Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1339
Title: การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
Authors: ธัญนันท์, ฤทธิ์มณี
สุรศักดิ์, นุ่มมีศรี
Keywords: การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง
โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดบนแนวคิดเศรษฐกิจพอพียง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ที่เกิดในพื้นที่เกิดจากการแปรรูปชาเมี่ยง ได้แก่ มลพิษทางน้ำที่เกิดจากการแปรรูปชาเมี่ยงแบบหมัก และแปรรูปในส่วนของผลิภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่ เครื่องดื่มชาเมี่ยง สบู่ชาเมี่ยง เป็นต้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมประเภทขยะมูลฝอยเกิดจากการแปรรูปชาเมี่ยงแบบนำมาทำเป็นชาผง และปัญหาด้านมลพิษทางด้านอากาศที่เกิดจากการแปรรูปชาเมี่ยงทั้งแบบการหมักและการทำเป็นชาผง ในส่วนของปัจจัย เงื่อนไขสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในชุมชนประกอบด้วย การแก้ปัญหาต้องใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนการแก้ปัญหาต้องได้องค์ความรู้เพิ่มเติมจากเดิมโดยทำเป็นต้นแบบหรือมีคู่มือในการศึกษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและต่อเนื่อง ในส่วนของรูปแบบรูปแบบกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดบนแนวคิดเศรษฐกิจพอพียง มาเป็นกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการในชุมชนทำทำให้ได้ต้นแบบในการแก้ปัญหา 2 รูปแบบ คือ การปรับปรุงเตาสำหรับนึ่งเมี่ยงโดยใช้ไอน้ำ และการปรับปรุงระบบผลิตน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการแปรรูปเมี่ยง ซึ่งได้ค่า B/C Ratio มากกว่า 1 แสดงว่า กิจกรรมการทำที่ดำเนินการแล้วเป็นมีผลประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุนจึงเป็นโครงการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ในชุมชน
Description: Research and development processing of tea leaf products by clean technology base on sufficiency economy. The major objective of this research is to construct a model for clean technology base on sufficiency economy, which self-done by the local people with continuously and long lasting. The result found that : The main environmental problem was initiated from the business community entrepreneurs. The high level in pollution problem was on water pollution which produced from the ferment tea leaf products, the air pollution problem from the ferment tea leaf and powdered tea products. The condition to succeed in the application of a economic sufficient philosophy to solving all of the environment problem which occurred in the community must containing of the non-complicated technology. In solving the problem must getting more in the knowledge or made in the form of the best practice model or in the form of the study instruction and could be applied and use in the real life and could run continuously. The model for the clean technology base on sufficiency economy that initiated in the community which using the sufficient economy philosophy as the conceptual in solving the environment problem from the entrepreneurs brought two models to succeed in solving, one was the air pollution treatment from the stove was to increasing in the efficiency of the stove which use for boiling tea leaf. The second increasing the efficiency of the water supply for processing of tea leaf products in the community. After operating all of these activities, the benefit-cost ratio (B/C ratio) considering in all of activities found that their B/C ratio higher than 1.0 each. This was shown that all activities provide benefits more than their costs.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1339
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdf511.26 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf402.66 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdf474.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf446.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf569.07 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf749.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf472.36 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdf417.25 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf392.25 kBAdobe PDFView/Open
บทความ 60.pdf549.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.