กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1361
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของกาแฟ อาราบิก้าโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Value Gained Analysis in New Product Development of Arabica Coffee by the Community Enterprises in Mae Hong Son Province for Enhancing the Competitiveness
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตติคุณ, นิยมสิริ
เกษม, กุณาศรี
กฤตวิทย์, อัจฉริยะพานิชกุล
คำสำคัญ: กาแฟอาราบิก้า
การวิเคราะห์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
วิสาหกิจชุมชน
การแข่งขัน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: ในการศึกษาการการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของกาแฟอาราบิก้า โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพองค์ประกอบของปัจจัยที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนในการแปรรูปกาแฟกะลาสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้า และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน การศึกษามีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 200 คน โดยมีเงื่อนไขคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จะต้องเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ให้ผลกาแฟมากสุด รวมถึงข้อมูลที่รวบรวมจากเอกสารที่ได้เก็บรวบรวมไว้แล้ว จากนั้นได้ทำการศึกษาสถานภาพบริบททั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีผลต่อปัจจัยที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุช่วง 31-50 ปี มีพื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ยครัวเรือนละ 4.88 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟ 5-10 ปี และแหล่งเงินทุนการปลูกส่วนใหญ่มาจากเงินส่วนตัวร้อยละ 62.00 โดยการแปรรูปกาแฟของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ กาแฟกะลา กาแฟสาร กาแฟคั่ว และกาแฟบด ซึ่งมีช่องทางในการจัดจำหน่ายหลายช่องทาง สำหรับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนในการแปรรูปกาแฟกะลาสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้า จากผลการวิเคราะห์ประมาณการงบกำไรขาดทุนและประมาณการงบกระแสเงินสดสุทธิ และทำการจำลองการลงทุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value )เท่ากับ 49,385,873.40 บาท อัตราผลตอบแทนของโครงการ(Internal Rate Of Return )เท่ากับร้อยละ 94.41 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio )เท่ากับ 2.11 และระยะเวลาคืนทุน (Payback Period )เท่ากับ 0.318 ซึ่งจากค่าที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การลงทุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน(ได้กำไร)และใช้เวลาคืนทุนเพียง 4 เดือน นอกจากนี้ได้มีการวิเคราะห์ศักยภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ พบว่า จุดแข็ง คือ กาแฟที่นำมาแปรรูปเป็นสายพันธุ์อาบิก้าที่ปลูกแบบธรรมชาติปราศจากสารเคมี รวมถึงได้รับการรับรองคุณภาพการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่วนจุดอ่อน คือ บรรจุภัณฑ์มีลักษณะคล้ายกัน แบรนด์ยังไม่มีความโดดเด่น และปริมาณผลผลิตกาแฟในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ไม่เพียงพอต่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากผลการศึกษาข้างต้น ยังทำให้ผู้ผลิตกาแฟในพื้นที่ได้พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ องค์ประกอบของปัจจัยที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้า ความคุ้มค่าของการลงทุนในการแปรรูปกาแฟ การจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของสินค้ากาแฟ และยัง สามารถพัฒนารูปแบบการผลิตและการแปรรูป ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์กาแฟแบบใหม่ในพื้นที่
รายละเอียด: The purpose of studying the valued gained analysis in new product development of Arabica coffee by the community enterprise in Mae Hong Son province for enhancing the competitive is to study the complement status of factor that use in Arabica coffee processing of the community enterprise in Mae Hong Son, to analyse the valued gained of investing in parchment coffee processing to Arabica coffee product and to present the product development model which create the investment value of community enterprise in Mae Hong Son to increase the competitiveness. In the study, the group of study sample will be selected by using the purposive sampling about 200 people. The condition is that the group of study sample must be the member of community enterprise in the target area where are Mae Sariang district and Mae La Noi district because these area was given the most coffee bean referring to the collected data. Then the study has been covered the general context status of community enterprise in Mae Hong Son province that affects the factor using in product processing. It found that the most of coffee grower in Mae Hong Son province is male who is in age 31 - 50 years old. The cultivated area is 4.88 rai per a household in average. The experience of growing coffee is 5 - 10 years and the money supplied is mostly from private fund about 62 percent. The coffee processing products of community enterprise in Mae Hong Son province are parchment coffee, green coffee, roasted coffee and ground coffee. These products will be sold in several channels. The result of analysis of investment value in the coffee processing to Arabica coffee product is from the analytical result of estimating profit and loss statement and net cash flow statement. According to simulating the investment model of product processing, it found that the net present value is 49,385,873.40 baht, the internal rate of return is 94.41 percent, the ratio of cost and benefit is 2.11 and the payback period is 0.318. These result indicate that investing in coffee processing product of community enterprise in Mae Hong Son province gives the worth of return on investment (gain the profit) and only takes the payback in 4 months. In addition, the potential of coffee processing product of community enterprise was analysed. The strength is that the coffee processing is Arabica which is naturally grown in the nature and chemical free and it has been certified for agricultural quality properly. The weakness is the similarity in packaging, lacking of proper branding and insufficient in quantity of coffee product in the community enterprise to use in the coffee processing. As the result, it helps the coffee producer in the area to develop the knowledge about the factor component using in Arabica coffee processing, the investment value in coffee processing, the product management after harvesting, decreasing the cost and increasing the value of coffee product and the ability of developing production model and the processing which create new coffee product in the area
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1361
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1.Cover.pdfCover483.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
2.Abstract.pdfAbstract639.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
3.Content.pdfContent1.06 MBAdobe PDFดู/เปิด
4.Chapter-1.pdfChapter-1728.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
5.Chapter-2.pdfChapter-2989.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
6.Chapter-3.pdfChapter-3671.23 kBAdobe PDFดู/เปิด
7.Chapter-4.pdfChapter-41.65 MBAdobe PDFดู/เปิด
8.Chapter-5.pdfChapter-5601.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
9.Bibliography.pdfBibliography632.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
10.Appendix.pdfAppendix701.4 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น