กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1247
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนสมาธิสั้นระดับประถมศึกษาโดยใช้ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive technology) เป็นสื่อเพื่อส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ความคิดสร้างสรรค์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Development of the English Course Using Assistive Technology to Enhance Students with ADHD’ English Reading Comprehension Ability, Creativity and Self-efficacy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา, สงวนงาม
คำสำคัญ: วิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้เรียนสมาธิสั้น
ภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
ส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ
อ่านภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนสมาธิสั้น
Assistive technology
Development of the English
English
Self-efficacy
ADHD
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะพัฒนารายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสื่อเพื่อส่งเสริมความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ความคิดสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตัวเองของระดับประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยการพัฒนารายวิชาดังกล่าวมีฐานมาจากความต้องการที่แท้จริงตามบริบทของรายวิชาที่จะพัฒนา วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อบ่งชี้องค์ประกอบที่ประเด็นของรายวิชาที่พัฒนา และเพื่อศึกษาว่ารายวิชาและบทเรียนที่ประกอบด้วยองค์ประกอบดังกล่าวที่สร้างขึ้นจากข้อมูลและความต้องการต่อรายวิชาสามารถเพิ่มพูน พัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การพัฒนารายวิชา และการประสิทธิภาพของรายวิชา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพัฒนารายวิชาประกอบด้วย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบริบทของรายวิชา การสัมภาษณ์นักเรียนสมาธิสั้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครูผู้สอนและผู้ปกครองของนักเรียนสมาธิสั้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาวิชา จำนวน 3 ท่านตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย และได้นำรายวิชาที่ได้รับการพัฒนาแล้วไปทดลองสอนกับนักเรียนที่มีสมาธิสั้นที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มผู้เรียนจริง งานวิจัยได้กระทำขึ้นโดยเก็บข้อมูลกับ นักเรียนสมาธิสั้นที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรายวิชาประกอบไปด้วยเครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูลทางด้านปริมาณและคุณภาพ ข้อมูลทางด้านปริมาณเก็บรวบรวมจากทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ภาพที่สร้างขึ้นโดยการใช้แอปพลิเคชั่นพร้อมการเขียนบรรยายและแบบสอบถามในแง่ของการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านคุณภาพประกอบด้วย การบันทึกของครูผู้สอน ข้อมูลทางด้านปริมาณถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติเพื่อการวิเคราะห์ด้วย Paired-Sample t-test โดยโปรแกรม SPSS ส่วนข้อมูลทางด้านคุณภาพถูกวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยโปรแกรม Hyper Research ผลการวิจัยปรากฏว่าองค์ประกอบที่ตรงประเด็นของรายวิชาที่พัฒนาประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เป็นการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอลแอปพลิเคชันที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ตลอดจนการเรียนแบบการเน้นการปฏิบัติงานพร้อมด้วยสื่อดิจิตอลแอปพลิเคชันสำหรับการวาดภาพ นอกจากนี้ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการแทรกแซงทางพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมทางการเรียนถือเป็นส่วนสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนมีการพัฒนาการสูงขึ้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.05 อีกทั้งยังพบว่าผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์มีการพัฒนาการสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนพบว่าผู้เรียนแสดงการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก ดังนั้นรายวิชาที่พัฒนานี้สามารถสนองตอบความต้องการของผู้เรียนสมาธิสั้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนอื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกันได้
รายละเอียด: This study was aimed to develop an English course using assistive technology for students with ADHD at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School. The course was designed based on a needs analysis and related literature. The objectives of the study were to identify the components of the course and to evaluate its effectiveness in enhancing learners’ English reading comprehension ability, creativity and self-efficacy. The two main phases in this study are the course development and the course effectiveness. For the development phase, a needs analysis was conducted and related literature were reviewed , analyzed and synthesized. The instruments for the needs analysis included a document study and semi-structured interviews with students with ADHD at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School, as well as with their parents and teachers. The course was then developed and was validated by 3 experts in the field, and was subsequently piloted in order to determine its effectiveness. The main study was then conducted with 5 fourth and fifth-grade students with ADHD, who studied at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School. Both quantitative and qualitative data were collected for the course evaluation. Instruments for the quantitative analysis were an English reading comprehension ability test, a visualize composition task and a student self-efficacy questionnaire. Instruments for the qualitative analysis included a teacher’s fieldnote. The quantitative data were analyzed by means of descriptive statistics and Paired-Samples t-tests using SPSS, while the qualitative data were analyzed by Content Analysis using Hyper Research Computer Program The results of the study revealed that the course content consisted of interactive storytelling by the audio-visual applications. Task- based language learning with fun drawing applications was the main means for learning. Moreover, some key features of behavioral interventions and physical learning environment were applied. The results indicated that learners’ English reading comprehension ability improved significantly. It was also found that learners’ had higher scores of creativity in their visualize composition task performances at a significant level. Moreover, learners’ self-efficacy was much higher than the average. The outcomes of this study suggest the effectiveness of this course in serving the needs of the students with ADHD at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School. The guidelines and recommendations may deem effective and should be considered to assist ADHD students, their parents and respective teachers in similar context.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1247
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
COVER.pdfCover95.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract741.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter 1464.76 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter 21.09 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter 3466.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter 42.26 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter 5487.61 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibiography.pdfBibliography481.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
9 NITTAYA SANGUANNGARM_ BIO.pdfAppendix378.84 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น