Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1334
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Authors: สนธยา, สวัสดิ์
Keywords: การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ชุมชนบ้านร้องเม็ง
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อติดตามประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods Approach : Qualitative and Quantitative Research Design) ในรูปแบบการวิจัยแบบพร้อมกัน (Convergent Parallel Design) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ และใช้แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางแผนพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยและผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยผู้วิจัยและนักศึกษา การระดมความคิดเห็นแบบเป็นกลุ่ม และใช้แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่าเพื่อติดตามผลความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ มีค่า IOC = 0.92 2) แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ มีค่า IOC = 0.91 3) แผนการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หาความสอดคล้องระหว่างรายการพฤติกรรมแต่ละข้อกับนิยาม มีค่า IOC = 0.92 4) แบบสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่า IOC = 0.93 5) แบบติดตามและประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่า IOC = 0.92 เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัยหาประสิทธิภาพโดยการพิจารณาความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ ในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญคือ ด้านสติปัญญา ( =4.30,SD=0.47) ได้แก่ สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในชุมชน ต้องการแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลอื่นในชุมชน ต้องการศึกษาเรียนรู้ในเทคโนโลยีปัจจุบัน และต้องการนำความรู้ไปใช้ช่วยเหลืองานชุมชน 2. กรอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย ได้แก่ ร่างกายเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว สุขภาพแข็งแรง ด้านอารมณ์ ได้แก่ เพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด ผ่อนคลาย ด้านสังคม ได้แก่ พบปะสังสรรค์ ร่วมกิจกรรมทางสังคม และด้านสติปัญญา ได้แก่ ได้รับความรู้ใหม่ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 3. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้นำกิจกรรมของผู้วิจัยและนักศึกษา ( =4.67,SD=0.23) และการร่วมกิจกรรมกลุ่มของผู้สูงอายุ ( =4.29,SD=0.26) 4. บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทำกิจกรรม ช่วยเหลือกัน และการสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ความรู้ ความสุข สุขภาพ การมีสติ รอบคอบ และเครือข่ายผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง 5. การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ นักศึกษาและผู้วิจัย ข้อค้นพบที่ได้ คือ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน วิธีการปรับตัวกับผู้สูงอายุ มารยาททางสังคมวัฒนธรรมความเป็นไทย การพูด การยอมรับซึ่งกันและกัน ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมสืบต่อไป 6. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ควรพิจารณาไปพร้อมกันทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายควรบำรุงรักษาให้แข็งแรง ด้านอารมณ์หาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส ด้านสังคมคือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม บำรุงศาสนา และด้านสติปัญญาคือการสานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างประโยชน์สุขแก่สังคมโดยรวม
Description: This research aimed 1) to study the situation, problem and needs of development the quality of life for the elderly in RongMeng community Tumbon NongYang, AmPhoe SanSai ChiangMai Province 2) to study and develop quality of life activity for the elderly in RongMeng community Tumbon NongYang, AmPhoe SanSai ChiangMai Province 3) to try out and study the result of the quality of life activity for the elderly in RongMeng community Tumbon NongYang, AmPhoe SanSai ChiangMai Province, and 4) to follow up and evaluate the activity for the quality of life for the elderly in RongMeng community Tumbon NongYang, AmPhoe SanSai ChiangMai Province. This research was mixed methods approach: qualitative and quantitative Research design using Convergent Parallel Design. The sample was 20 elderlies using purposive selected. Data was collected by interview protocol, Likert rating scale questionnaire, and a workshop. The research instruments included 1) An interview protocol, IOC= 0.92 2) The survey materials of problem and needs of the elderly, IOC = 0.91, 3) An activity plan for developing the quality of the elderly’s life, IOC= 0.92 4) A questionnaire of satisfaction, IOC= 0.93, and 5) A follow up materials and evaluation scheme of the quality of the elderly’s life. Index of Item Objective Congruence (IOC) were employed for those instruments for presenting their efficiency. In addition, qualitative data was analysis by content analysis whereas percentage, mean, and standard deviation were employed for quantitative numbers. The research results were as follows; 1. About the needs and problems of the elderly in in RongMeng community Tumbon NongYang, AmPhoe SanSai ChiangMai Province, there was found the needs in intelligence ( =4.30,SD=0.47) such as exchange their knowledge between the people in the community, sharing the knowledge for people in the community, and technology learning needs and working for charity in the community. 2. The content related to the development of quality of life of the elderly in 4 areas. Body image area such as the energetic and strength. Emotional area such as relax and lack of stress. Social area such as reunion and joining the social activity. Intelligence area such as new knowledge enrichment and exchange experiences. 3. The elderlies were satisfied in the activity of the quality of life in participation behaviour of the researcher and students ( =4.67,SD=0.23) and the participation of the group of the elderly( =4.29,SD=0.26). 4. The participated role of the elderly in the quality of life activity were the exchanged communication, joining the activity, and assisting each other. The conclusion from the attending the activity was knowledge, happiness, health, conscious, prudence and the solid network of the elderly. 5. According to the involvement between, researcher, student and the elderly, there were found benefits in the local wisdom knowledge, the adjustment of the elderly, Thai social and culture courtesy, speech, mutual recognition of identity, respectable leader and follower including inspiration and commitment for social benefit. 6. The development the elderly’s quality of life should consider in all area. Body area is healthy whereas emotional area is finding the spiritual anchor to open their mind and refreshing. Social area is the social supportive. The intelligence area is continuing local wisdom for the overall society happiness.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1334
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover205.96 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract220 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent234.32 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1496.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2536.05 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3449.55 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4550.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5496.24 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography431 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix507.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.