Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1288
Title: การส่งเสริมการจัดการระบบสวัสดิการสู่สังคมสูงอายุพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรธุรกิจภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจนอกชุมชน
Other Titles: The Promoting of the Elderly People’s Social Welfare System in Mae Tang District Area of Chiang Mai Province by Using a Participation Between Communities and Business Organizations, Under the Corporate Social Responsibility Concept from the Business Organizations Outside the Communities
Authors: พลอาจ, เพียงตะวัน
Polard, Piangtawan
ธาราพิทักษ์วงศ์, ศุภฤกษ์
Tarapituxwong, Suparuk
Keywords: สังคมสูงอายุ
บรรษัทบริบาล
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
การจัดสวัสดิการ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
Aging society
Corporate Governance
Corporate Social Responsibilities
Welfare
Sustainable Development
Issue Date: 2561
Publisher: Chiangmai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการส่งเสริมการจัดการระบบสวัสดิการสู่สังคมสูงอายุพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรธุรกิจภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจนอกชุมชน เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาหนึ่งที่ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอแม่แตงกับภาคธุรกิจเป็นแบบวิธีสำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมการขยายโอกาสในการทำงานและการจัดระบบการสวัสดิการผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจระดับนอกชุมชน ประชากรในการศึกษาคือสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10,189 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 386 คน โดยการสุ่มตัวอย่างใช้ค่าความน่าจะเป็น 2 ขั้นตอน การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และทำการกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละชั้นภูมิให้ได้ตามจำนวน และกลุ่มธุรกิจที่อยู่นอกชุมชนและจัดตั้งธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ที่สนใจในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมวิเคราะห์ชุมชนเพื่อหาประเด็นปัญหาในการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ และประยุกต์ใช้หลักการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการระบบสวัสดิการสู่สังคมสูงอายุได้อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยด้านการสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการระบบสวัสดิการผู้สูงอายุเพื่อเตรียมเข้าสู่สังคมสูงวัย ด้วยความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการประยุกต์ใช้หลักการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC ในการสร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการดำเนินการวางแผนพัฒนาในการจัดระบบสวัสดิการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของสังคมสูงวัยร่วมกัน มีขั้นตอนตามหลักการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กระบวนการสร้างความรู้ (Appreciation) ชุมชนมีความต้องการในการกำหนดแนวทางการสร้างการเตรียมเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งจากการจัดเวทีกลุ่มทั้ง 14 กลุ่มได้สรุปประเด็นกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในอำเภอแม่แตง ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ประเด็นการส่งเสริมด้านสุขภาพ ภูมิปัญญา เกษตรสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ 2. กระบวนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันหาวิธีการและเสนอทางเลือกในการพัฒนาตามที่ได้วางแผนกันในขั้นตอนก่อนหน้า ที่ทำให้แต่ละชุมชนมีเป้าหมายในการสร้างกิจกรรมเพื่อจัดระบบสวัสดิการของชุมชนแต่ละแห่งที่มีศักยภาพต่างกัน และได้วางแผนการดำเนินการพัฒนากิจกรรมการสร้างแนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้าใจแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจนอกชุมชน และทำการกำหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของระบบสวัสดิการผู้สูงอายุซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคเอกชนหลักคือ บริษัทโตโยต้าล้านนา จำกัด 3. กระบวนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control) ผู้สูงอายุทั้ง 14 กลุ่มได้ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินกิจกรรมผู้สูงอายุและมีการกำหนดเป้าหมายพร้อมทั้งตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้ให้มีประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อการจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุสู่สังคมสูงอายุได้อย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานรัฐและองค์กรเอกชนสนับสนุนให้การช่วยเหลือทั้งกระบวนการดำเนินงานและงบประมาณบางส่วนเพื่อให้การวางแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรแตกต่างกัน ในส่วนของระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน พบว่า มีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.042 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.05 จึงสรุปได้ว่า กลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอแม่แตงที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนหนังสือมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสังคมที่ดีกว่าทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาอนุปริญญา ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนหนังสือมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสังคมที่ดีกว่าผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษามีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสังคมที่ดีกว่าผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสังคมที่ดีกว่าผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาอนุปริญญา การทดสอบสมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.028 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.05 จึงสรุปได้ว่า กลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอแม่แตงที่มีเพศที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุเพศหญิงมีทัศนคติที่สูงกว่าทัศนคติของผู้สูงอายุเพศชาย และในส่วนของอาชีพที่แตกต่างกัน พบว่า มีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.045 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.05 จึงสรุปได้ว่า กลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอแม่แตงที่ประกอบอาชีพที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าผู้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และผู้ประกอบอาชีพเกษียณอายุราชการมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าผู้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป การทดสอบสมมติฐานด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรด้านการตัดสินใจใช้บริการแตกต่างกัน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อาชีพที่แตกต่างกันมีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.027 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.05 จึงสรุปได้ว่า กลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอแม่แตงที่ประกอบอาชีพที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าผู้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพเกษตรกรมีทัศนคติต่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าประกอบอาชีพรับจ้าง
