Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1341
Title: การวิจัยเพื่อการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐาน สินค้าเกษตรให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน
Authors: วิไลพร, ไชยโย
Keywords: การตรวจสอบ
พัฒนามาตรฐาน
สินค้าเกษตร
การแข่งขันในอาเซียน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8 ตำบล 9 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 9 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต ทั้งการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ กลุ่มเกษตรกรมีอำนาจในการต่อรองราคาพ่อค้าคนกลางน้อย ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู้และเงินทุนแก่กลุ่มเกษตร แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ การแข่งขันของสินค้าเกษตรในพื้นที่และในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้างแนวทางในการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร ให้มีศักยภาพการแข่งขันในประชาคมอาเซียน ทั้งหมด 5 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ มาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นเกณฑ์ที่รับรองกันโดยทั่วไป ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการเทียบกำหนดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของสินค้าเกษตร ซึ่งมาตรฐานนั้นต้องเป็นที่น่าเชื่อถือกันอาจอยู่ในลักษณะของเอกสารที่ระบุข้อกำหนดต่าง ๆ ไว้ ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ควรจะพัฒนาการรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้รับความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า (ร้อยละ 34.62) รองลงมา คือ กลุ่มเกษตรกรควรพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาสินค้าเกษตร เพื่อนำมาพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรตามระบบการจัดการคุณภาพ โดยมีหน่วยงานที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ (ร้อยละ 26.92) ประเด็นต่อมาคือ การสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากเยาวชนรุ่นใหม่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ที่จะต่อยอดพัฒนาสินค้าเกษตรให้ได้รับรองคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตร และการสร้างกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายในการช่วยเหลือกัน เพื่อที่จะพัฒนาให้ได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรได้ในอนาคต (ร้อยละ 15.38) และประเด็นสุดท้ายคือ การหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงอุปกรณ์การเกษตรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อสร้างมาตรฐานในการผลิตและลดต้นทุนในด้านแรงงาน (ร้อยละ 7.69) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนใน การวางแผนการพัฒนาการเกษตรด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของ การนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและ เกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study and develop the potentiality of inspection and development the standard of agriculture products to compete in ASEAN. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from the primary data of 8 groups of agriculturists attended the project. Participatory action research, SWOT analysis and Michael E Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics including 6 dimensions were also used to evaluate the achievement of development in this study. The study found that the strengths of these 9 groups of agriculturists were that they have capable members in production such as growing, caring and harvesting. They however lack power to negotiate with middle men. The opportunity was that they were supported both knowledge and budgets from other organization. The threats were that they confronted high competition of agricultural products in communities. As result, 5 items of guidelines were created to inspect and develop the standard of agricultural products to compete in ASEAN. The most importance was that the standard of agricultural products was generally accepted and could be used both in quantity and quality. This standard may be the document which indicates the requirements. Thus, agriculturist in Chiang Mai should develop the accreditation of the quality of agricultural products so that customers will be confident (34.62%). Agriculturists should develop knowledge concerning agricultural products in order to develop the standard of agricultural products and supported by other organizations (26.92%). Also, young smart farmers should be promoted and do agriculturists because they are capable to extend the development of agricultural products , to be accredited (15.38%). The last one was that it should look for guidelines to increase the production particularly how to use technology and new innovation as well as modern agricultural instrument for production in order to decrease labor’s cost (7.69%). The next phase should study the impact of ASEAN community to groups of agriculturists regarding in inspection and development of agricultural prduct s of 207 communiits. It should select communities with high potentiality as delegates to make plan to develop inspection and agricultural products in Chiang Mai to compete in ASEAN. It should also integrate to work with other communities to extend the research result and make plan for inspection and development the standard of agricultural products with other communites in 9 countries of ASEAN.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1341
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover464.45 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract290.54 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent526.21 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1537.21 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2994.21 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3675.36 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4640.1 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-51.09 MBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6593.09 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography423.4 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.