Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1367
Title: การส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคประชาคมอาเซียน
Authors: จตุพร, เสถียรคง
Keywords: การส่งเสริม
การเกษตร
องค์กรภาครัฐ
ชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ พัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วย การวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 ตำบล 6 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชน เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 6 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ สมาชิกกลุ่มมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาด การเพาะปลูก การแปรรูป และการประชาสัมพันธ์ แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ กลุ่มเกษตรกรยังไม่สามารถจัดการฟาร์มและพื้นที่การเพราะปลูกให้มีประสิทธิภาพได้ สินค้าเกษตรมีความต้องการในระดับชุมชนจากกลุ่มลูกค้าขาจร กลุ่มเกษตรกรยังไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตสินค้าในแต่ละรอบการผลิตได้ และอำนาจในการต่อรองพ่อค้าคนกลางยังมี ไม่มาก ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู้และเงินทุน แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ การตลาดมีการแข่งขันกันในพื้นที่สูง ทั้งในด้านราคาและปริมาณ และตลาดสินค้ายังไม่มี ความหลากหลาย จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้างแนวทางด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพ การแข่งขันในประชาคมอาเซียน ทั้งหมด 6 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มเกษตรกรควรได้รับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านแหล่งเงินทุน ด้านความรู้ ด้านการผลิต การบัญชี และการตลาด เป็นต้น ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ (ร้อยละ 28.57) รองลงมา คือ การส่งเสริมการเกษตรแก่กลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและวิทยากรที่ให้ความรู้ เพื่อเกษตรกรจะได้นำความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนาฟาร์มของตนเอง ซึ่งการส่งเสริมการเกษตรก็เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยผลการวิจัยทางการเกษตรจะไม่เป็นจริงได้ ถ้าไม่ได้เผยแพร่ให้แก่เกษตรกรให้นำไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรของกลุ่ม (ร้อยละ 19.05) ประเด็นต่อมาคือ การส่งเสริมเกษตรกรโดยใช้หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการทำการเกษตร (ร้อยละ 14.29) และประเด็นสุดท้ายคือ การสร้างกลุ่มเกษตรกรเครือข่าย ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน และการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากเยาวชนรุ่นใหม่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้พัฒนาสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 9.52) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้าน การส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study and develop the potentiality of agriculture of Chiang Mai communities which were promoted by the government to compete in ASEAN community. It is the qualitative research and were supported by quantitative analysis from primary data of 6 groups of agriculturists and willing to attend the project. All of these 6 groups have potentiality in which governmental organizations promoted agriculture in communities. SWOT analysis, participatory action research and Michael E. Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics and 6 dimensions were used to evaluate the achievement of the project in order to display and look for guidelines that government should promote agriculture in Chiang Mai communities to compete in ASEAN. The research found that the strengths of all these 6 groups were that members were capable and specialized in production, marketing, cultivating, processing and public relations. Their weaknesses were that they could not manage farm and areas of planting efficiently. Products were needed only by irregular customers in communities. They could not control the quantity of production for each production cycle. They have less power to negotiate with middlemen. They however were supported in knowledge and budgets by both government and private organizations. Their threats were that it has a high competition in marketing both price and quantity and marketing lack of varieties. There are six items of guidelines to promote agriculture of governent in Chiang Mai communties to compete in ASEAN . The most important item was that government should promote budgets, knowledge, production , accounting and marketing so that they can depend on themselves (28.57%). Agricultural promotion for groups of agriculturists in Chiang Mai would connect the relationship between agriculturists and experts so that agriculturiest may bring knowledge to develop their own farms (19.05%) It should promote agriculturists how to use the sufficiency economy concept to their work (14.29%). The last one was that the network of agriculturists ‘groups should be formed in order to exchange knowledge between each other. Also, young smart farmers should be developed and promoted so that they can bring knowledge and modern innovation to develop agricultural products (9.52%). The next phase should study the impact of ASEAN community to groups of agriculturists regarding in promotion of agriculture from the government for 207 communiits. It should select communities with high potentiality as delegates to make plan to develop promotion of agriculture from government in Chiang Mai to compete in ASEAN. It should also integrate to work with other communities to extend the research result and make plan for agricutlural promotion from the government with other communites in 9 countries of ASEAN
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1367
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover493.88 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract592.22 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent598.46 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1540.17 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-21.06 MBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3594.88 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4673.42 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5892.07 kBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6713.84 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography457.81 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.