Description: This integrated research focuses on promoting the elderly people’s social welfare system in Mae Tang district area of Chiang Mai province by using a participation between communities and business organizations, under the corporate social responsibility concept from the business organizations outside the communities. It is one of research and development project that used a participatory action research method with the group of elderly people in Mae Tang district and business sector. The research aims to create communities’ benefits by constructing knowledge in expanding work opportunities and social welfare system management base on the corporate social responsibility concept from the business organizations outside the community. The research population were 10,189 elderly people in Mae Tang District Area of Chiang Mai Province and the sample group were 386 elderly people selected by using two steps probability sampling method; stratified random sampling and setting the scale of each stratified level to meet the sample size target, plus the business groups outside the community which located in Chiang Mai province and interested in building the corporate social responsibility. This research is a mixed methods research, after collecting and analyzing data, the activities had been held to analyze the communities’ circumstance and find the problem issues about doing corporate social responsibility activities. The research also applied the concept of participatory and creative action meeting AIC to specify the suitable ways for elderly people’s sustainable social welfare system. The result of this research, in the aspect of participation building to construct the knowledge in social welfare system management for aging society and give all stakeholders the opportunity to share their opinion about plan by applying the concept of participatory and creative action meeting AIC, was divided into three points which were; 1. Knowledge procedure (Appreciation), this research found that communities needed an explicit plan and direction to prepare their aging society. After finished 14 focus groups, their issues had been grouped into four; health, wisdom, environmental agriculture, and social and economic, to develop the potential of the elderly people in Mae Tang District Area. 2. Development procedure (Influence), all stakeholders had found their method and choices to develop the plan that had been agree before. Thus, each community had the different activities to manage their social welfare depended on their own potential. Moreover, they had a development plan to build the understanding about the corporate social responsibility of the business organizations outside the communities. They also set the activities to promote the stability of elderly people’s social welfare system which had been cooperated by the main private sector organization, Toyota Lanna Co. Ltd., 3. Working procedure (Control), elderly people in 14 groups had planned the activities and goal with a distinctly key performance indicator to control effectiveness of each activity and the sustain of the social welfare system. In this step, there were many supports; including working process and budget, from the government and private organizations in order to transform plan to a concrete action. In the hypothesis testing, this research found that the different personal factors affected the attitude about running the corporate social responsibility activities of the sample group in the different level. The different education level had affected to the different attitude in running the corporate social responsibility activities significantly, with figure 0.042 which was lower than 0.05. So, it can be summarized that the elderly people group in Mae Tang district with the different education background had a different attitude in running the corporate social responsibility activities in the social aspect significantly with the level of significance 0.05. The elderly people without education background had better attitude toward the corporate social responsibility activities than the group with diploma and bachelor’s degree background. The group with primary school education background had better attitude toward the corporate social responsibility activities than the group with bachelor’s degree background, and the group with secondary school education background had better attitude toward the corporate social responsibility activities than the group with diploma background. The hypothesis testing also shown that the different gender affected the attitude about running the corporate social responsibility activities of the sample group in the different level significantly, with figure 0.028 which was lower than 0.05. It can be summarized that the elderly people in Mae Tang district with different gender had a different attitude in running the corporate social responsibility activities in environmental aspect significantly with the level of significance 0.05, which female had better attitude than male. From the occupation factors, the research found the significant difference, with figure 0.045 which was lower than 0.05. It can be summarized that the elderly people in Mae Tang district with different occupation had a different attitude in running the corporate social responsibility activities in environmental aspect significantly with the level of significance 0.05. The agriculturist had better attitude toward the corporate social responsibility activities than the business owner/ merchandises group and general employee group. The government retirement group had better attitude toward the corporate social responsibility activities than the general employee group. In additional, this research found that the different personal factors affected the attitude about running the corporate social responsibility activities in service using decision making aspect. The different occupation had affected to the different attitude in running the corporate social responsibility activities significantly, with figure 0.027 which was lower than 0.05. It can be summarized that the elderly people in Mae Tang district with different occupation had a different attitude in running the corporate social responsibility activities in environmental aspect significantly with the level of significance 0.05. The business owner/ merchandises group and the agriculturist group had better attitude about the corporate social responsibility activities toward environmental aspect than the general employee group.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1288
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
cover.pdfCover295.4 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfAbstract441.92 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent268.26 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdfChapter1313.1 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdfChapter2621.61 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdfChapter3411.33 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdfChapter42.47 MBAdobe PDFView/Open
chap5.pdfChapter5427.53 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.