males and 22 females. A total of 42 students were sampled by simple random sampling. The research consisted of the physical fitness test of preschool children. The research found that The physical fitness test of preschool children was similar. There are no differences in age between males and females. Including stretching before and after playing and exercise as well. In the list of hand force force, throw and take the ball, sitting bent female than the average male. In the running list, roll the ball to get left-right and stand steady. The male is more average than the female. Some items that need to be improved are standing skills for both males and females. Preschoolers stand still for as long as possible. The skill of standing is stable at both male and female level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1240
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover606.68 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract230.43 kBAdobe PDFView/Open
4.Contenter.pdfContenter406.36 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-1.pdfChapter-1425.94 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-2.pdfChapter-2503.06 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-3.pdfChapter-3396.42 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-4.pdfChapter-4673.6 kBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-5.pdfChapter-5406.22 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography407.18 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix784.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.