กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1332
ชื่อเรื่อง: โอกาสและศักยภาพการเป็นพื้นที่นทีทัศน์ชายแดนประตูทางการค้า ทิศตะวันตกของประเทศไทย-เมียนมา : กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรวิชญ์, ปิยนนทศิลป์
คำสำคัญ: โอกาสและศักยภาพ
นทีทัศน์ชายแดน
ประตูทางการค้า
Opportunities
Potentialities
Border Riverscape
the Trade Gateway
Opportunities and Potentialities
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาโอกาสและศักยภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจุดผ่อนปรนทางการค้าในพื้นที่ในการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจรูปแบบของจุดผ่านแดนถาวรฝั่งทิศตะวันตกของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจรูปแบบ ของการเปิดด่านจุดผ่านแดนถาวรเพื่อเป็นประตูทางการค้าทิศตะวันตกของประเทศไทย และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) กลุ่มผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการผลักดันการเปิดด่านการค้าชายแดนถาวร จำนวน 30 คน (2) กลุ่มผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนการค้าชายแดนกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 คน และ (3) กลุ่มประชากรที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้านสำมะโนครัวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย 7 อำเภอ จำนวน 425 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 485 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า โอกาสและศักยภาพการเป็นพื้นที่นทีทัศน์ชายแดนประตูทางการค้า ทิศตะวันตกของประเทศไทย-เมียนมา พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก (x ̅ = 3.65, S.D = 0.79) และผลกระทบในการเป็นพื้นที่นทีทัศน์ชายแดนประตู ทางการค้าทิศตะวันตกของประเทศไทย-เมียนมา พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนในภาพรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก (x ̅ = 3.61, S.D = 0.87)
รายละเอียด: The three objectives of this research were (1) to study opportunities and potentialities in Mae Hong Son province and develop its checkpoint for border trade into the border checkpoint in the western Thailand- Myanmar border riverscape (2) To find out the impacts on the border checkpoint, and (3) ways to develop the border checkpoint in Mae Hong Son province. The sample was 485 people which included the 30 executive officers from private sectors and government organizations, the 30 entrepreneurs from the office of commercial Affairs Mae Hong Son, and the 425 residents from seven districts in Mae Hong Son province. The tools used for this study were questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The overall results revealed that the opportunities and potentialities as the trade gateway of the western Thailand-Myanmar’s border riverscape in Mae Hong Son Province was at high level (x ̅ = 3.65, S.D = 0.79) and To find out the impacts on the border checkpoint in this area was also at high level (x ̅ = 3.61, S.D = 0.87)
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1332
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover608.47 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract516.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdfChapter 1489.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdfChapter 21.85 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdfChapter 3528.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdfChapter 41.13 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdfChapter 5882.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibilogrphy.pdfBibliography630.51 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix778.61 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น